Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42348
Title: การปรับปรุงกระบวนการจัดการวัสดุในโรงงานรับจ้างผลิตเสื้อสูทสำเร็จรูป
Other Titles: Improvement of material management process in an outsourced ready-to-wear suit factory
Authors: สุนิษา ทรัพย์ประเสริฐ
Advisors: นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: naragain.p@chula.ac.th
Subjects: สินค้าคงคลัง -- การจัดการ
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป -- สินค้าคงคลัง
Inventories -- Management
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการวัสดุในโรงงานรับจ้างผลิตเสื้อสูทสำเร็จรูปให้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถส่งวัตถุดิบไปทำการผลิตได้ทันตามใบสั่งผลิตที่กำหนดและมีระดับคงคลังที่เหมาะสม ปัจจุบันโรงงานกรณีศึกษาเกิดปัญหาคือ ไม่สามารถจัดเตรียมวัตถุดิบได้ทันตามใบสั่งผลิตที่กำหนดเป็นจำนวนร้อยละ 30.51 ของจำนวนใบสั่งผลิตทั้งหมด โดยการจัดการวัสดุได้แบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภทคือ 1)วัตถุดิบหลัก โดยลูกค้าเป็นผู้จัดเตรียม 2)วัตถุดิบรอง ทางโรงงานเป็นผู้จัดเตรียมเพื่อทำการผลิตเอง งานวิจัยนำเสนอแนวทางการปรับปรุงโดยการออกแบบมาตรฐานการทำงานใหม่และออกระบบเตือนที่ระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับออกใบสั่งวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภท นอกจากนี้ได้ศึกษาเลือกเทคนิคพยากรณ์ที่เหมาะสมและนำเสนอนโยบายการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้กับวัตถุดิบรองโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามความสำคัญของวัตถุดิบคงคลัง ประกอบด้วย กลุ่ม A กำหนดระดับความเชื่อมั่นการบริการอยู่ที่ร้อยละ 95 จะใช้นโยบายระบบช่วงสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อและระดับสั่งซื้อ โดยทำการตรวจสอบทุกๆ 7 วัน สำหรับกลุ่ม B กำหนดระดับความเชื่อมั่นการบริการอยู่ที่ร้อยละ 85 จะใช้นโยบายระบบช่วงสั่งซื้อและระดับการสั่งซื้อ โดยทำการตรวจสอบทุกๆ 30 วัน และประเภทสุดท้ายคือกลุ่มที่มีอุปสงค์ไม่คงที่จึงไม่สามารถพยากรณ์ความต้องการได้ จะทำการสั่งซื้อก็ต่อเมื่อมีความต้องการตามปริมาณที่ใช้จริง ผู้วิจัยได้นำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้จริงเพื่อทดสอบและเปรียบเทียบผลกับการทำงานปัจจุบัน ผลการทดสอบ พบว่าจำนวนใบสั่งผลิตที่จัดเตรียมไม่ทันหลังการปรับปรุงลดลงกว่าร้อยละ 80 และมูลค่าสินค้าคงคลังต่อปีลดลงร้อยละ 38.83 รวมถึงต้นทุนรวมต่อปีของสินค้าคงคลังทั้งหมดลดลงกว่าร้อยละ 44.08
Other Abstract: The objective of this thesis is to improve the material management process in an outsourced ready-to-wear suit factory so that it can deliver raw materials to the production process according to given production orders with appropriate inventory levels. Currently, the case-study factory has material preparation process problem, 30.51% of the total orders are delayed due to materials delays. The current material management divides responsible raw materials into two categories, 1) Direct raw materials provided by customers and 2) Indirect raw materials supplied by the factory for production. This thesis proposes an improvement method by designing new work process and warning systems to identify appropriate times to issue material orders for the two categories. In addition we propose forecasting methods and identify inventory control policy for indirect materials which are divided into 3 types according to their importance. We propose 7-day (R, s, S) policy with a service level of 95% for product type A (the most important group). We propose 30-day (R, S) policy with a service level of 85% for product type B (less important group). Finally, product type C with irregular unpredictable demand is proposed to be ordered only if they are in needed. We apply above policies in our case-study factory. The results show that the number of delayed work orders can be reduced by 80% as compared to the previous situation. Also, the value of annual inventory can be reduced by 38.83% and the total annual inventory cost can be reduced by 44.08%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42348
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.979
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.979
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sunisa _Sa.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.