Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41802
Title: การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงแดงแบบแช่เยือกแข็ง Lutjanus argentimaculatus Forsskal, 1775
Other Titles: Sperm cryopreservation of red snapper Lutjanus argentimaculatus Forsskal, 1775
Authors: วิโรจน์ หิรัญชัยพฤกษ์
Advisors: เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
พอจำ อรัณยกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: paderm@sc.chula.ac.th, Padermsak.J@Chula.ac.th
Porcham.A@Chula.ac.th
Subjects: ปลากะพงแดง
Red snapper
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาลักษณะของน้ำเชื้อปลากะพงแดง Lutjanus argentimaculatus Dorsskal, 1775 พบว่าลักษณะโดยทั่วไปของอสุจิปลากะพงแดงคล้ายกับอสุจิในปลากระดูกแข็งทั่วไป โดยมีส่วนหัวค่อนข้างกลม และไม่มีอโดรโซม ความหนาแน่นเฉลี่ยของอสุจิที่นับได้เท่ากับ 20.94 x 106 เซลล์ต่อมิลลิตร ระดับการเคลื่อนที่ของอสุจิประมาณ 9-10 โดยมีอัตราการเคลื่อนไหวเฉลี่ยและมีเปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตนับได้จากการย้อมสี Eosin-Nigrosin เท่ากับ 50.99% และ 69.43% ตามลำดับ ในการศึกษาสูตรน้ำยาเจือจาง และสารรักษาสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาน้ำเชื้อ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในแต่ละสูตรของน้ำยาจือจาง (P=0.233) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตพบว่า สูตรน้ำยา Modified Cortland Solution, Alsever’s Solution และ Glucose Normal Saline Solution ให้เปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตสูงกว่าสูตรน้ำยาอื่น ๆ สำหรับการศึกษาหาสารรักษาสภาพที่เหมาะสมพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติในการใช้สารรักษาสภาพ (P < 0.001) โดยการใ DMSO เป็นสารรักษาสภาพ ให้เปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตสูงกวาการใช้ Glycerol เป็นสารรักษาสภาพ โดยมีสมการเส้นตรงระหว่างความสัมพันธ์ของเปอร์เซ็นต์อสุจิตที่มีชีวิตจากการใช้ DMSO เป็นสารรักษาสภาพกับเวลา เขียนได้เป็น Y = 46.07-9.58X (A2 = 0.888) โดย Y = เปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตซึ่งนับได้จากการย้อมสี (LDS) และ X = ค่า Natural logarithm ของระยะเวลาในการเก็บน้ำเชื้อแช่เยือกแข็งเป็นวัน โดยระยะเวลาในการทดลองเท่ากับ 188 วัน การศึกษาถึงผลของวิธีการลดอุณหภูมิ อันได้แก่ การลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว การลดอุณหภูมิอย่างช้า ๆ และการลดอุณหภูมิโดยการทำให้เป็นเกล็ด ต่ออัตราการรอดของอสุจิ โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิต พบว่าการลดอุณหภูมิด้วยวิธีการทำให้เป็นเกล็ด ต่ออัตราการรอดของอสุจิ โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิต พบว่าการสำหรับการศึกษากรรมวิธีในการเพิ่มอุณหภูมิของอสุจิทีเก็บรักษาไว้ โดยการละลายอย่างช้า ๆ การละลายที่อุณหภูมิห้องและการละลายที่ 60℃ พบว่าทั้งสามวิธีให้ผลที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.215) เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วสามารถสรุปได้ว่า การใช้ Alsever’s Solution + 10% DMSO และลดอุณหภูมิด้วยการทำให้เป็นเกล็ด และเพิ่มอุณหภูมิโดยการอุ่นที่ 60℃ เป็นวิธีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากะพงแดงแบบแช่เยือกแข็งที่ดีที่สุด โดยให้เปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตสูงที่สุดในการทดลองนี้เท่ากับ 75.67 ± 10.89%
Other Abstract: The study on sperm characteristics of Red Snapper Lutjanus argentimaculatus Forsskal, 1775 reverled that they similar to most teleosts with round head shape and lack of acrosome. Average sperm was 20.94 x 106 cells per Sperm motility ratings between 9-10. Average sperm motility and percent of live sperm delected by Eoxin-Nigrosin stained were 50.99% was 69.43%, respectively. The next part of this study involved types of dilulent and cryoprotectant. It was found that the effect of dululent on sperm preservation was not significant (P = 0.233). However, Modified Cortland Solution, Alsever’s Solution and Glucose Normal Saline Solution as dilulent gave higher precent of live sperm than other. The study on two types of cryoprotectant showed that DMSO gave a significant higher percent of live sperm than that of glycerol (P < 0.001). The linear equation between percent of live sperm and lime when using DMSO I Y=46.07-9.58X (R2= 0.888) where as Y = percent of living sperm by counting from LDS (Live-dead stain) and X = natural logarithm of storage time (day). 188 days of the experiment. The study on freezing methods, i.e. rapid freezing method, show freezing method and pelleting method by checking percent of live sperm was also conducted. It was found that the pelleting method resulted in the highest percent of live sperm (P < 0.001) There was no significantly difference among thawing method, i.e. thawing in low temperature room temperature and high temperature (60℃) (P = 0.215). Finally can be concluded form this study that Alsever’s Solution + 10% DMSO freezing by pellets method and thawing in 60℃ is the best procedure for sperm cryopreservation. This procedure results in 75.67 ± 10.89% of live sperm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41802
ISBN: 9746350072
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiroj_Hi_front.pdf769.96 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch1.pdf709.72 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch2.pdf857.69 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch3.pdf931.97 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch4.pdf781.49 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch5.pdf878.7 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_ch6.pdf686.48 kBAdobe PDFView/Open
Wiroj_Hi_back.pdf779.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.