Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิษณุ เสงี่ยมพงษ์
dc.contributor.authorเทวพงษ์ พวงเพชร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-25T11:59:16Z
dc.date.available2014-03-25T11:59:16Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41871
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาถึงนโยบายภาครัฐด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการ โดยเน้นศึกษาการประกอบอาชีพของคนพิการทางสายตา คำถามการวิจัยที่สำคัญคือ โอกาสด้านการประกอบอาชีพของคนพิการและคนพิการทางสายตาเป็นอย่างไรในสภาพการณ์ปัจจุบัน โอกาสด้านการประกอบอาชีพของคนพิการและคนพิการทางสายตาเป็นอย่างไรในสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยได้นำทฤษฎีทางการเมืองที่เกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน การจัดสรรในสังคม การส่งเสริมความเสมอภาค ตลอดจนทฤษฎีผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มาใช้เพื่อเป็นกรองในการวิเคราะห์ งานวิจัยนี้อาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและการพรรณนาเป็นหลัก ประกอบกับการสำรวจข้อมูลคนพิการแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ นโยบายภาครัฐยังคงขาดซึ่งประสิทธิภาพในการส่งเสริมโอกาสในการประกอบอาชีพของคนพิการ โดยนโยบายดังกล่าวยังมีลักษณะค่อนข้างกว้าง ซึ่งเป็นผลให้ความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่งละเภทไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจงด้วยเหตุนี้ คนพิการในประเทศไทยจึงยังถูกจำกัดโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพอยู่ แม้แต่การจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลของคนพิการเองก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลในทางลบต่อสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการ และสุดท้าย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ในทางปฏิบัติแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังมีการจำกัดโอกาสการจ้างงานคนพิการ โดยเฉพาะคนพิการทางสายตา จากผลการศึกษาวิเคราะห์ข้างต้น งานวิจัยนี้จึงได้เสนอให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงนโยบายภาครัฐที่อาจกระทบต่อสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนานโยบายเพื่อยกระดับการส่งเสริมอาชีพของคนพิการควรต้องได้รับการสนับสนุนในหลายด้าน โดยต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน อังเนื่องมาจากความพิการที่แตกต่างกัน อีกทั้งคนพิการยังต้องได้รับการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพด้วย โดยหากสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงแล้ว เชื่อได้ว่านายจ้างเองก็จะมีเหตุผลไม่เพียงพอที่จะปฏิเสธการรับคนพิการเข้าทำงาน
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies the State policy on vocational promotion for disabled people, with a focus on people with visual impairment. The main inquiry is the current state of vocational opportunities among people with disabilities and those with visual disability. The study uses political theories on human rights, income distribution, affirmative action, and street-level bureaucracy as the framework for analysis. The descriptive, qualitative approach is used as the main research method, with a supplement of structured survey of disabled people. Following are the major findings and analyses. The State policy still lacks the efficacy in promoting job opportunities for the disabled people. The policy is rather general, in that it does not pay specific attention to the needs of people with different types of impairments. The Thai people with disabilities, therefore, remain having limited job opportunities and resort to such jobs as lottery vending, further negatively affecting their rights and dignity. Lastly, the research also finds that in practice, both the public and private sectors still manage to limit employment opportunities among people with disabilities and especially those with visual impairment. With the above findings and analyses, this research proposes the necessity in further improving State policy that could affect the rights and dignity of disabled people. More progression in terms of policy enhancement in many aspects of vocational promotion is encouraged, with more attention to people with specific needs due to different types of impairment. Their job skills have to be promoted. As such, it is expected that employers would have less reason to unwelcome people with disabilities.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ -- ไทย
dc.subjectคนตาบอด -- ไทย
dc.subjectคนพิการ -- ไทย
dc.subjectคนพิการ -- การจ้างงาน -- ไทย
dc.subjectคนพิการ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย
dc.titleนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการประกอบอาชีพคนพิการ : ศึกษากรณีคนพิการทางด้านสายตาen_US
dc.title.alternativeState policy in vocational promotion for people with disabilities : A case study of visually im paired personsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tevapong_pu_front.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_ch1.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_ch2.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_ch3.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_ch4.pdf15.06 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_ch5.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Tevapong_pu_back.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.