Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41498
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จรัส สุวรรณมาลา | |
dc.contributor.author | ปิยะพงษ์ บุษบงก์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2014-03-19T11:12:26Z | |
dc.date.available | 2014-03-19T11:12:26Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41498 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “การประเมินผลนโยบายการจัดการการผลิตและการตลาดหอมแดงภายใต้ยุคการค้าเสรีในจังหวัดศรีสะเกษ ปีเพาะปลูก 2546/47-2548/49” มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสำเร็จของนโยบายดังกล่าวหลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ากับหลายประเทศ ค้นหาปัจจัยแห่งความสำคัญและความล้มเหลวของนโยบายฯ และนำข้อค้นพบไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการปรับตัวของนโยบายฯภายใต้ยุคการเค้าเสรี ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 770 ครัวเรือน 44 หมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลทั้งจากการแจกแบบสอบถามครัวเรือน สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้นำหมู่บ้าน สัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สังเกตและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย/โครงการ/งานตามแบบตรวจสอบรายการ ซึ่งใช้สถิติ คือ จำนวนนับ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัดส่วน ไคสแควร์ คาเมอร์ส วี เท่าบีและเทาซีควบคู่กับหลักเหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูล อนึ่ง กำหนดกลุ่มปัจจัยในการศึกษาประกอบไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำ คือปัจจัยด้านโครงการ/งานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยในการศึกษาประกอบไปด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำ คือ ปัจจัยด้านโครงการ/งานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยแวดล้อม คือ ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย (ชุมชนและครัวเรือน) ผลการศึกษาพบว่านโยบายไม่สามารถทำให้ผลผลิตโดยภาพรวมมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตจากที่ต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะสอดรับภาวะเงินเฟ้อ ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตในมิติราคาขายที่เกษตรกรได้รับเมื่อราคาขายเทียบกับภาวะเงินเฟ้อนั้นถือว่าลดลง และไม่สามารถสร้างความสมดุลของความต้องการซื้อและความต้องการขายผลิตในตลาดในพื้นที่สะท้อนได้จากความผันผวนของราคาแต่สามารถลดการเป็นหนี้นอกระบบรวมถึงหนี้ที่เกิดกำลังจะใช้คือนของเกษตรกรส่วนใหญ่ลงได้ (53.1% และ 53% ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวของนโยบายฯ ที่สำคัญที่สุดนั้น คือ ปัจจัยแวดล้อมที่อิงกับพื้นที่หรือวิถีการผลิตและการตลาดแบบต่าง ๆ อาทิ ภูมิประเทศ ลักษณะดินและการปลูกพืชอย่างอื่นคู่ขนานหอมแดง ทั้งนี้ ปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างความยั่งยืนนำไปสู่การบรรลุผลระดับนโยบายที่สำคัญได้หลายประการ อาทิ การรวมกลุ่มและการเน้นเศรษฐกิจภายในชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษานั้นเสนอให้ภาครัฐมีนโยบายทั้งในลักษณะภาพรวมและเฉพาะพื้นที่ซึ่งมุ่งสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันบทความเสียเปรียบเชิงเปรียบเทียบ อาทิ ด้วยการรื้อฟื้นคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบนโยบายนี้โดยเฉพาะในระดับจังหวัดขึ้นมาอีกครั้ง และผลักดันให้เกิดการซื้อขายล่วงหน้ารวมถึงอุตสาหกรรมกรแปรรูปน้ำพริกเผา พร้อมทั้งหนุนสร้างและหนุนเสริมวิถีแบบพึ่งตนเองให้กับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ หนุนสร้างการผลิตปุ๋ย/ยาฉีดใช้เองในชุมชนและครัวเรือน และหนุนเสริมการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างสหกรณ์ | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study is to evaluate the success andfailure of the Thai shallot production and marketing management policy after the signing of free trade agreements with a number of countries. It also searches for factors which determine the outcome as well as giving strategic recommendations for policy adjustment under the present trade liberalization era. For the methodology, the data of this research was collected from 770 households and 44 villages by using questionnaires for households, structural interviews for village headers, in-depth interviews of the people in related agencies, and check-list record for necessary observations. As for the data analysis, this research mainly used Chi-square, Cramer’s V, Tau-b, and Tau-c for analyzing data before using the logic principle. For the determinants of success and failure, they consist of the actionable factors (the project/task and related agencies) and the conditioners (target groups). The results of this study show that the policy could not increase product quality while production cost was continuously rising even though it was corresponded with inflationary condition. It also could not increase the sale price, which declined when compared with inflationary condition. Similarly, it could not balance the demand and supply of production reflected from price fluctuation. However, the policy could reduce farmer’s debts since about 53% of farmers were less indebted. As for the determinants of policy success and filure, the results show that mode of production and marketing, which concluded many of area-based conditioners, were the most important; such as landscape, soil type. And other plant which plantation parallels with the shallot. The overall results bring to the strategic recommendation that government should formulate policy both general and area-specific which focus on competition-building under their comparative disadvantage, such as re-establishment of specific policy responsive committee in the provincial level, and forcing contract farming system including shallot modifying industry. Moreover, government should also encourage the creation and support for self-reliance, such as production of self-fertilizer and account trade among co-operatives. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.983 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การประเมินผลนโยบายการจัดการการผลิตและการตลาดหอมแดงภายใต้ยุคการค้าเสรีในจังหวัดศรีสะเกษ ปีเพาะปลูก 2546/47-2548/49 | en_US |
dc.title.alternative | An evaluation of shallot production and marketing management policy under trade liberalization era in Sisaket Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.983 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyapong_bo_front.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch1.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch2.pdf | 8.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch3.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch4.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch5.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch6.pdf | 11.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch7.pdf | 7.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch8.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_ch9.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyapong_bo_back.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.