Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41606
Title: การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธ : การวิจัยพหุกรณีศึกษา
Other Titles: A study of an instructional model of The Buddhist concept schools: A multicase study
Authors: ชรินรัตน์ พุ่มเกษม
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานครและภูมิภาคและเพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการวิจัยพหุกรณีศึกษา (Multiple Case Study) 4 กรณี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค มีความคล้ายคลึงกันในภาพรวม คือ การเรียนการสอนในชั้นเรียนมีการสอดแทรกคุณธรรมเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีการจัดกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต 4 ลักษณะ คือ กิจกรรมเสริมสร้างเนื้อหาสาระตามหลักสูตร กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดขององค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอน 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปรัชญา/หลักการ มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนดี โดยโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานคร มีแนวคิดว่าไม่ได้คาดหวังให้ผู้เรียนของโรงเรียนทั้งหมดมีคุณลักษณะที่ดีเหมือนกันทุกคน แต่หวังเพียงว่าผู้เรียนที่เคยมีความประพฤติไม่ดี สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้อาศัยวิธีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ ใช้วิธีการยกตัวอย่างและเสริมแรงให้ผู้เรียนที่ปฏิบัติดี ส่วนโรงเรียนในภูมิภาคมีแนวคิดว่าควรปลูกฝังสิ่งที่ดีทั้งในและนอกชั้นเรียนทุกครั้งที่มีโอกาส มีการให้กำลังใจกับผู้ประพฤติดี การมีแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียนได้ปฏิบัติตาม และให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในทางวิชาการและวิธีปฏิบัติในฐานะพุทธศาสนิกชน 2) วัตถุประสงค์ โรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานคร ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความรู้ มีคุณธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของทางโรงเรียน และปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ส่วนโรงเรียนในภูมิภาคต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนดีของสังคมตามแนวทางของโรงเรียนวิถีพุทธ คือ ผู้เรียนกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น ตามหลักไตรสิกขา ควบคู่ไปกับการมีความรู้ทางวิชาการ และการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
3 ขั้นตอนและลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานครมี 3 ขั้นตอนหลัก และใช้กระบวนการกลุ่ม ฝึกให้นักเรียนใช้กระบวนการคิด แสดงความคิดเห็น ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และในระหว่างดำเนินการสอนมีการเสริมแรงให้กับผู้เรียน แต่ขาดการปฏิบัติอย่างเป็นประจำในกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ส่วนโรงเรียนในภูมิภาค มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน เช่นเดียวกับโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร แต่มีการปฏิบัติกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิตอย่างเป็นประจำ 4)วิธีการวัดและประเมินผลของโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค มีความคล้ายคลึงกัน คือ วัดและประเมินผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ วัดและประเมินผลตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้วิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย และมีความสอดคล้องตามตัวชี้วัดการดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธด้านผลผลิตในด้านศีล (สังคม) ด้านจิต (จิตใจ/อารมณ์) และด้านปัญญา 2. คุณลักษณะของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถีพุทธ จากการศึกษาพบว่า โรงเรียนวิถีพุทธในภูมิภาค ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาอื่น จำนวน 1 โรงเรียน มีคุณลักษณะที่ดีทั้ง 4 ด้าน ในอีก 3 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครจำนวน 2 โรงเรียนและโรงเรียนในภูมิภาคเขต 1 จำนวน 1 โรงเรียน พบว่า ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านกาย (กายภาพ)ในพฤติกรรมการเลือกอุปโภค บริโภค ที่ยังยึดติดกับค่านิยม แฟชั่น และทำผิดกฎระเบียบในเรื่องการแต่งกาย มีคุณลักษณะด้านศีล (สังคม) ในการพูดจาหยาบคาย พูดปด ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัย ขาดความซื่อสัตย์ มีคุณลักษณะด้านจิต (จิตใจ/อารมณ์) ในลักษณะละเลยการตอบแทนคุณต่อผู้มีพระคุณ ไม่แสดงความเคารพครูทุกครั้งที่พบ ขาดความสนใจ ขาดความตั้งใจ และขาดความขยันหมั่นเพียรในการเรียน และมีคุณลักษณะด้านปัญญา คือ รู้และเข้าใจ ว่าสิ่งใดดีไม่ดี มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ แต่ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี ขาดความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ขาดความกระตือรือร้นค้นหาความรู้ และไม่มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
Other Abstract: The purposes of research were to study instructional model of the Buddhist concept schools in Bangkok and up country area and study characteristics of students the Buddhist concept schools in Bangkok and up country area. Field research methodology; multiple case studies in 4 sites. The data collection process consisted of participant and non-participant observations ,formal interview and informal interview documentary analysis. The data was analyzed by the method of content analysis ,reduction of data and data comparative. The research results were as follows 1. Instructional model of the Buddhist concept schools in Bangkok and up country area were similar in additional moral for life teaching. And prepare activities for life in 4 components which were activities beside the curriculum, daily activities, Buddhist important’s day activities and extra activities. But they were different in details of each components which were 1) For philosophy/principle, the Buddhist concept school in Bangkok had concept that was the schools didn’t expect for all good students but it good enough if the students who have bad behavior developed themselves, by educated the moral since the students were young, given the good example and admired the good students. The Buddhist concept schools in up country area had concept that was have to educate the moral all the time, by supported the good students, showed the good behavior and managed the activities for students to perform in real situation. 2) The purpose, the Buddhist concept school in Bangkok wanted the students were good persons who have moral and expectation characteristics of the school, and wanted the students acted as the good Buddhist. The Buddhist concept schools in up country area wanted the students were good persons in the way of Buddhist concept schools that were able to “eat, live, look and listen” of threefold training with consist knowledge and be the good Buddhist. 3) Procedure of teaching and learning activities for the Buddhist concept schools in Bangkok have 3 steps and used cooperative skills, trained the thinking skill, expressing skill for the student, and managed the activities for students to perform in real situation. 4) Measurement and Evaluation of the Buddhist concept schools were measured and evaluated in expectation objective and used variety methods which fited with output indicator of the Buddhist concept schools in religious precept, mind and talent. 2. The characteristics of students which from instructional model of Buddhist concept schools, it showed that the Buddhist 1 school in up country area which not in first education area have 4 good characteristics but the others which were 2 schools in Bangkok and 1 school in up country area, found that in physical characteristics the students have fashional value behavior and break the rules of the school. In moral characteristics the students have rudely and lie speaking, didn’t have responsibility, discipline and loyal. In characteristics of mind the students were not oblige, didn’t have an attention in study. In characteristics of talent the students have known and understood in adventage or unadventage but they have done only the bad things, didn’t have an attention in studying and didn’t have responsibility about the assignments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41606
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.572
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.572
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charinrat_po_front.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch1.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch2.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch3.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch4.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch5.pdf15.24 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_ch6.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Charinrat_po_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.