Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42850
Title: การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา
Other Titles: DESIGNING THE LEARNING ENVIRONMENT IN THE LEARNING ACTIVITY ROOM BASED ON CONSTRUCTIONISM TO ENHANCE INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF ELEMENTARY SCHOOLS
Authors: ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: noawanit.s@chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
ห้องเรียน -- การจัดการ
Activity programs in education
Classrooms -- Management
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและนำเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มในโรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จำนวน 19 ท่าน โดยใช้เทคนิควิธีการวิจัยแบบเดลฟาย ข้อมูลรวบรวมโดยแบบสำรวจและแบบสอบถามเดลฟาย 3 รอบ เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ลักษณะและขนาดของห้องกิจกรรมการเรียนรู้ อุปกรณ์และสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครุภัณฑ์ภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดการพื้นที่ภายในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก ทฤษฎี งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มแบ่งได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้ 1.ขั้นสืบค้นข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนสนใจด้วยตัวเอง 2.ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม 3.ขั้นทดลองและปฏิบัติงานจริง 4.ขั้นนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจากการศึกษาห้องเรียนที่ใช้จัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นกระเบื้อง ผนังปูน มีพื้นที่กิจกรรม พื้นที่นำเสนอผลงาน พื้นที่สืบค้น และพื้นที่ให้คำปรึกษาจากผู้สอน อุปกรณ์และสื่อประกอบการเรียนการสอนที่พบมากคือ กระดานไวท์บอร์ด กระดานชอล์ก โต๊ะและเก้าอี้ของผู้เรียนเป็นแบบตายตัว กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบกลุ่ม จัดกิจกรรมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้วยผังความคิด ค้นคว้าด้วยตัวเอง มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิชาพื้นฐาน 2. ผลจากการศึกษาด้วยเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกับข้อความ 149 ข้อ จากจำนวน 188 ข้อ สรุปได้ว่าห้องกิจกรรมการเรียนรู้เป็นพื้นเรียบทำด้วยไม้ขัดเงา ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร แบ่งพื้นที่เป็น 7 ส่วนคือ พื้นที่กิจกรรม พื้นที่สืบค้น พื้นที่นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิด พื้นที่ประชุมกลุ่มย่อย มุมให้คำปรึกษา มุมแสดงผลงานและบอร์ดให้ความรู้ และพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะที่รวมจอภาพกับเคสไว้ด้วยกัน อัตราส่วนของนักเรียนต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เท่ากับ 5:1 ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย อุปกรณ์และสื่อการสอนประกอบด้วยกระดาน ไวท์บอร์ด โทรทัศน์ กระดานอัจฉริยะ ลักษณะโต๊ะทำกิจกรรมของผู้เรียนเป็นโต๊ะญี่ปุ่น ทรงกลม
Other Abstract: The purposes of this research were to study the learning environment based on constructionism to enhance instructional management of elementary schools, and to demonstrate the learning environment in the learning activity room based on constructionism to enhance instructional management of elementary schools. The sample consisted of nineteen experts.The methodology used were the Delphi technique. The data were collected by survey instrument and three rounds of Delphi instruments regarding five physical environment factors should include the feature and size of the room, instructional media, durable articles, electrical systems and air conditioning systems and space management. The results indicated that 1. According to analyze of theory, research and interview the experts from managing classroom based on constructionism idea, it was found that learning activity based on constructionism contains 4 steps: 1. Self-searching information and knowledge regarding the issue 2. Exchanging knowledge gain within the research group 3. Experimenting and real practicing 4. Presenting the research result as well as exchanging ideas. The study shows that the most of the classrooms which are set up based on constructionism idea are in square shape, tiled floor, cement wall. Teacher provides space for doing activity, presentation board, research, learning materials and area for teacher giving advice to students. Whiteboard, blackboard, tables and chairs are in fixed pattern. Teaching-learning activities are mostly conducted in groups. Activity encourages learners to link their ideas by using ideas mapping, self-researching, as well as exchanging knowledge and practicing basic subjects. 2. According to the research using Dephi technique, the experts views their ideas accordingly to 149 articles out of 188 articles, therefore, it can be summarized that the classroom floor is of smooth surface, made from vanished wood, 9 x 12 meter width and long. The room is divided into 7 parts: activity, research, presentation and exchange ideas, group meeting, advisor corner, work presentation and information board, equipment storing area. A computer used in the classroom is all in one PC connected through wireless internet (hard-drive assembled in screen), proportion between students and computers is 5:1. Teaching materials are whiteboard, television, genius board, round-Japanese-styles tables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.347
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.347
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383352227.pdf8.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.