Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41624
Title: การผลิตและลักษณะสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากยีสต์ที่คัดเลือกได้
Other Titles: Production and characterization of biosurfactant from the selected yeast
Authors: ธนัสถา เชียงอุทัย
Advisors: จิราภรณ์ ธนียวัน
สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การคัดเลือกยีสต์ที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากแหล่งต่าง ๆ สามารถแยกยีสต์สายพันธุ์ PY1 จากอาหารหมักดองพื้นบ้านของประเทศไทย จากอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีสามารถสูงสุดในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ เมื่อจำแนกสายพันธุ์พบว่าเป็น Pichia anomala ยีสต์ Pichia anomala สายพันธุ์ PY1 สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเลี้ยงในอาหารเหลวปรับปรุงสูตรที่ประกอบด้วย 0.02% KH2PO4 0.02% MgSO4.yH2O 0.1% สารสกัดยีนส์ 0.4% NaNO3 และ 4% น้ำมันถั่วเหลือง ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 5.5 ภาวการณ์เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 30 °ซ ในระดับขวดเขย่าอัตราเร็ว 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 7 วัน สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้มีค่าแรงตึงผิวต่ำสุด 28 mN/m ค่าจุดวิกฤตของการเกิดไมเซลล์ (CMC) เท่ากับ 180 mg/l และค่าการกระจายน้ำมันเท่ากับ 95.07 cm2 เมื่อวิเคราะห์สารที่ทำบริสุทธิ์บางส่วนที่ได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อโดยใช้ TLC พบว่ามีส่วนประกอบ 6 ส่วน ที่มีค่า Rf เท่ากับ 0.94 0.8 0.73 0.62 และ 0.52 (F1- F6) ตามลำดับ ซึ่ง F2 ให้ค่าการกระจายน้ำมันสูงสุดและถูกนำไปทำให้บริสุทธิ์อีกครั้งด้วย preparative TLC และ HPLC การทำให้บริสุทธิ์ด้วย HPLC ใช้คอลัมน์ Cosmosil 5C18-AR ชะด้วยลิเนียร์เกรเดียนท์ (10-100% อะซิโตรไนไตรท์) ตรวจผลด้วย UV detector ลำดับส่วนของตัวอย่างสารตำแหน่ง F2 จาก HPLC ที่มีค่ากระจายน้ำมันมากจะถูกวิเคราะห์ต่อไปด้วย LC-MS แสดงค่ามวลโมเลกุลของสาร ส่วนใหญ่มีค่าเท่ากับ 658, 674 และ 691 ซึ่งเทียบเคียงได้กับมวลของโซโฟโรลิพิดที่มีกรดไขมันเป็นองค์ประกอบของ [C20]Lactone +Na C20+Na และ C20+Na (oxidized form) ตามลำดับ
Other Abstract: Biosurfactant producing yeasts were isolated from various sources. Among these, a strain designated PY1, isolated from Thai fermented food at Panatnikhom, Chonburi province, which was later identified as Pichia anomala gave the best biosurfactant activity. The strain gave high biosurfactant activity when cultivated in production medium containing 0.02% KH2PO4’ 0.02% MgSO4.7H2O, 0.1% Yeast extract, 0.4% NaNO3 and 4% Soybean oil at pH 5.5, 30 ℃ with 200 rpm-shaking for 7 days. The biosurfactant yielded could lower surface tensiondown to 28 mN/m with CMC value of 180 mg/l and 95.07 cm2 in term of oil displacement. TLC analysis of partially purified products revealed 6 components at Rf value of 0.94, 0.86, 0.8 0.73, 0.62 and 0.52 (F1-F6), respectively. F2 fraction which showed highest activity for oil displacement was further purified by preparative TLC and HPLC. Purification by HPLC was carried out via gradient system (10- 100% acetronitrile) on Cosmosil 5C18-AR column and monitored by UV detector. The active peak eluted with oil displacement activities were submitted to LC- MS analysis. The mostly of molecular weights are 658, 674 and 691 revealed nearly of sophorolipid compound containing fatty acid of [C20]Lactone +Na, C20+Na and C20+Na (oxidized form) respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41624
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.220
ISBN: 9741425333
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.220
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanasta_ch_front.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_ch1.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_ch2.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_ch3.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_ch4.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_ch5.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Tanasta_ch_back.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.