Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41494
Title: บทบาทของละครโทรทัศน์แนวเบาสมองเพื่อการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว
Other Titles: Role of comedies in promoting good family relationship
Authors: สาวิตรี กำแพงพันธ์
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของละครโทรทัศน์แนวเบาสมองเพื่อการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว โดยวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา การรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจ การเชื่อมโยงภาพครอบครัวในละครกับชีวิตจริงจากละครโทรทัศน์แนวเบาสมองทั้งหมด 4 เรื่อง คือ เฮง เฮง เฮง, เป็นต่อ, บางรักซอย 9 และบ้านนี้มีรักซึ่งวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นการศึกษาเนื้อหาจากบทละครโทรทัศน์ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างที่ชมละครทั้งหมด 30 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาที่ผู้เขียนบทเลือกหยิบยกมาเป็นประเด็นหลักในการนำเสนอมากที่สุด คือ ปัญหาครอบครัว รองลงมาคือปัญหาทั่วไป และปัญหาความรัก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักจะคลี่คลายไปเองมากที่สุด รองลงมาคือมีบุคคลอื่นมาช่วยแก้ปัญหา และพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเองน้อยที่สุด ในส่วนของการรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกชมละครประเภทนี้เพื่อตอบสนองความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียดมากที่สุด รองลงมาคือชื่นชอบนักแสดงในเรื่อง และเนื้อหาของละครตามลำดับ มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงการนำมุขตลก ขำขันในละครไปใช้ในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน สำหรับการรับรู้ประโยชน์นั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อคิดในด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และข้อคิดในการดำเนินชีวิตที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของละคร นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างการเปรียบเทียบตัวเองและครอบครัวกับครอบครัวในละคร โดยเฉพาะการเลียนแบบภาพครอบครัวที่อบอุ่น
Other Abstract: The objective of this research is to study the role of comedies in promoting good family relationship by analyzing the presentation format of substances as well as the awareness in benefits and satisfaction of how image in the comedies relate to real life situations. The four comedies are Heng Heng Heng, Phentor, Bangrak soi 9 and Ban nee mee rak. The research methodology is divided into 2 parts by studying the story scripts and in-depth interview of 30 samples from audience. The research is found that, the main problem that most script writers presented were family problems, general problems and love problems, respectively. It is also found that the majority problems could be eventually resolved it selves. Nevertheless other problems could be solved by somebody else, and a few numbers that could find themselves, a way to resolve. From the awareness in benefits and satisfaction points, it is tound that most of 30 samples loved to watch the comedies firstly for fun and release of tension, secondly for the great admiration on actors and lastly because of the plot. The samples usually watch the comedes with their family members. Then, talk to each other, exchange their ideas, and remember the funny gags to play with their families and friends. In the purpose of benefits, the fact has shown that the samples acknowledged some ideas in enhancing their good family relationship and some ideas, obtained from the comedies could be applied for their lives. Moreover, it has shown that the samples compared their families with the family in the comedies particularly trying to imitate the warm family environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41494
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.616
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.616
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savitri_ku_front.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_ch1.pdf7.31 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_ch2.pdf14.56 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_ch3.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_ch4.pdf25.57 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_ch5.pdf11.13 MBAdobe PDFView/Open
Savitri_ku_back.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.