Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41855
Title: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางขับร้องเพลงแขกมอญ เถา |
Other Titles: | A Comparative study of vocal techniqnes in Khak mon thoa |
Authors: | นิสากร จิตถนอม |
Advisors: | ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การวิเคราะห์เปรียบเทียบทางขับร้องเพลงแขกมอญ เถา” มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตครูเลื่อน สุนทรวาทิน และครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างทำนองหลักกับทางขับร้องสองทาง คือทางขับร้องของครูเลื่อน สุนทรวาทิน และทางขับร้องของครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบทางขับร้องทั้งสองทาง ผลการศึกษาพบว่าครูเลื่อน สุนทรวาทิน เป็นผู้มีความสามารถทั้งด้านการขับร้อง เพลงไทยและการบรรเลงดนตรีไทย คือขลุ่ย จะเข้ ซอด้วงและซออู้ ทำให้ท่านได้เป็น นักดนตรีวงมโหรีหลวงในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต เป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยโดยเฉพาะด้านการขับร้องเพลงไทย ทำให้ท่านได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์ไทย) ในปี พ.ศ.2536 ทั้งสองท่านมีความสามารถเป็นที่ยอมรับและเป็นบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทำนองหลักกับทางขับร้อง พบว่า บันไดเสียงของทางร้องทั้งสองทางโดยส่วนใหญ่สัมพันธ์กับทำนองหลัก การดำเนินทำนอง ทางร้องทั้งสองทางส่วนใหญ่ไม่ยึดทำนองหลักเป็นเค้าโครง เนื่องจากผู้ขับร้องมีความสามารถในการประดิษฐ์ทำนองทางร้องให้วิจิตรไปตามทางของตน ลูกตกสำคัญที่อยู่ท้ายประโยคของการดำเนินทำนองทางร้องส่วนใหญ่สัมพันธ์กับทำนองหลัก จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางขับร้องเพลงแขกมอญ เถา พบว่าทั้งสองทางใช้ บทร้องต่างกัน ซึ่งบทร้องมีอิทธิพลทำให้การดำเนินทางร้องต่างกัน นื่องจากการดำเนินทางร้องโน้มเข้าหาคำร้อง เน้นคำร้องเป็นสำคัญ เพื่อรักษาความหมายและความชัดเจนของคำร้องเอาไว้ ในการขับร้องทั้งสองทางได้นำกลวิธีพิเศษการกระทบ กดเสียง กลืน ช้อนเสียง ปั้นคำ ลักจังหวะ หางเสียง และหวนเสียงมาใช้เพื่อเพิ่มความไพเราะให้กับทางขับร้อง สำนวน การเอื้อนส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันที่ลีลาการเอื้อน แต่ละทางเอื้อนไปตามเอกลักษณ์ของตนเอง แสดงให้เห็นความสามารถ ชั้นเชิงและภูมิปัญญาของผู้ขับร้อง |
Other Abstract: | A comparative study of vocal techniques in Khak Mon Thoa has its aim on studying biography of Khru Leun Sundaravadin and Khru Sudjit Duriyapraneet. It also aims to analyze and compare basic melodies and two versions of the vocal melodies, which belong to Khru Leun Suntarawatin and Khru Sudjit Duriyapraneet. The research results show that Khru Leun Sundaravadin is talented in Thai musical singing and performing Thai music such as Khlui, Cha-Khe, Saw-Daung and Saw-U, which caused her to be a royal musician under the reign of King Rama VI and King Rama VII. Khru Sudjit Duriyapraneet is an expert in Thai music especially in Thai singing. She was awarded as national artist in performing arts in 1993. These two artists are nationally acclaimed for their talents and great dedication in the field of Thai music. As a result of comparative studies of the relationship between basic melodies and vocal melodies, both of these two vocal systems are related to basic melodies. Their vocal melodies are varied from the basic melodies because talented singers create variations of their beautiful melodies with their styles. The Luk-Tok pitchs, which are placed at the last position of the unit phrases, are mainly related with the main melodies. From the comparative analysis of vocal techniques in Khak Mon Thoa, these two vocal melodies are different.The lyrics influence and cause the diffences between these two melodies. Because vocal processing bends into lyrics in order to keep its meaning and lyrics clarity. In these two versions, special techniques are found, for example, Kan Kra-Top, Kan Kod-Sieng, Kan Kloen, Kan Chon-Sieng, Kan Pan-Kham, Kan Lak-Chang-Wha, Hang-Sieng, and Hoeun-Sieng. Kan Ouen is mostly similar but different in each artist’s styles, showing their talents and their expertises. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41855 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nisakorn_ji_front.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_ch1.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_ch2.pdf | 14.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_ch3.pdf | 10.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_ch4.pdf | 51.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_ch5.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nisakorn_ji_back.pdf | 7.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.