Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา ช้างขวัญยืน
dc.contributor.authorคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-23T06:20:30Z
dc.date.available2014-03-23T06:20:30Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41719
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractปรัชญาอไทฺวตเวทานตะของศังกราจารย์ มีหลักสำคัญ คือ พรหมันเท่านั้นเป็นสิ่งจริงแท้, โลกเป็นเพียงมายาหรือปรากฏการณ์ของพรหมัน, ชีวาตมันไม่ได้แยกจากพรหมัน มโนทัศน์สำคัญที่ ศังกราจารย์ใช้ในการอธิบายสถานภาพของโลกและยืนยันความจริงหนึ่งเดียวของพรหมัน คือมโนทัศน์ “มายา” มโนทัศน์มายาของศังกราจารย์มีสามแง่มุม คือ มายาในแง่ของพลังของอีศวรซึ่งใช้ในการปรากฏออกมาเป็นโลก, มายาในแง่ของประกฤติและมายาในแง่ของความลวง มายาในแง่ของความลวงทำให้เกิดความเข้าใจว่า โลกมีสถานภาพที่ไม่มีอยู่จริง ซึ่งนำมาสู่ข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์ เกี่ยวกับสถานภาพของความดี - ชั่ว กล่าวคือถ้าโลกไม่มีอยู่จริงการกระทำของมนุษย์ก็จะไม่จริง และทำให้ไม่สามารถตัดสินค่าทางศีลธรรมของการกระทำได้ แต่หากยืนยันความมีอยู่ของโลกก็จะขัดกับหลักของอไทฺวตะ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจและความจริงจังทางศีลธรรมด้วย ศังกราจารย์ไม่ได้ตอบปัญหาเหล่านี้อย่างชัดเจน แต่นักปรัชญาอินเดียยุคใหม่คือ ราธกฤษณันได้ตีความมายาเป็นหกความหมายนอกเหนือจากความลวง การตีความมายานี้ ก็เพื่อแสดงแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับความจริงสูงสุดและแก้ไขปัญหาทางจริยศาสตร์ที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากนี้หากพิจารณาระดับของความหมายของ “จริง” ในเวทานตะของศังกราจารย์ โลกจริงเพียงพอที่จะแยกความแตกต่างระหว่างดี – ชั่วได้ สถานภาพดังกล่าวของโลกจะหายไปเมื่อมีการหลุดพ้นของ ชีวันมุกตะ มีปัญหาสองประการต่อมาคือ เหตุใดชีวันมุกตะต้องทำความดี ไม่เลือกทำชั่วและ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องยอมรับความมีอยู่ของอีศวรในปรัชญา อไทฺวตะเวทานตะ ซึ่งปัญหาแรกสามารถตอบได้ เพราะ ชีวาตมันได้ขจัดคุณสมบัติที่ไม่ดีของจิตจนหมดจึงกระทำแต่ความดี ส่วนปัญหาที่สอง การยอมรับความมีอยู่ของอีศวรในอไทฺวตะ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องพระกรุณาและพระสรรพานุภาพของอีศวร เพราะขัดแย้ง กับมโนทัศน์เรื่องกรรมและโมกษะของอไทฺวตะเอง
dc.description.abstractalternativeThe principles of Śaṁkara’s Advaita Vedānta philosophy are Brahman is the absolute truth, the world is Māyā or appearance of Brahman, Jīvātman is inseparable from Brahman. According to Śaṁkara Māyā is the most important concept which is to be used to explain the status of the world and affirm the absolute truth of Brahman. There are three aspects of Māyā : the power of Iśvara to project the appearance of the world, Prakṛti ( primal matter), and the illusion. Māyā as the illusion introduces the ethical problem of the status of good or evil. If the world is not real, all of human actions are mere illusion, and one cannot distinguish moral value of action. If one insists that the world is real. Advaita Vedānta, is to be abolished. Furthermore it is related to the problems of moral motivation and moral seriousness. Śaṁkara does not answer these problems clearly. However Radhakrishnan, Indian modern philosopher interpret Māyā in six meanings other than illusion.This interpretation of Māyā is to show the meaning of Māyā related to the ultimate truth to resolve ethical problems mentioned above. Moreover if one take the levels of meaning of “real” in Śaṁkara’s Vedānta to consideration, the world is real enough to distinguish between good or evil. Such status of the world no longer remains when one become Jīvanmukta, the liberated man. There are two questions remain to be resolved: First, do liberated man necessarily do the good rather than evil? Second, is it why necessary to take account of the existence of Iśvara in Advaita Vedānta? The first question can be answered by reasoning that Jīvanmukta frees himself from evil characteristics of mind, so that he can do only good actions.The second question, however, I will show that it can be addressed another aspect of the problem that acceptance of the existance of Iśvara introduce the contradiction between benevolent and omnipotent characteristic of Iśvara, and the concept of Karma and liberation in Advaita Vedānta.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleมายากับสถานภาพของความดี - ชั่วในปรัชญาเวทานตะของศังกราจารย์en_US
dc.title.alternativeMãyã and the status of good or evil in Samkara's Vedãntaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komkrit_ui_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ui_ch1.pdf933.33 kBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ui_ch2.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ui_ch3.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ui_ch4.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ui_back.pdf893.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.