Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42353
Title: | ผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองแพร่ |
Other Titles: | Impacts of floods on built-up areas and infrastructure in phrae city |
Authors: | ธิดารัตน์ คำคง |
Advisors: | ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | siriwan.r@chula.ac.th |
Subjects: | อุทกภัย -- ไทย -- แพร่ การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- แพร่ Floods -- Thailand -- Phrae Land settlement -- Thailand -- Phrae |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เมืองแพร่มีความสำคัญในการเป็นเมืองโบราณอายุกว่า 1,200 ปี ที่ยังคงรักษาองค์ประกอบของเมืองโบราณไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การค้าและการบริการ ระดับจังหวัด ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขยายตัวของเมืองไปยังพื้นที่เกษตรซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำ เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยส่งผลให้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น วัตถุประสงค์ในการศึกษามีดังนี้ 1)ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองแพร่ 2)ศึกษาสถานการณ์ ลักษณะของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา และสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเมืองแพร่ 3)วิเคราะห์ระดับความรุนแรงของผลกระทบจากอุทกภัยที่มีผลต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองแพร่ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนน้ำท่า การใช้แบบจำลอง Nays2D Flood ในการศึกษาสถานการณ์การเกิดอุทกภัย เพื่อให้ทราบถึงขอบเขต ระดับความลึก รวมถึงระยะเวลาของการท่วมขัง ผลของการศึกษาพบว่าการเกิดอุทกภัยมีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกเขตเมือง ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำทำให้น้ำจากพื้นที่ต้นน้ำไหลลงมารวมกับปริมาณน้ำในพื้นที่เขตเมืองจนเกิดการเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เมืองการขยายตัวของเมืองเข้าไปรุกล้ำพื้นที่รับน้ำและคูคลอง รวมถึงการสร้างถนนขวางกั้นทางระบายน้ำ จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. 2538 พบว่าที่ระดับน้ำท่วมน้อย(0.01-0.50 ม.) มี 3 ชุมชน ที่ระดับน้ำท่วมปานกลาง(0.51-1.50 ม.) มี 6 ชุมชน และที่ระดับน้ำท่วมมาก(1.50 ม.ขึ้นไป) มี 9 ชุมชน ทั้งนี้ระดับความลึกจะเพิ่มขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศที่ลาดเทจากทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำยมทางทิศตะวันตกของเมือง พื้นที่ที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างมาก คือ พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมบริเวณวัดศรีชุม ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย พื้นที่ที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างจากการท่วมขังเป็นเวลานาน คือ พื้นที่ภายในกำแพงเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันราชการ สถาบันการศึกษา และศาสนสถานที่สำคัญ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลต่อการขนย้ายทรัพย์สินและการอพยพ คือ พื้นที่โดยรอบแนวกำแพงเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและพื้นที่เศรษฐกิจหลักของเมือง การศึกษายังพบอีกว่า ลักษณะสิ่งปลูกสร้างที่มีการยกใต้ถุนสูงหรือมีมากกว่าหนึ่งชั้นจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าสิ่งปลูกสร้างชั้นเดียว และสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างด้วยไม้จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้น การลดผลกระทบควรกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งถิ่นฐาน หรือมีมาตรการในการสร้างอาคารให้มีการยกใต้ถุนสูง การสร้างถนนต้องไม่ขวางการไหลของน้ำ และควรอนุรักษ์ระบบระบายน้ำธรรมชาติ เป็นต้น |
Other Abstract: | Established for more than 1,200 years, Phrae city not only preserves its characteristics as an old city but is also the governmental, commercial and service center of the province. The infrastructural development and the urban expansion into the agricultural areas which serve as floodway lead to more severe floods. The objectives of this study were to 1) examine the city’s geographical features, structure and physical elements, 2) investigate the floods in the studied areas, the occurrence of the floods and their causes, and 3) analyze the severity of floods and their impacts on the built-up areas and the infrastructure in Phrae city. The methodology covered the analysis of the amount of rainfall and the amount of runoff by using Nays2D Flood program, which reproduced floods. Then the floods were analyzed to find out their extent, the water level and the duration of the inundation. It was found that both the internal and the external factors caused the floods. The external factors included the encroachment of the forested watershed areas, causing the water from the watershed to flow into the city’s rivers. This overflowed the city. The city expansion into the floodway and canals, and the road construction obstructing the drainage were internal factors According to the findings obtained from the study of 1995 floods, three communities were flooded a little (the water level from 0.01 to 0.50 meter).Six communities were moderately flooded (the water level from 0.51 to 1.50 meters).Nine communities were heavily flooded (the water level over 1.50 meters).The depth of the water increased according to the slope of the area from the east along the Yom River to the west of the city. The area which was severely damaged was that around Sri Chum Temple on the Yom River but this area was sparsely inhabited. The area which was inundated for a long period of time was the inner city area where government offices, schools, temples and important places are situated. The affected area where the water level increased so quickly that property relocation and evacuation posed problems was the area to the east of the city wall. This area is densely populated and more business activities are carried out here than anywhere else. It was also found that a building which was built on high stilts or which had more than one floor was less affected than one-story building. In addition, a wooden building was the least affected. To reduce the impacts of the floods, flood-prone areas should be determined so that nobody can settle down there or some measures should be set up so a newly-constructed building has to be built on high stilts, road construction must not obstruct the water flow and natural floodway and drainage have to be preserved. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42353 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.983 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.983 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thidarat _Ko.pdf | 28.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.