Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41537
Title: การใช้พื้นที่และมัลติมีเดียของคณะละครเวทีร่วมสมัยในเทศกาลละครกรุงเทพ
Other Titles: Usage of space and multimedia of contemporary theatre troupes in Bangkok theatre festival
Authors: ชญาดา รุ้งเต่า
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
สุกัญญา สมไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "การใช้พื้นที่และมัลติมีเดียของคณะละครเวทีร่วมสมัยในเทศกาลละครกรุงเทพ" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่แสดงภายในประชาคมบางลำภูและการนำสื่อมัลติมีเดียประกอบการสร้างสรรค์งานของละครเวทีร่วมสมัยในเทศกาลละครกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2549 รวมถึงศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อการใช้พื้นที่และมัลติมีเดีย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสหวิธีการ (Multiple Methodology) อันได้แก่การสังเกตกาณ์ (Observation) วิเคราะห์เชิงโครงสร้างร่วมกับวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ศิลปินและผู้ชมที่มีประสบการณ์ด้านละคร และการสำรวจ (Survey Research) ทัศนคติผู้ชมทั่วไปด้วยแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พื้นที่แสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2549 แบ่งเป็น 5 พื้นที่ ซึ่งสามารถจำแนกตามคุณลักษณะพื้นที่การแสดงเปิด ที่มีภาพรวมการสร้างสรรค์งานแบบเหนือจริง (Non-Realistic Style) อันได้แก่ เวทีป้อมพระสุเมรุ สวนสันติชัยปราการและบริเวณพลับพลา เวทีเด็กเยาวชนและครอบครัว คุณลักษณะพื้นที่กึ่งปิด-กึ่งเปิด ที่มีภาพรวมการสร้างสรรค์งานแบบเหนือจริงคือ เวทีล้อมรั้ว และคุณลักษณะพื้นที่การแสดงปิด ที่มีภาพรวมการสร้างสรรค์งานแบบเหนือจริง (Realistic Style) คือ พื้นที่การแสดงในร้านอาหารและสถานที่ราชการ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้พื้นที่กับรูปแบบโรงละคร พบว่า เวทีป้อมพระสุเมรุและเวทีเด็กเยาวชนและครอบครัว มีลักษณะใกล้เคียงแบบโพรซีเนียม สวนสันติชัยปราการและบริเวณพลับพลามีรูแปบบใกล้เคียงกับละครเร่ อารีนา และทรัสต์ เวทีล้อมรั้วมีการใช้พื้นที่ใกล้เคียงแบบโพรซีเนียมและแนวทดลอง การแสดงภายในร้านอาหารและสถานที่ราชการมีการใช้พื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่รูปแบบแนวทดลองและลีฟวิ่งเธยร์เตอร์ (Living Theatre) ทั้งนี้พื้นที่แสดงเป็นปัจจัยรองจากประเด็นเนื้อหาที่มีส่วนสำคัญในการปรับแนวทางการนำเสนอให้เกิดพลังผลรวมละคร (Total Effect) นอกจากพบนี้เงื่อนไขของพื้นที่แสดงที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์งาน ได้แก่ การหาจุดร่วมการสร้างสรรค์งานกับพื้นที่คุณลักษณะพื้นที่แสดงที่เป็นพื้นที่เปิดหรือปิด ขนาดของพื้นที่ จุดยืนของพื้นที่แสดง สิ่งแวดล้อมที่เข้าแทรกแซง ระบบเทคนิค (แสง เสียง) ความคาดหวังของกลุ่มผู้ชมแต่ละพื้นที่แสดง ช่วงเวลาในการเล่น รวมถึงพบรูปแบบละครบางประเภทที่มีการใช้พื้นที่นอกกรอบเวทีอีกทั้งละครบางประเภทที่สามารถเล่นได้ในทุกพื้นที่การแสดง 2) พบละคร 3 เรื่องที่ใช้มัลติมีเดียในการสร้างสรรค์งานโดยปรากฏรูปแบบภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวบวกเสียง คลิปวิดีโอและภาพยนตร์ การวาดแผ่นใสสด และการนำมาใช้ในบทบาทแทนฉาก สื่อนามธรรม ขยายอารมณ์คำพูด คำบรรยาย แสดพงออกถึงแนวคิดหลักเรื่อง แทนความคิดในใจตัวละคร อุปกรณ์ประกอบการแสดง ภาพประกอบในการเล่าเรื่อง แสดงพัฒนาการเรื่อง และแทนองค์ประกอบไฟในละคร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้มัลติมีเดียของศิลปิน คือ การเกิดผลองค์รวมละคร ความจำเป็นในการเล่าเรื่อง ทักษะหรือความถนัด ขนาดการสร้างสรรค์งาน ลักษณะพื้นที่การสร้างสรรค์งาน ค่าใช้จ่าย กลุ่มเป้าหมาย 3) พบทัศนคติของผู้ชมในแต่ละพื้นที่แสดงที่มีค่าร้อยละสูงสุด คือ พื้นที่ป้อมพระสุเมรุมีการแสดงน่าสนใจและหลากหลาย พื้นที่เวทีเด็กเยาวชนและครอบครัวมีการแสดงที่น่าในสนใจหลากหลายต่อเนื่อง ความอิสระในการชมและไม่เสียค่าใช้จ่าย พื้นที่สวนสันติชัยปราการและบริเวณพลับพลามีอิสระในการรับชม เวทีล้อมรั้วมีการแสดงที่คัดสรรค์ว่ามีคุณภาพ พื้นที่ร้านอาหารและสถานที่ราชการมีสมาธิและบรรยากาศในการรับชมที่ดี ในด้านความเห็นต่อมัลติมีเดียผู้ชมมีทัศนคติด้านบวกมากกว่าด้านลบ ที่ช่วยสื่อสารจินตนาการต่อผู้ชมให้ชัดเจนขึ้น ใสขณะที่ผู้ชมส่วนน้อยมีทัศนคติด้านลบที่เห็นว่ามัลติมีเดียลดความสำคัญของการแสดง งานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมองค์ความรู้แนวคิดในการสร้างสรรค์งานสื่อสารการแสดงรูปแบบไทยที่มีธรรมชาติในการเล่นกับพื้นที่แสดล้อมและเหมาะกับรสนิยมผู้ดูในวัฒนธรรมการแสดงแบบไทยที่มีรากฐานแตกต่างจากการรับชมในโรงละครตามแบบตะวันตก
Other Abstract: The research of "Usage of space and multimedia of contemporary theatre troupes in Bangkok Theatre Festival" which aims to study about usage of space and multimedia of contemporary theatre troupes include audience's attitude in Bangkok Theatre Festival 2006. This research uses a Multiple Methodology to consist of observation together with documentary research and in-depth interview with artists and audience to be relevant art and stagecraft and survey research with audience 100 people. The research showed that 1) Bangkok Theatre Festival 2006 has 5 performing spaces anyhow the space to classify by open space characteristic as Phra Sumeru Fortress State, Santichiprakarn Park Stage, Children Youth and Family Stage that appear a creation in non-realistic style. Semi-Open space characteristic as Install Stage that appear a creation in non-realistic style. In case apaces to compare with thetre forms showed that usage of Phra Sumeru Fortress Stage and Children Youth and Family Stage have a form nearly a Proscenium theatre and usage of Santichiprakarn Park Stage have a form nearly a Street theatre, Arena stage theatre. Usage of Install Stage have a form nearly Proscenium theatre and Experimental theatre. Usage of restaurant spaces and a government service building have a form nearly Experimental theatre and Living Theatre. On the other, Space is not major fact like theme or concept in performing art creation but it is a one part of material parts to decide a suitable presentation form. A condition of space have result to creation is haring point with site specific, space characteristic, size of space, concept of stage, environment or noise, light and sound technique, audience expectation, show time and there is some kind of creation that flexible to show in every space. 2) There are 3 productions that used multimedia in performing art creation. Appearing a type of multimedia as slide motion picture (video clip), live drawing on overhead machine. A role multimedia is replacing scene. A medium of abstract noun, acting and speech expression, English subtitle, conception medium, reflection to performer emotion, an illustration, reflection to plot development, replacing light. Condition that make artist decided to used multimedia is total effect, necessity in narrater, experience skill, size production, space, budget, audience demand. 3) There is highest reason of audience's attitude to decided about seeing play in Phra Sumeru Fortress Stage as several and interesting play. In Children Youth a Family Stage is several and interesting play, free and independent seeing play. In Santichiprakarn Park Stage is independent seeing play. In Install Stage is quality of play. In as restaurants and a government service building is concentration and good atmosphere. Mostly of audience have a positive attitude with a usage multimedia of contemporary theatre troupes. However, positive audience's attitude is a medium o9f abstract noun that clearly and negative audience' attitude is decrease significance of performing.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41537
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.821
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.821
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayada_ru_front.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_ch1.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_ch2.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_ch3.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_ch4.pdf21.84 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_ch5.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Chayada_ru_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.