Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41644
Title: การศึกษาคุณสมบัติบางประการของยิบซัมชนิดที่สี่ที่ใส่พอลิอะคริมาไมด์
Other Titles: Study of some properites of type IV gypsum with the addition of polyacrylamide
Authors: ณัฐวดี เหลี่ยมเจริญ
Advisors: ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการปรับปรุงคุณภาพยิบซัมชนิดที่ 4 ด้วยอะคริลาไมด์ โดยทำการทดสอบปริมาณอะคริลาไมด์ที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ที่ใช้ปริมาณของอะคริลาไมด์ที่แตกต่างกันคือ 0 (กลุ่มควบคุม) 1.5 2 2.5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ โดยทำการทดสอบ ความทนแรงอัด ระยะเวลาก่อตัว และการขยายตัวขณะแข็งตัว การทดสอบความทนแรงอัด : เตรียมชิ้นตัวอย่างรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร กลุ่มละ 15 ชิ้นตัวอย่าง ทำการทดสอบค่าความทนแรงอัด ด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น Instron 8872 อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของหัวกด 1 ม.ม./นาที ที่เวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) และวิเคราะห์ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยทำการทดสอบด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni method) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบระยะเวลาการก่อตัว : ทำการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบระยะเวลาการก่อตัวชนิดเข็มไวเคท (Vicat needle apparatus) กลุ่ม 5 ชิ้นตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square) ด้วยวิธี มอนติคาร์โล (Monte Carlo) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การทดสอบการขยายตัวขณะแข็งตัว : ทำการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบการขยายตัวขณะแข็งตัว (Extensometer) อ่านค่าการขยายตัวขณะแข็งตัวที่เวลา 120 นาทีภายหลังจากทำการผสมแล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณค่าการขยายตัวขณะแข็งตัวโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธีอินดีเพนเด้นแซมเปิลทีเทส (Independent – Samples T test) และวันแซมเปิลทีเทส (One Sample T test) ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ใช้อะคริลาไมด์ 2.0% มีค่าความทนแรงอัดมากที่สุด โดยที่เวลา 1 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง มีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และใช้ระยะเวลาก่อตัวสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้จากผลการทดสอบการขยายตัวขณะแข็งตัวก็พบว่ากลุ่มที่ใช้อะคริลาไมด์ 2.0% มีค่าการขยายตัวขณะแข็งตัวน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นจากการทดลองทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่าในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับยิบซัมชนิดที่ 4 ปริมาณอะคริลาไมด์ที่เหมาะสมที่สุดคือ 2.0%
Other Abstract: The purpose of this research is to improve the quality of a Type IV gypsum material by finding the quantity of suitable acrylamide. There were 5 different groups that missing acrylamide in a Type IV gypsum material, including 0 (control), 1.5, 2, 2.5 and 3 wt%, respectively. In each group, the research has been studied influence of polyacrylamide on the compressive strength, setting time and setting expansion. Compressive strength test : Preparing 15 cylindrical specimens each group with a diameter of 10 mm., and height of 20 mm. Testing the compressive strength of 5 specimens by UTM (Instron 8872) at a crosshead speed of 1 mm./min. at 1, 24, and 48 hours after the start of mixing. Analyzed the data with One-way ANOVA and testing by Bonferroni method at the 95% confidence level. Setting time test : Having tested by using Vicat needle apparatus for 5 specimens per group Analyzed the data with Chi-square with Monte Carlo approach at the 95% confidence level. Setting expansion test : Extensometer is used for the setting expansion test for 5 specimens per group. Determine the change in the length at 120 min after the start of mixing. Then, calculate the setting expansion as a percentage of the original length. Analyzed the data with the Independent – Samples T test and One Sample T test at the 95% confidence level. The result shows that the group of 2.0% acryl amide mixing has the highest compressive strength, and also has higher compression resistance than the control group (p<0.05) at the time equivalent to 1 hour, 24 hours and 48 hours, as well as has less setting time than the control group (p<0.05). In addition, the expansion testing shows that the group of 2.0% acrylamide missing has the expansion value less than the control group. In conclusion, according to the results above, the 2.0% of acrylamide is the best mixing proportion for efficiency improvement of Type IV gypsum material.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41644
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthawadee_li_front.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_ch2.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_ch3.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_ch4.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Natthawadee_li_back.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.