Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42642
Title: AN ANALYSIS OF UNCERTAINTY IN INVENTORY OF PETROLEUM PRODUCTS
Other Titles: การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลัง
Authors: Weerawich Roekchamnong
Advisors: Pongsa Pornchaiwiseskul
Anant Chiarawongse
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: pongsa.p@chula.ac.th
anant@cbs.chula.ac.th
Subjects: Petroleum
ปิโตรเลียม
น้ำมันเชื้อเพลิง
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This dissertation studies the relationship between uncertainties and inventory management in the context of Thai’s petroleum market. The main objective of the study is to examine the effects of interested factors on inventory management, defined as an inventory to sale ratio; and on uncertainty in inventory management of petroleum products related to transportation purpose, including Gasohol (GSH), Unleaded Gasoline (ULG), and High Speed Diesel (HSD). The factors of interests include uncertainties in ex-refinery price, oil fund, futures price, and marketing margin. The analysis of the dissertation is divided into two parts regarding the factors being studied. The first part of this dissertation examines (i) the relationship between uncertainty and inventory management and (ii) the impacts of uncertainties in ex-refinery price, oil funds, and futures price on uncertainty in inventory management, measured as a conditional variance of the IS ratio. A Generalized Autoregressive Conditional Heteroskedasticity in Mean (GARCH-M) framework is employed and fitted with the monthly data from January 2008 to June 2013. The results indicated that uncertainty induces businesses to hold more of the IS ratio than required as expected. The sensitivity analysis reported that uncertainty in ex-refinery price contributes mostly to the uncertainty in inventory management, while the impact of uncertainty in the oil fund on uncertainty in inventory management is relatively small. Interestingly, the result indicated that uncertainty in futures price can help mitigate uncertainty in inventory management and give support to the existence of the futures market. The second part employs a system of simultaneous GARCH-M equations for inventory management and marketing margin to investigate how marketing margin and its uncertainty affect inventory management. The interrelationship of inventory management and marketing margin is incorporated into the analysis of uncertainties. Using weekly data, the results suggested positive interrelationships between inventory and marketing margin in general cases of GSH and HSD. For ULG, the interrelationship is reported to be negative and is expected to be as a result of the government promotion on the usage of GSH. Shocks in marketing margin positively affect uncertainty in inventory management that, in turn, gives rise to inventory holding. The effects of uncertainty in marketing margin on inventory management are found to be positive for ULG and HSD and negative for GSH. The policy implications involve the control of marketing margin within bands that required a periodic adjustment of taxes and/or oil funds. The model framework in this study allows for estimation of the uncertainty that helps the businesses to more efficiently manage and plan their inventory accordingly. The results of this study contribute to a better understanding of petroleum product inventory behavior in Thailand and also have implications for uncertainty management of oil.
Other Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังโดยประยุกต์ใช้ตัวแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์และการเงินเพื่ออธิบายพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังวิเคราะห์ร่วมกับตัวแปรต่างๆ วัตถุประสงค์ของงานศึกษาคือ การพิจารณาผลกระทบของความไม่แน่นอนของราคาหน้าโรงกลั่น ค่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาฟิวเจอร์ส และค่าการตลาด ต่อการบริหารและความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังที่เกี่ยวกับการบริโภคเพื่อการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ เบนซิน และดีเซลหมุนเร็ว การวิเคราะห์ของวิทยานิพนธ์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักตามคุณลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา การวิเคราะห์ในส่วนแรก ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของการบริหารระดับน้ำมันสำเร็จรูปจากตัวแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่สามารถใช้อธิบายผลกระทบของความไม่แน่นอนของตัวแปรตลาดได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ค่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาฟิวเจอร์ส ต่อความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลัง ไปพร้อมกับการวิเคราะห์ผลกระทบของความไม่แน่นอนต่อการบริหารระดับน้ำมันคงคลัง ผลลัพธ์จากการใช้แบบจำลองกับข้อมูลรายเดือนของน้ำมันสำเร็จรูป พบว่า ความไม่แน่นอนของราคาหน้าโรงกลั่นและค่ากองทุนน้ำมันมีผลทำให้ระดับน้ำมันคงคลังมีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ความไม่แน่นอนของราคาฟิวเจอร์สส่งผลให้ความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันคงคลังลดลง ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนดังกล่าวยังส่งผลให้ผู้ประกอบการเพิ่มระดับการเก็บน้ำมันคงคลังมากขึ้นอีกด้วย การวิเคราะห์ความอ่อนไหวโดยใช้ข้อมูลความไม่แน่นอนที่ประมาณการจากแบบจำลองพบว่า ความไม่แน่นอนของราคาหน้าโรงกลั่นมีผลต่อความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันคงคลังมากที่สุด ในขณะที่ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของค่ากองทุนน้ำมันต่อความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันคงคลังนั้นน้อยกว่ามาก การวิเคราะห์ในส่วนที่สอง ผู้วิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความไม่แน่นอนต่อการบริหารจัดการน้ำมันคงคลังโดยได้นำแนวคิดที่ว่าการตัดสินใจทางธุรกิจเกี่ยวกับระดับน้ำมันคงคลังและระดับค่าการตลาดนั้นกระทำไปในเวลาที่พร้อมกันเข้าไปรวมในแบบจำลอง และได้จำลองค่าความไม่แน่นอนของค่าการตลาดเข้าไปในโครงสร้างของแบบจำลองแบบพร้อมกันอีกด้วย ผลลัพธ์จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองกับข้อมูลน้ำมันสำเร็จรูปพบว่า ระดับน้ำมันคงคลังและค่าการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงบวกสำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันคงคลังส่งผลให้ธุรกิจเพิ่มระดับการจัดเก็บน้ำมันทุกประเภทที่ศึกษา นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของค่าการตลาดยังส่งผลให้ธุรกิจเพิ่มระดับการจัดเก็บน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็วคงคลัง ผลลัพธ์จากแบบจำลองและการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนช่วยระบุตัวแปรที่สามารถช่วยลดความไม่แน่นอนของระดับน้ำมันสำเร็จรูปคงคลัง อีกทั้งยังช่วยให้สามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล ส่งผลให้การบริหารจัดการและการวางแผนการผลิตมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุน และเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Logistics Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42642
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.118
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.118
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387810020.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.