Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42403
Title: | การลดของเสียประเภทรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตผ้าไม่ทอ |
Other Titles: | Appearance defective reduction in nonwoven process |
Authors: | วรพจน์ รอดรักษา |
Advisors: | วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wipawee.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ผ้าไม่ทอ ของเสียจากโรงงาน การลดปริมาณของเสีย Nonwoven fabrics Factory and trade waste Waste minimization |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้ เพื่อลดของเสียประเภทรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตผ้าไม่ทอ ซึ่งผู้วิจัยพบว่าของเสียประเภทนี้มักเกิดขึ้นจากกระบวนการปั่นเส้นใย การระดมสมองซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งทำให้พบว่ามีพารามิเตอร์ 4 ชนิดในกระบวนการปั่นเส้นใย ได้แก่ แรงดันในห้องปั่นเส้นใย (Cabin Pressure), อุณหภูมิดาย (Die Temperarure), อุณหภูมิลมทำความเย็น (Cooling Pressure) และความเร็วลมดูดเส้นใย (Suction Speed) ที่อาจส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อของเสียประเภทรูปลักษณ์ภายนอก ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการออกแบบเศษส่วนเชิงแฟคทอเรียล เพื่อคัดกรองปัจจัยและใช้การออกแบบการทดลองแบบพื้นผิวตอบ เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่ทำให้ของเสียดังกล่าวลดลงน้อยที่สุด ผลของการคัดกรองปัจจัย ผู้วิจัยพบว่ามีเพียง 3 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว และผลจากการออกแบบการทดลองพื้นผิวตอบ ทำให้พบว่าควรกำหนดค่าพารามิเตอร์ของแรงดันในห้องปั่นเส้นใย(Cabin Pressure) ไว้ที่ 2660.60 ปาสคาล (Pascal), กำหนด อุณหภูมิดาย (Die Temperature) ไว้ที่ 219.85 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิลมทำความเย็น (Cooling Pressure) ไว้ที่ 29.73 องศาเซลเซียส ซึ่งหลังทำการยืนยันผลการทดลองและทำให้พบว่าสามารถลดของเสียประเภทรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ จากเดิมร้อยละ 1.54 เหลือเพียงร้อยละ 0.90 จากยอดการผลิตทั้งหมด หรือสามารถลดของเสียลงได้ร้อยละ 42 |
Other Abstract: | The objective of this paper is to reduce defectives due to their appearance in a nonwoven production process. It is found that this type of defect normally occurs at a spinning process. A brainstorming process as well as knowledge from previous works are used to determine root causes, which include 4 parameter settings within a spinning machine - cabin pressure, die temperature, cooling temperature and suction speed. We used 2k-1 factorial design to screen parameters and Box-Behnken design to fine-tune the parameters. The result of 2k-1 factorial design, found that only 3 parameter settings are the major causes of the problem. And the result of Box-Behnken design, cooling pressure should be set at 2660.60 Pa, die temperature should be set at 219.85 degree Celsius, and cooling temperature should be set at 29.73 degree Celsius. After implementing this solution in manufacturing, it reduces the appearance defect from 1.54% to 0.90%, which equals to 42% improvement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42403 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1013 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1013 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
worapot _Ro.pdf | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.