Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42235
Title: การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี
Other Titles: Research and development of a training package for developing creative problem solving of undergraduate students
Authors: มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: การแก้ปัญหา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Problem solving
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี 2)เพื่อพัฒนาแบบประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี 3)เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมในการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรีและศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 420 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและคำนวณดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการ โดยใช้สูตร PNI แบบปรับปรุง ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาแบบประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี ทดลองใช้กับนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 117 คน ทำการสร้าง พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ระยะที่ 3 การพัฒนาชุดฝึกอบรมในการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรีและศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี จำนวนทั้งสิ้น 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ชุดฝึกอบรมและแบบประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี พบว่าขั้นตอนในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีความต้องการจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือการค้นพบปัญหา รองลงมาคือการค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ ส่วนการวางแผนสำหรับดำเนินการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด 2. ผลการพัฒนาแบบประเมินการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีทั้งหมด 5 สถานการณ์ มุ่งวัด 6 ขั้นตอนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ส่วนผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือพบว่าความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.857 – 1.000 สำหรับผลการตรวจสอบความเที่ยงพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับมีค่า 0.911 (ผู้ตรวจท่านที่ 1) และ 0.900 (ผู้ตรวจท่านที่ 2) ส่วนผลการตรวจสอบความสอดคล้องของผู้ตรวจให้คะแนน 2 ท่าน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการให้คะแนนของผู้ตรวจทั้ง 2 ท่าน มีขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมากเป็นส่วนใหญ่ (0.800 ≤ r ≤ 1.000) 3. ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมทำให้ได้ชุดฝึกอบรมที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลัก ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อที่ใช้และการประเมินผล ส่วนผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมพบว่าการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคะแนนเฉลี่ยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมมีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to conduct a needs assessment for developing the creative problem solving of undergraduate students, 2) to develop a creative problem solving assessment form for undergraduate students, 3) to develop a training package for developing the creative problem solving of undergraduate students and study the results of using the training package. The research method was divided into three stages. The first stage was to conduct the needs assessment. The samples used in this study were the 420 undergraduate students. The research tool used was the needs assessment form. The researcher analyzed the data using the Priority Needs Index (PNI), modified format method. The second stage was the development of the creative problem solving assessment test which was tested with 117 undergraduate students. The third stage was the development of a training package and to study the results of using the training package. The research sample was 44 undergraduate students. The analytical method of this research consisted of a t-test using SPSS. The research findings were as follows: 1. The undergraduate students need to develop their creative problem solving mostly in the Problem Finding stage, followed by Idea Finding and Fact Finding stages, respectively. The Acceptance Finding stage in creative problem solving is the one that requires the least development. 2. The creative problem solving assessment form for undergraduate students had content validity (IOC) in the range of 0.857 – 1.000. The range of Cronbach’s Coefficient was 0.900 – 0.911. Correlation between the two persons used to check the test was at the high level. 3. The pretest and posttest results of the experimental group were significantly different at the level of 0.01. The posttest results between the experimental group and the control group were significantly different at the level of 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42235
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.162
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.162
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mingkhuan _ph.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.