Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41651
Title: วิเคราะห์การขับร้องเพลงหน้าทับปรบไก่ประเภทเพลงเสภาทางฝั่งธน
Other Titles: A musical analysis of Pleng Probkai in Sepha style of Thang phang thon's melodies
Authors: พิรุณ บุญพบ
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องวิเคราะห์การขับร้องเพลงปรบไก่ประเภทเพลงเสภาทางฝั่งธน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัตและบริบทที่มาของทั้ง 3 บทเพลง รวมทั้งวิเคราะห์อัตลักษณ์สังคีตลักษณ์ของทำนองหลัก และวิเคราะห์กลวิธีพิเศษในการขับร้องของเพลงพญาโศกสามชั้น เพลงบุหลันสามชั้นและเพลงแขกมอญสามชั้นทางฝั่งธน จากการวิเคราะห์ทำนองหลักทั้ง 3 เพลงนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีครูวิเชียร เกิดผล เป็นตัวแทนผู้ให้ข้อมูลหลักของทางบ้านฝั่งธน และถ่ายทอดทำนองหลักของมือฆ้องให้กับผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ ผลจากวิเคราะห์พบว่าเอกลักษณ์สำคัญของบทเพลงทั้ง 3 นี้มีลักษณะของการแบ่งมือฆ้องที่มี่ความสละสลวยสอดคล้องสมดุลกัน ในลักษณะของทางพื้นที่มีการผสมผสานไปมากับทางเก็บอย่างกลมกลืนกันพร้อมทั้งมีความต่อเนื่องกันของการใช้บันไดเสียงรวมไปถึงการนำกลวิธีต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมมีความลงตัวของทำนองที่สอดคล้องไปกับลักษณะของบทเพลง ส่วนผลการวิเคราะห์ทางขับร้องของทั้ง 3 เพลงนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมี ครูมาลี สุขเสียงศรี (เกิดผล) เป็นตัวแทนผู้ให้ข้อมูลหลักของทางขับร้องทางบ้านฝั่งธน และถ่ายทอดทางขับร้องให้กับผู้วิจัยได้การวิเคราะห์ พบว่าทางข้อร้องทางบ้านฝั่งธนส่วนใหญ่จะยึดหลักการขับร้องของครูในอดีตเป็นรากฐานหลักโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงกลวิธีใด ๆ ซึ่งต้นแบบถ่ายทอดมาเช่นไรย่อมให้กับลูกศิษย์เช่นนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใครไม่ว่าจะเนื้อร้องและกลวิธีของการเอื้อน โดยจะเน้นในเรื่องของความชัดถ้อยชัดคำทั้งคำร้องและเอื้อนเป็นหลักตรงไปตรงมา มีความเรียบง่ายในการใช้เอื้อน ทั้งหมด 9 กลวิธี คือ กลวิธีการกระทบเสียง กาครั่นเสียง การกลืนเสียง การเน้นเสียง การควงเสียง การกลึงเสียงการผันเสียงสูงและต่ำ การประคบเสียงประคบคำและการเอื้อนเสียงยาว จึงทำให้เห็นว่าบทเพลงทางขับร้องสายฝั่งธน เป็นทางเพลงโดยปราศจากสิ่งปรุงแต่งและการปรับเปลี่ยน ใด ๆ ที่สืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบัน
Other Abstract: This research is entitled “A Musical Analysis of Phleng Sepha Vocal Melodies in Probkai by Phang Thon School. The research aims to investigate the historical data of all three songs, to analyze musical form, and examine vocal techniques implemented in these three songs that characterized Phang Thon vocalizing techniques. The research data was collected from two key informants who represent the musical school of Phang Thon school. Khru Vichien Keodphon is a representative of Phang Thon musicians who taught basic melodies of three songs to the researcher. The musical analysis of the basic melodies of three sons show that the gong patterns are symmetrically distributed to the left and the right hand. The research data for vacal melodies was collected from Khru Malee Keodphon, who is a representative of Phang Thon vocalists. The research results show that vocal techniques were passed down from the older generation without transformation. The three songs have been preserved and remained unchanged from the first generation of the Phang Thon vocalists to the latest generation at present. The vocal techniques were found nine techniques used in Phleng Sepha including krathob sieng, kran siang, kluen siang, nen siang, kaung siang, kleung, pan saing saing, prakob siang-prakob kam, and ouen siang yao.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41651
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.227
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.227
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phirun_bo_front.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_ch1.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_ch2.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_ch3.pdf21.13 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_ch4.pdf24.65 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_ch5.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Phirun_bo_back.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.