Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง
dc.contributor.advisorไชยยศ เหมะรัชตะ
dc.contributor.authorณัฐพัชร จันทรสูตร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-19T11:15:21Z
dc.date.available2014-03-19T11:15:21Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41500
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดพื้นฐานและหลักการเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายใต้กรอบความตกลง GATS และ FTA ตลอดจนผลดีและผลเสียของการเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อศึกษา วิเคราะห์ กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนข้อดี-ข้อเสียและผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อการเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาระดับ อุดมศึกษาของประเทศไทย และเพื่อนำเสนอร่างกฎหมายการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองการให้บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยให้มีความพร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันกับการให้บริการการศึกษาของต่างประเทศ ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และการตอบแบบสอบถามโดยผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยการวิเคราะห์สาระและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างในเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง นำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการยกร่างกฎหมายแล้วทำการตรวจสอบผลการวิจัยโดยการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงร่างกฎหมายแล้วนำไปตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผลการวิจัย 1. รูปแบบการค้าบริการการศึกษาตามความตกลง GATS และ FTA มี 4 รูปแบบ คือ 1 ) Cross – Border Supply 2) Consumption Abroad 3) Commercial Presence 4) Presence of Natural Person ประเทศไทยยังไม่ได้ผูกพันที่จะเปิดตลาดการค้าบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามความตกลง GATS แต่ได้มีการเปิดตลาดให้แก่ประเทศที่ได้มีการทำข้อตกลง FTA ระหว่างกัน เช่น ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น 2. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเอื้ออำนวยต่อการเปิดเสรีการค้าบริการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในเรื่องการเข้าสู่ตลาดและการปฏิบัติอย่างคนชาติ 3. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีบทบัญญัติที่ควบคุมการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเข้มงวด ทำให้ขาดความเป็นอิสระและขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ 4. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ที่นำเสนอมีหลักการให้สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศได้
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study basic concept and principles of free trade in higher educational services under GATS and FTA together with their pros and cons; to study and analyze Thai and foreign higher education legislatures and their effects of free trade on higher educational services in order to propose a higher education law as a mechanism in coping with foreign competition. Research methods employed were content analysis with a survey using a questionnaire for administrators of public and private universities as well as in-depth unstructured interviews with parents. The drafted Bill was reviewed by a group of experts according to the connoisseurship model. Final comments from the public were culminated through a specially designed website. Results of the research : 1. There are 4 forms of free trade in higher educational services under GATS and FTA, namely,(1 ) Cross – Border Supply, (2) Consumption Abroad, (3) Commercial Presence, (4) Presence of Natural Person. At present Thailand is not totally committed to GATS in opening higher education market. However, some countries are exceptional, such as Australia. 2. The existing higher education legislatures being enforced at present are not viable to free trade in higher educational services either in market access or national treatment issues. 3. The Private Higher Education Institutions Act : B.E. 2546 , a law focused on services in higher education, contains provisions mainly on control and hence, contributes to the lack of autonomy in carrying out business in private higher education institutions. 4. The drafted Bill of the Higher Education Institutions B.E. …. as proposed in this research includes provisions in allowing administrative autonomy. Additionally, the proposed law aims at building competencies in gaining competitive edge against foreign higher education institutions.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.664-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการนำเสนอร่างกฎหมายการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาen_US
dc.title.alternativeA proposal of higher education low to cope with free trade in educational servicesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.664-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthaphat_ch_front.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_ch1.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_ch2.pdf48.18 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_ch3.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_ch4.pdf27.5 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_ch5.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open
Natthaphat_ch_back.pdf48.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.