Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42244
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี | - |
dc.contributor.author | ปนิดา นาจันทัด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | - |
dc.date.accessioned | 2014-04-28T07:31:27Z | - |
dc.date.available | 2014-04-28T07:31:27Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42244 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนผล/พวง ที่เหมาะสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊ค โอปอล์ ที่ทำให้ได้องุ่นที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในเรื่องของ ขนาด น้ำหนัก สี และความหวาน โดยทำการเก็บข้อมูลจากองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์ที่ไร่องุ่นพรมชน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเริ่มดำเนินการทดลองตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2553 – 20 มี.ค.2554 โดยใช้แผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ โดยมีตัวแปรตามเป็นคุณภาพของผลองุ่น ได้แก่ ขนาด น้ำหนัก ความหวาน และสีของผลองุ่น มีจำนวนผล/พวง เป็นปัจจัยทดลองทั้งหมด 4 วิธีทดลอง ได้แก่ การปลิดผลองุ่นทิ้งโดยให้เหลือจำนวนผลไว้ 60, 70, 80 และ 90 ผล/พวง ตามลำดับ และมีลักษณะพื้นที่เพาะปลูกเป็นปัจจัยแบ่งบล็อค ซึ่งแบ่งเป็นแปลงที่ราบ และแปลงที่ดอน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนหาความสัมพันธ์ของจำนวนผล/พวง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อขนาด น้ำหนัก และความหวานขององุ่น ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อพยากรณ์จำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อคุณภาพในด้านดังกล่าว ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับหาความสัมพันธ์ของจำนวนผล/พวง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อสี รวมถึงจำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อสีของผลองุ่น และจากการทดลองดังกล่าวพบว่า จำนวนผล/พวง ลักษณะพื้นที่เพาะปลูก และอิทธิพลร่วมระหว่างจำนวนผล/พวงและลักษณะพื้นที่เพาะปลูก มีความสัมพันธ์ต่อขนาด น้ำหนัก ความหวาน และสีของผลองุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่าในแปลงที่ราบ องุ่นจะให้ขนาด น้ำหนักและสี มากกว่าแปลงที่ดอน แต่พบว่าทั้ง 2 แปลงให้ความหวานไม่แตกต่างกัน และพบว่าจำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์ที่ทำให้ได้องุ่นที่มีคุณภาพดีมากที่สุด คือ 60 ผล/พวง และสามารถพยากรณ์ได้ว่า ขนาด น้ำหนัก สี และความหวานขององุ่นจะแปรผกผันกับจำนวนผล/พวง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to investigate the number of Black Opal seedless grapes per cluster which contained the optimal size, weight, color, and sweetness. The experiment was conducted for this study. The information of the Black Opal seedless grapes was collected from Promchon Vineyard, Pak Chong, Nakhonratchasima. The experiment was conducted from the 20th October 2011 to 20th March 2012 and was designed by using the Randomized Complete Block Design (RCBD) which has 4 response variables base on the quality of grapes i.e. size, weight, sweetness and color. The results of this experiment came from 4 treatments as the followings; picking off the grapes until there have 60, 70, 80, and 90 grapes respectively and 2 blocking factors are the cultivation area: flatland and upland areas. Three statistical methods that have used in this research are Analysis of Variance (ANOVA), Multiple Regression and Ordered Logistic Regression. Firstly, ANOVA was used to study the relationship among size, weight and sweetness. Secondly, multiple regression analysis was used to predict size, weight and sweetness. Finally, Ordered logistic regression analysis was used to study relationship among the colors and predict the color of the new grapes. The results show that the number of grapes per cluster, the cultivation area and the interaction are able to determine the effect of the size, weight, sweetness and color of the grapes. It is also found that the flatland areas produced more grapes, size, weight and color than the upland areas however the sweetness is found conformable. Furthermore the suitable number of grapes in a cluster which will give the best quality of grapes is 60 grapes per cluster. The size, weight color (darkness) and the sweetness are inversely proportional to the number of grapes per cluster. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.906 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | องุ่น -- การปลูก | en_US |
dc.subject | Grapes -- Planting | en_US |
dc.title | จำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อพวงสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์ | en_US |
dc.title.alternative | The optimal number of berries per cluster for the black opal seedless grapes | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถิติ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Anupap.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.906 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
panida_na.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.