Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42587
Title: การวิเคราะห์ดัชนีการใช้พลังงานต่อผลผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย
Other Titles: ANALYSIS OF SPECIFIC ENERGY CONSUMPTION IN STEEL INDUSTRY OF THAILAND
Authors: คมสัน ตันติชูเกียรติ
Advisors: จิตติน แตงเที่ยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: qed690@yahoo.com
Subjects: เหล็ก
เหล็ก -- การใช้เชื้อเพลิง
เหล็ก -- การผลิต
อุตสาหกรรมเหล็กกล้า -- ไทย
อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก -- ไทย
Iron
Iron -- Fuel consumption
Steel industry and trade -- Thailand
Iron ore smelting industry -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย หากแบ่งประเภทโดยอาศัยชนิดผลิตภัณฑ์และกระบวนการหรือที่มาของผลิตภัณฑ์จะแบ่งได้เป็น 15 กระบวนการผลิต โดยในปัจจุบันการผลิตจะเริ่มที่กระบวนการผลิตเหล็กขั้นกลาง พลังงานที่ใช้ในการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กถือว่ามีปริมาณการใช้พลังงานมากเป็นอันดับต้นๆ ของพลังงานรวมทั้งประเทศ แต่ข้อมูลดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะบอกว่าพลังงานจำนวนมากนี้มีประสิทธิผลมากหรือน้อยเพียงใด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ดัชนีมาชี้วัดถึงประสิทธิผลของการใช้พลังงาน โดยดัชนีที่เลือกในงานวิจัยนี้ คือ ค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อผลผลิต (SEC) โดย วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ เพื่อประมาณค่าดัชนีการใช้พลังงานต่อผลผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กทั้ง 15 กระบวนการ ประจำปีพ.ศ.2548-2553 โดยใช้ข้อมูลต่างๆ จากแบบสอบถามที่ส่งไปและได้รับกลับมาจากผู้ประกอบการ ผลการประมาณด้วยข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่าค่า SEC เฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง โดยกลุ่มผู้ผลิตที่มีเตาหลอม EAF ได้แก่กระบวนการที่ 1 3 5 และ 7 มีค่า SEC มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น มีค่า SEC น้อยที่สุด นอกจากนี้ผลจากแบบสอบถามยังแสดงการประมาณค่า SEC แยกตามกระบวนการผลิต ได้แก่ กระบวนการหลอมด้วยเตาหลอม EAF กระบวนการอบร้อน กระบวนการรีดร้อน กระบวนการขึ้นรูปเย็น และกระบวนการเคลือบผิว ผลการประมาณด้วยข้อมูลจากแบบสอบถามเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อทำให้ผลดังกล่าวน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นจึงต้องหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาเปรียบเทียบ ข้อมูลดังกล่าวคือค่าการใช้พลังงานต่อผลผลิตในทางทฤษฎีของแต่ละกระบวนการ ทำให้เห็นถึงโอกาสหรือศักยภาพในการลดการใช้พลังงานในการผลิตของกระบวนการที่พิจารณา 4 กระบวนการหลัก ได้แก่ กระบวนการหลอมด้วยเตาหลอมแบบ EAF กระบวนการอบร้อน กระบวนการรีด และกระบวนการเคลือบผิว จากผลการประมาณทำให้ทราบว่ากระบวนการหลอมและกระบวนการอบร้อนมีค่าการใช้พลังงานมากกว่ากระบวนการอื่นๆ มาก ดังนั้น วิทยานิพนธ์นี้ จึงได้นำเสนอแนวทางหรือวิธีการในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งสำหรับกระบวนการหลอม จะเลือกวิธีการอุ่นเศษเหล็กก่อนเข้าสู่เตาหลอม จากการคำนวณโดยแบบจำลองที่สร้างขึ้นได้ว่า เศษเหล็กทรงกลมขนาด 0.05 เมตร ถูกอุ่นในภาชนะขนาดสูง 2 เมตร กว้างและยาว 3.5 เมตร ด้วยไอเสียขาเข้าที่มีอุณหภูมิคงที่ 1,500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 50 นาที สามารถอุ่นให้เศษเหล็กมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 757 องศาเซลเซียส และเมื่อปรับปรุงแบบจำลองโดยใช้ภาชนะอุ่นขนาด สูง 1 เมตร กว้างและยาว 5 เมตร ด้วยเงื่อนไขไอเสียแบบเดิม พบว่า อุ่นให้เศษเหล็กมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 1,134 องศาเซลเซียส และสำหรับการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการอบร้อน จะใช้วิธีเปลี่ยนประสิทธิภาพของ Recuperator เพื่อดูว่าส่งผลต่อการบริโภคเชื้อเพลิงและลดการใช้พลังงานเช่นไร ซึ่งจากการวิเคราะห์โดยสมดุลมวลและพลังงาน พบว่า เมื่อใช้ Recuperator ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การบริโภคเชื้อเพลิงและการใช้พลังงานจะลดลง
Other Abstract: Steel industry has long been one of the most energy consumed businesses despite the fact that the effectiveness of the energy consumption is still debatable. Therefore, the use of index to indicate the efficacy is necessarily critical that is the Specific Energy Consumption (SEC). Generally, the steel industry in Thailand can be classified by their methods and products into 15 types. The results from solid query show that the SECs tend to decrease most of all processes. The production type 1 3 5 and 7 which produce by EAF furnace have more the SEC value than others. On the other hand, Cold formed production has the least of this value. What more the estimated results classified by process, steel melting, reheating, hot rolling, cold forming and coating are also shown. The estimates with data from the questionnaires alone may not be reliable. To make it even more reliable, the data need reliable for the comparison. Such is the theoretical value of each process. The result of comparison will see the chance or the potential to reduce energy consumption in the production for the four main processes include melting process with an EAF furnace, reheating, hot rolling process and coating The energy estimated show that the process of melting by EAF furnace and reheating are consumes more energy than other processes. Therefore, this thesis will propose guidelines or procedures for developing and improving energy efficiency. For the melting by EAF choose a procedure of the preheating scrap before melting process in the furnace. From the calculated by the physical model (preheating model), the spherical scraps having diameter 0.05 meter was heated in a container 2 meters height and 3.5 meters for width and length by the exhaust gases. The inlet temperature of exhaust gases is fixed at 1,500°C and preheated for 50 minutes. The results of preheating show that, the scraps is heated to the average temperatures about 757°C and then recalculated for the new container size with 1 meter height and 5 meters for width and length with the same initial conditions. The results show that the scrap was heated up to the average temperatures about 1,134°C. Whereas the improvement and development of reheating process for this thesis will proposes the method of changing the performance of Recuperator and observe an influence of Recuperator’s performances to the fuel consumptions. By the analysis of mass and energy balances, if the performance is increase, the energy use will be decrease.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42587
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.67
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.67
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370209021.pdf8.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.