Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิเชฐ สัมปทานุกุล-
dc.contributor.authorวัลลา ฟองชัยญา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-06-23T03:28:00Z-
dc.date.available2015-06-23T03:28:00Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42401-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractที่มาและปัญหา: ยีนGSTP1 ผลิตเอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารคะตะลิสส์ในกระบวนการกำจัดสารพิษออกจากเซลล์ การเกิดเมทิลเลชั่นและไม่แสดงโปรตีนของยีนนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับการตอบสนองการใช้ยากลุ่มแทกเซนในมะเร็งเต้านม แต่ผลการตรวจเมทิลเลชั่นด้วยเทคนิค Methylation Specific PCR ของงานวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่ามีตัวอย่างบางรายที่ให้ผลไม่สอดคล้องกับผลการแสดงออกเป็นโปรตีนของเซลล์มะเร็ง วัตถุประสงค์: เพื่อใช้เทคนิคการตรวจลำดับเบสหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆกับการแสดงหรือไม่แสดงออกเป็นโปรตีนของยีน GSTP1 ในมะเร็งเต้านม วิธีการทดลอง: ใช้เทคนิคการตรวจลำดับเบส (Bisulfite sequencing technique) ศึกษาภาวะเมทิลเลชั่นในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมจำนวน 46 รายที่มีผลการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีด้วยแอนติบอดี GSTP1 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆกับผลของโปรตีน ผลการทดลอง: การพบเมทิลเลชั่นซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน ทำให้จำแนกผลการทดสอบได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่พบเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งใด 17 รายซึ่งควรสอดคล้องกับการมีโปรตีน พบว่ามี 13 รายสอดคล้องและ4 รายไม่สอดคล้อง 2) กลุ่มที่พบซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นจำนวน 1-4 ตำแหน่ง มี 14 ราย ซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน พบว่ามี 5 รายให้ผลสอดคล้อง และ 9 รายไม่สอดคล้อง และ 3) กลุ่มที่พบซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นจำนวนมากกว่า 4 ตำแหน่ง มี 15 ราย ซึ่งควรสอดคล้องกับการไม่มีโปรตีน พบว่า 13 รายสอดคล้อง และ 2 รายไม่สอดคล้อง การวิเคราะห์ผลพบความสัมพันธ์ของจำนวนซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นกับการไม่แสดงออกเป็นโปรตีนมีนัยสำคัญ (p <0.01) และการวิเคราะห์ตำแหน่งของซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่น พบ 12 ตำแหน่งที่มีผลต่อการไม่แสดงออกเป็นโปรตีน ได้แก่ ตำแหน่งที่ 3, 6, 10-13, 19-22, 25 และ 28 ในทางกลับกัน พบ 6 ตำแหน่ง ที่ไม่มีผลต่อการไม่แสดงออกเป็นโปรตีน ได้แก่ ตำแหน่งที่ 8, 16, 24, 26, 30 และ 33 สรุปผลการทดลอง: การไม่แสดงออกเป็นโปรตีนของยีน GSTP1 ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเกิดดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นบนโปรโมเตอร์ของยีน อย่างไรก็ตาม การไม่แสดงออกของโปรตีนที่เกิดเมทิลเลชั่นยังมีปัจจัยที่มีผลคือจำนวนซีพีจีและตำแหน่งซีพีจีที่เกิดเมทิลเลชั่นนั้น การออกแบบไพรเมอร์เพื่อใช้ตรวจดีเอ็นเอเมทิลเลชั่นจึงควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeBackground:GSTP1 gene encodes a catalyst enzyme helping conjugating and getting rid of cellular toxic substances. DNA methylation resulting in absence of the protein is associated with response to Taxane treatment of breast cancers. However, some discordant cases occurred in the previous study using Methylation Specific PCR technique. Objective: To use genomic sequencing method investigated the impact of location specific of CpG methylation on the expression of protein. Material and methods: Bisulfite sequencing technique was employed for the 46 breast cancer specimens with known GSTP1 results by immunohistochemistry. Analyses were made between CpG location specific methylations and the protein results. Results: The methylations should correlate with non-expression of protein; three groups were classified accordingly. There were 1) the group of 17 cases with no methylcytosine in all CpG sites (13 concordant cases were positive while 4 discordant cases negative for proteins), 2) the group of 14 cases with 1-4 methylcytosines (5 concordant cases and 9 discordant cases were negative and positive for protein respectively), and 3) the group of 15 samples with methylcytosines more than 4 sites (13 concordant for negative protein and 2 cases of discordance). The three categories were statistically different (p <0.01). Regarding location impact, the methylation at CpG sites no. 3, 6, 10-13, 19-22, 25, and 28 had negative immunohistochemistry. On contrary, the methylation at CpG sites no. 8, 16, 24, 26, 30 and 33 showed no effect on protein expression. Conclusion: Most cases of non-expression of protein are related to DNA methylation on the promoter region of the GSTP1 gene. However, the impacts of number and location specific of methylated CpG exist. Therefore, these two factors should be considered in primer design for detection of DNA methylation of this gene.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1012-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเมทิลเลชันen_US
dc.subjectเต้านม -- มะเร็งen_US
dc.subjectอิมมูโนฮีสโตเคมีen_US
dc.subjectการแสดงออกของยีนen_US
dc.subjectMethylationen_US
dc.subjectBreast -- Canceren_US
dc.subjectImmunohistochemistryen_US
dc.subjectGene expressionen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดเมทิลเลชั่นที่ตำแหน่งต่างๆด้วยวิธีการตรวจลำดับเบสและการแสดงออกเป็นโปรตีนด้วยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีในยีนกลูต้าไธโอนเอสทรานเฟอร์เรสชนิด พี1 ในมะเร็งเต้านมen_US
dc.title.alternativeImpact of the location of CpG methylation within the GSTP1 gene on protein expression of breast canceren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpichet@md.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1012-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
valla _Fo.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.