Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42691
Title: EFFECTS OF IFN-λ3 ON SUBCELLULAR PROTEOME IN HEPATITIS B VIRUS-TRANSFECTED CELLS
Other Titles: ผลของอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามต่อซับเซลลูลาร์โปรติโอมในเซลล์ที่ถูกทรานสเฟคด้วยไวรัสตับอักเสบบี
Authors: Jiradej Makjaroen
Advisors: Nattiya Hirankarn
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: nattiyap@gmail.com
Subjects: Hepatitis B virus
Antiviral agents
Cytokines
Gene expression
ไวรัสตับอักเสบบี
สารต้านไวรัส
ไซโตไคน
การแสดงออกของยีน
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Chronic HBV infection can develop severe and mortal liver diseases such as cirrhosis and hepatocellular carcinoma (HCC) causing 600,000 deaths annually. The current anti-HBV treatments have some limitations. Therefore, the novel drugs overcoming these restrictions are still needed. Interferon-λ (IFN-λ) is a cytokine with activities like type I IFN but it has less unfavorable side effects than IFN-α because of the restriction of its receptor expression. With these reasons, IFN-λ might be a novel drug for treating patients with CHB. In this study, we demonstrated that IFN-λ3, the most potent subtypes, could induce the expression of ISGs and suppress HBV replication and HBV gene expression in a dose-dependent manner in HBV-transfected HepG2.2.15 cells. Surprisingly, the potency of IFN-λ3 were higher than peg-IFN-α2b which is the drug that treat the patients with CHB in current. To investigate the molecular mechanism of IFN-λ3, proteomics together with subcellular fractionation which is the method enriching low-abundant proteins were performed to compare the global proteome responses between HepG2.2.15 and HepG2.2.15 treated with IFN-λ3. All three subcellular extracts were assessed their purity by western blot and the result indicated that proteins of each fraction were quite pure. The proteins of three fractions from HepG2.2.15 before and after IFN-λ3 treatment were separated by 2-DE and the differentially expressed proteins were subsequently identified by mass spectrometer. A total of 69 differentially expressed proteins were successfully identified in HepG2.2.15 treated with IFN-λ3. These proteins were involved in proteolysis pathway, cell proliferation, heat shock proteins, etc. We selected some important proteins to confirm their expression by WB e.g, 14-3-3, proteasome and calreticulin. Based on our results, we proposed that IFN-λ3 exhibited both antiviral and immunomodulatory effects to control HBV infection. Therefore, IFN-λ3 is an attractive novel candidate for CHB treatment and the altered proteins might be new therapeutic target in CHB infection. However, further studies on IFN-λ3 itself and the functional studies of altered proteins are needed.
Other Abstract: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังสัมพันธ์กับการเกิดโรคตับที่รุนแรง เช่นตับแข็ง และมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 600,000 คนในแต่ละปี ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังยังคงมีข้อจำกัดในการใช้ ดังนั้นยาที่สามารถเอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ได้ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ อินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาเป็นไซโตไคน์ที่มีคุณสมบัติในการต้านไวรัสและคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันคล้ายกับอินเตอร์เฟียรอนแอลฟา อย่างไรก็ตามการแสดงออกของตัวรับสัญญาณที่จำเพาะกับไซโตไคน์ชนิดนี้มีการแสดงออกที่จำกัด ดังนั้นอาการข้างเคียงจากการใช้ไซโตไคน์ชนิดนี้ จึงน้อยกว่าอินเตอร์เฟียรอนแอลฟา ด้วยเหตุนี้อินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาอาจจะเป็นยาใหม่ที่จะใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่าอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามซึ่งเป็นซับไทป์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถกระตุ้นการแสดงออกยีนต่างๆ ในกลุ่มของไอเอสจียีน และสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนและการแสดงออกของยีนไวรัสตับอักเสบบี ในเซลล์ที่ถูกทรานสเฟคด้วยไวรัสตับอักเสบบีที่มีชื่อว่าเฮปจีสองจุดสองจุดหนึ่งห้า โดยความสามารถดังกล่าวนี้จะแปรผันตามความเข้มข้นของยา ยิ่งไปกว่านั้นในการศึกษานี้ได้ศึกษากลไกในระดับโมเลกุลเพื่อดูการตอบสนองของโปรติโอมที่ถูกกระตุ้นด้วยอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามในเซลล์เฮปจีสองจุดสองจุดหนึ่งห้าโดยใช้วิธีโปรติโอมิกส์ร่วมกับเทคนิคในการแยกโปรตีนจากออร์แกเนลล์ต่างๆ เพื่อลดความซับซ้อนของโปรตีน ซึ่งโปรตีนที่สกัดได้จากออร์แกเนลล์ต่างๆ นี้จะถูกยืนยันว่าเป็นโปรตีนจากออร์แกเนลล์นั้นจริง ด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท โดยพบว่าโปรตีนที่สกัดได้จากออร์แกเนลล์นั้นๆ ค่อนข้างบริสุทธิ์ จากนั้นโปรตีนทั้งสามออร์แกเนลล์ที่สกัดได้จากเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางโปรติโอมิกส์ และโปรตีนที่มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกมากกว่า 2 เท่าจะถูกนำมาระบุเอกลักษณ์ด้วยแมสสเปกโทรมิเตอร์ โปรตีนส่วนใหญ่ที่ตอบสนองต่ออินเตอร์ฟียรอนแลมบ์ดาสามเกี่ยวข้องกับการกำจัดโปรตีน, การเพิ่มจำนวนของเซลล์, ฮีทช๊อคโปรตีน เป็นต้น ผู้วิจัยเลือกโปรตีนที่สำคัญบางตัวมาทำการยืนยันด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท เช่น สิบสี่-สาม-สาม ซิกมา, โปรติเอโซม และแคลเลทิคูลิน จากผลการทดลองทั้งหมดในการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้เสนอว่าอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามแสดงคุณสมบัติในการต้านไวรัสและคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อควบคุมการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้นอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสาม จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง และโปรตีนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังได้รับยา อาจจะเป็นเป้าหมายใหม่ในการรักษา อย่างไรก็ตาม การศึกษาประสิทธิภาพของอินเตอร์เฟียรอนแลมบ์ดาสามในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และการศึกษาหน้าที่ของโปรตีนนั้นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Microbiology (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42691
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.160
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.160
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487117020.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.