Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41647
Title: การเตรียมนาโนคอมพอสิตที่ย่อยสลายทางชีวภาพจากพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ/แป้งมันสำปะหลัง/มอนต์มอริลโลไนต์
Other Titles: Preparation of biodegradable nanocomposite from low density polyethylene /cassava starch/montmorillonite
Authors: จุรีพร นันทรักษ์
Advisors: เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
กาวี ศรีกูลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมวัสดุนาโนคอมพอสิตที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ/แป้งมันสำปะหลัง/มอนต์มอริลโลไนต์ด้วยกระบวนการผสมแบบหลอมเหลว โดยใช้อัตราส่วนของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ/แป้งมันสำปะหลังเป็น 100/0 90/10 80/20 70/30 และ 60/40 มอนต์มอริลโลไนต์ที่ถูกดัดแปรด้วยได(ไฮโดรจิเนเทดแมลโล) ไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ถูกนำมาบดผสมกับสารผสมของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ/แป้งมันสำประหลัง [ในปริมาณ 2 4 6 และ 8 phr] ด้วยเครื่องผสมแบบสองลูกกลิ้ง แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดแบบเพื่อศึกษาโครงสร้าง สมบัติเชิงกล พฤติกรรมทางความร้อน การดูดซึมน้ำ ความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ และสัณฐานวิทยาของวัสดุนาโนคอมพอสิต ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเอ็กซ์เรย์ แสดงให้เห็นการเลื่อนพีกของระยะห่างระหว่างระนาบ (001) ไปยังค่า 2Ѳ ที่ลดลงเพียงเล็กน้อย และพบว่าสมบัติเชิงกลของชิ้นงานลดลงอย่างมากเมื่อปริมาณแป้งในวัสดุนาโนคอมพอสิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติมมอนต์มอริลโลไนต์ทำให้สมบัติเชิงกลเหล่านี้มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากผลการวิเคราะห์ด้วย DSC และ TGA แสดงให้เห็นว่ามอนต์มอริลโลไนต์มีผลต่อุณหภูมิหลอมเหลวของ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ และเสถียรภาพทางความร้อนของวัสดุนาโนคอมพอสิตไม่มากนัก โดยที่การดูดซึมน้ำและความสามารถในการย่อยสลายทางชัวภาพของวัสดุนาโนคอมพอสิตเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของแป้งมันสำปะหลังและมอนต์มอริลโลไนต์เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถยืนยันได้จากภาพ SEM ของพื้นผิวชิ้นงานของวัสดุนาโนคอมพอสิตภายหลังการฝังดินเป็นเวลา 56 วัน
Other Abstract: The objective of this research is to prepare biodegradable low density polyethylene (LDPE)/cassava starch/montmorillonite (MMT) nanocomposites by melt mixing process. Ratio of LDPE/STARCH IS SET AS 100/0, 90/10, 80/20, 70/30, and 60/40. MMT modified with di(hydrogenated tallow) dimethyl ammonium chloride was mixed with LDPE/cassava starch blends at the amount of 2, 4, 6 and 8 phr using a two roll mill. The mixtures were then processed into sheet specimens by compression molding. The effects of cassava starch and MMT on structure, mechanical properties, thermal behaviors, water absorption, biodegradability and morphology of the nanocomposites were investigated. The XRD patterns of the nanocomposites showed slightly shift to smaller 2Ѳ of the peak characteristic to d001 spacing. It was found that the mechanical properties of the nanocomposites remarkably decreased with the increasing amount of cassava starch, however, these properties were slightly improved with the addition of montmorillonite. The DSC and TGA showed that the montmorillonite had slight influence on the melting temperature of LDPE and thermal stability of the nanocomposites, respectively. Water absorption and biodegradability of the nanocomposites were enhanced as the amount of cassava starch and montmorillonite were increased. These were confirmed by the SEM micrographs of the nanocomposite surfaces after soil burial for 56 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41647
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.217
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.217
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jureeporn_na_front.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_ch2.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_ch3.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_ch4.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Jureeporn_na_back.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.