Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41840
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
dc.contributor.authorเทพทวี โชควศิน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-25T11:19:49Z
dc.date.available2014-03-25T11:19:49Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41840
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้เสนอการอ้างเหตุผลเพื่อค้นหาแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยมในการอธิบายหลักการว่าด้วยการทำให้เป็นปัจเจกในความคิดหลังอภิปรัชญา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความย้อนแย้งที่เป็นปฏิทรรศน์จากการใช้การคิดแบบอภิปรัชญา และเพื่อชี้ว่าการทำให้เป็นปัจเจกควรจะมีมิติของการอธิบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของมนุษย์ จากการวิจัย พบว่าฮาเบอร์มาสได้ชี้ให้เห็นปฏิทรรศน์ในประวัติอภิปรัชญาว่าไม่สามารถอธิบายได้โดยตรงต่อปัจเจกภาพ โดยต้องนำสามัญลักษณะมาอธิบายโดยอ้อม การแก้ไขจุดผิดพลาดในปรัชญาว่าด้วยภาวะอัตวิสัยนั้น ฮาเบอร์มาสได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ‘อัตวิสัยร่วม’ เข้ามาแทนเพื่ออธิบายปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคลว่าหมายถึงความเป็นเอกและการไม่สามารถแทนที่ได้ในการกระทำเชิงการสื่อสาร อย่างไรก็ดี พบว่าวิธีอธิบายของฮาเบอร์มาสมีความสับสนระหว่างประเด็นเรื่องการควบคุมตนเองและปัจเจกภาพ ผู้วิจัยจึงศึกษาปรากฏการณ์วิทยาแบบไฮเดกเกอร์ที่เริ่มด้วยการรื้อสร้างใหม่ต่อประวัติของภาวะและภาวะอัตวิสัย รวมทั้งการเสนอความเข้าใจใหม่ต่อความจริงว่าเป็นการเปิดเผยเช่นที่เห็นได้จากสารัตถะในเทคโนโลยีสมัยใหม่ พบว่าไฮเดกเกอร์ใช้บทวิเคราะห์เครื่องมือเป็นหลักการอธิบายปัจเจกภาพของปัจเจกวัตถุ และใช้ดาไซน์อธิบายปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคล อย่างไรก็ดี พบว่าแนวคิดแบบไฮเดกเกอร์ยังไม่ได้มีจุดยืนในปรัชญาแบบปฏิบัตินิยมได้เท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงศึกษาการตีความปรากฏการณ์วิทยาของไอด์ในแบบอุปกรณ์ปฏิบัติการ ซึ่งพบว่าเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมได้ จนสุดท้ายนำมาสู่ข้อวิเคราะห์ของผู้วิจัยคือ หากจะไม่เกิดปัญหาปฏิทรรศน์อีกต่อไป ประเด็นว่าด้วยปัจเจกภาพและการทำให้เป็นปัจเจกควรจะอธิบายในรูปแบบของคุณค่าเชิงอุปกรณ์ในระบบปฏิบัติงาน โดยเสนอแบบจำลองการอธิบายจากตัวอย่างของอุปกรณ์การสื่อสารในเทคโนโลยีสมัยใหม่คือโทรศัพท์ติดตามตัว และชี้ว่าเป็นแหล่งของ ‘ปัจเจกภาพแบบติดตามตัว’ เพื่ออธิบายต่อประเด็นเหล่านั้นได้โดยไม่เกิดปัญหาปฏิทรรศน์
dc.description.abstractalternativeThis dissertation offers an argument for a pragmatic conception of individuation in postmetaphysical thinking to avoid ironical difficulty of paradox stemmed from metaphysical thinking, and to point out the significance of topic on individuation involved with human working. From the research, I find that Habermas recognizes history of metaphysics as source of the paradoxical ineffability of individuality, and some generalizations are used instead. To correct some errors in philosophy of subjectivity, Habermas develops ‘intersubjectivity’ to explain the notion of individual person as uniqueness and irreplaceability in communicative action. However, Habermas is considered confusing explaining individuality with autonomy, so I turn to Heideggerian phenomenology. Heidegger proposes a deconstruction in history of Being and subjectivity, as well as a new conception of truth as revealing from the essence of modern technology. Heidegger uses tool analysis to explain the individuality of individual object, and Dasein to explain individual person. Nonetheless, Heideggerian standpoint is considered not pragmatic enough. I find later that Ihde’s phenomenology of instrumentation is considered pragmatic. Finally, I reach a new analysis of my own. I argue that to avoid the paradox the topic on individuality and individuation should be considered as instrumental value in working system. I propose an explanatory model considered from hi-tech communication device, the mobile phone, and argue that it is the source of ‘mobile individuality’ which is to explain individuality and individuation without any difficulty from the paradox.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยมว่าด้วยการทำให้เป็นปัจเจกในความคิดหลังอภิปรัชญาen_US
dc.title.alternativeA Pragmatic conception of individuation in postmetaphysical thinkingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineปรัชญาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theptawee_ch_front.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_ch1.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_ch2.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_ch3.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_ch4.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Theptawee_ch_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.