Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42247
Title: การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี
Other Titles: The development of a digital storytelling design model using concept map on blog to enhance creative thinking of undergraduate students
Authors: พลวัฒน์ ธนะจันทร์
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: noawanit_s@hotmail.com
Subjects: การเล่าเรื่อง
ความคิดรวบยอด
บล็อก
ความคิดสร้างสรรค์
Narration ‪(Rhetoric)
Concepts
Blogs
Creative thinking
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการออกแบบ การเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ฯ กลุ่มตัวอย่างได้ แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล ด้านการเรียนการสอนโดยใช้ผังมโนทัศน์ ด้านการเรียนการสอนบนบล็อก ด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 12 ท่าน และผู้เรียนกลุ่มทดลองคือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน และ บล็อกการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ค่าสถิติทดสอบค่า (t-test ) ผลการวิจัย1. รูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ1) แรงจูงใจ 2) วัตถุประสงค์การเรียน 3) เนื้อหา 4) ประสบการณ์ผู้เรียน 5) กิจกรรมการเรียน 6) การประเมินผล และมีขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมผู้เรียน 2) การวิเคราะห์ 3) การระดมความคิด 4) การสร้างและปรับปรุงผลงาน 5) การนำเสนอผลงาน 6) การประเมินผล 7) การเผยแพร่ผลงาน ผลจากการศึกษารูปแบบการออกแบบการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลโดยใช้ผังมโนทัศน์บนบล็อกเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ฯ พบว่านักศึกษามีระดับความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were : 1) To examine the opinions of experts on the development of a digital storytelling design model using concept map on blog to enhance creative thinking 2) To develop a digital storytelling design model using concept map on blog to enhance creative thinking 3) To study the result of using the development of a digital storytelling design model using concept map on blog to enhance creative thinking 4) To present the development of a digital storytelling design model using concept map on blog for enhancing creative thinking, The subjects consisted of twelve specialist in digital storytelling, concept map, blog and creative thinking and for the experimental group, 30 students in undergraduate, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi in Business Information Technology. Instruments in this research consisted of creative test, Specialist interview form, attitude questionnaire, blog. The data were analyzed by average, standard deviation, and t-test. The results of this study revealed that: 1) The specialists of a digital storytelling to enhance creative thinking consisted of six element and seven steps. Elements 1) motivation 2) objectives 3) contents 4) experience 5) activities 6) evaluations and seven steps 1) preparing students 2) analyze 3) brainstorm 4) creation and improvement 5) presentation 6) evaluation 7) publicity 2) T-test comparison of posttest scores higher pretest scores statistical significant difference .05 level of creative abilities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42247
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.909
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.909
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phollawat _th.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.