Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4149
Title: การศึกษาและการพัฒนาอุปกรณ์จับยึดเพื่อใช้ทดสอบการเติบโตของรอยร้าวภายใต้อุณหภูมิสูง
Other Titles: Study and development of fixture equipment for crack growth testing at a high temperature
Authors: พลายุทธ ศรีโอฬาร์
Advisors: ก่อเกียรติ บุญชูกุศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmekbc@eng.chula.ac.th, Kaukeart.B@Chula.ac.th
Subjects: กลศาสตร์การแตกหัก
อุปกรณ์จับยึด
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องทดสอบ Hydraulic servo testing machine เป็นเครื่องทดสอบคุณสมบัติทางกล โดยทั่วไปของวัสดุรวมทั้งคุณสมบัติทางกลศาสตร์การแตกหักด้วย แต่เครื่องทดสอบดังกล่าวสามารถทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิห้องเท่านั้น งานวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นและมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์จับยึดที่ใช้ติดตั้งบนเครื่องทดสอบดังกล่าวเพื่อใช้ทดสอบชิ้นงานแบบ CT ซึ่งเป็นรูปแบบของชิ้นงานทดสอบทางกลศาสตร์การแตกหักรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และอุปกรณ์จับยึดที่สร้างขึ้น สามารถทำการทดสอบภายใต้อุณหภูมิสูงโดยไม่ทำให้เครื่องทดสอบเสียหาย ในงานวิจัยได้ศึกษาและออกแบบสร้างเตาความร้อนที่ใช้ติดตั้งบนเครื่องทดสอบซึ่งสามารถทำอุณหภูมิให้กับชิ้นงานทดสอบได้สูงสุด 800 ํC จากนั้นได้ศึกษาการถ่ายเทความร้อนและรูปร่างที่เป็นข้อจำกัดของอุปกรณ์จับยึด พบว่าการป้องกันความร้อนของอุปกรณ์จับยึดทำได้โดยการเจาะตำแหน่งของส่วนของ grip ที่อยู่นอกเตา โดยใช้น้ำเป็นของไหล พาความร้อนออกมาจาก grip ซึ่งขนาดของการเจาะใช้เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 mm. จำนวน 2 รู ห่างกัน 30 mm. และใช้อัตราการไหล 0.286 kg/s จะทำให้ระดับของอุณหภูมิบริเวณผิว grip นอกเตานั้นมีค่าประมาณ 45 ํC ในขณะที่กำหนดอุณหภูมิชิ้นงานทดสอบที่ 800 ํC อุปกรณ์จับยึดดังกล่าวได้ถูกนำไปทดลองใช้งาน โดยการหาค่า J-Integral ของวัสดุ ASME SA-335 Gr22 ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ทราบถึงปัญหาของการใช้งานจริง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่า J-Integral ที่อุณหภูมิสูงมีความชันน้อยกว่าอุณหภูมิห้องซึ่งสอดคล้องกับการทดลองโดยทั่วไป
Other Abstract: The hydraulic servo testing machine of Saginomiya company is the machine for testing general mechanical property of material including fracture mechanic property. This machine can be only used for testing in room temperature, so the objective of this research is to study and develop the fixture equipment for used with the machine and CT specimen, which is typical specimen for test in fracture mechanic area. This new fixture equipment can be used at high temperature without damaging the machine. In this research, the furnace installed on the machine was studied and designed for test specimen at 800 ํC maximum temperature. The experiment also included the studies of heat transfer on the fixture equipment and shape limitation. The experiment showed that the suitable diameter of two holes for water (using for increasing convection transfer from grip) was 10 mm. each and center to center distance wa 30 mm. when using the flow rate at 0.286 kg/s and the specimen temperature 800 ํC, the surface temperature of grip was maintained at 45 ํC. This study had tested fixture equipment in the real work by determining the J-Integral of material ASME SA-335 Gr22 at 300 ํC. The test result demonstrated that the slope of the J-Integral was less than when testing at room temperature, which matched with the other experiments.
Description: วิิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4149
ISBN: 9743344527
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
palayut.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.