Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42883
Title: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเสียดทานและความลึกโพรไฟล์เฉลี่ยของผิวทางเพื่อสนับสนุนการวางแผนงานบำรุงทาง
Other Titles: ANALYSIS OF RELATIONSHIP BETWEEN PAVEMENT FRICTION AND MEAN PROFILE DEPTH TO SUPPORT PAVEMENT MAINTENANCE PLANNING
Authors: นันทวัฒน์ ลือสิงหนาท
Advisors: วิศณุ ทรัพย์สมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wisanu.s@chula.ac.th
Subjects: ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
ผิวทาง
แรงเสียดทาน
Roads -- Maintenance and repair
Pavements
Friction
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเสียดทานของผิวทางเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดอุบัติเหตุขณะถนนเปียก แต่ในปัจจุบันวิธีการวัดค่าความเสียดทานของผิวทางโดยตรงต้องใช้เวลามากและค่าใช้จ่ายสูง ทำให้การวางแผนงบประมาณซ่อมบำรุงถนนในประเทศไทย ยังมิได้คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานผิวทาง (µ) กับค่าความลึกโพรไฟล์เฉลี่ย (Mean Profile Depth, MPD) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ค่า MPD ในการประเมินและคัดกรองผิวทางที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสูงกว่าระดับพึงระวังในระดับโครงข่าย เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถเก็บข้อมูลได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการวัดค่าความเสียดทานของผิวทางโดยตรง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่า MPD กับค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผิวทาง (µ) ของสายทางตัวอย่าง ทั้งจากข้อมูลภาคสนามจำนวน 113 ตัวอย่าง และข้อมูลประวัติสายทางจำนวน 722 ตัวอย่าง พบว่าผิวทางที่มีค่า MPD มากกว่า 1.5 มิลลิเมตร จะมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผิวทางมากกว่าระดับพึงระวังที่ 0.35 ดังนั้นค่า MPD จึงสามารถใช้เพื่อคัดกรองสายทางที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานมากกว่าระดับพึงระวัง เพื่อลดจำนวนข้อมูลที่ต้องจัดเก็บโดยตรง นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังเสนอแนะวิธีการจัดการยกระดับความปลอดภัยของถนน จากการติดตามเฝ้าระวังค่าความเสียดทานทั้งในระดับพึงระวังและระดับปรับปรุงแก้ไข โดยใช้ข้อมูลค่า MPD รวมกับประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่อยู่บนสมมติฐานว่ามีผลมาจากความเสียดทานของผิวทาง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดงบประมาณและระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเพื่อวางแผนและยกระดับค่าความเสียดทานของผิวทางในระดับโครงข่ายได้
Other Abstract: Pavement friction is an important factor that can help reduce road accident, especially on wet pavement. However, current methods of measuring pavement friction directly take long time and high cost. As a result, pavement maintenance planning in Thailand has usually ignored such factor. The objective of this research is to find the relationship between coefficient of pavement friction (µ) and Mean Profile Depth (MPD) in order to apply MPD as a surrogate factor to evaluate pavement friction at a network level. Since MPD can be measured faster and more cost-effective than pavement friction direct measurement, it can be used to screen pavements that need further detailed investigation. Based on correlation analysis between MPD and coefficient of pavement friction (µ) of 113 samples from field data and 722 samples from historical maintenance database, it is found that if MPDs are higher than 1.5 millimetres, all coefficients of pavement friction (µ) would be higher than the required investigatory level at 0.35. Therefore, MPD can be used as a threshold to reduce needs of direct friction measurement of all pavements, especially at the investigatory level. Furthermore, this research has proposed road safety enhancement framework based on pavement friction monitoring. The thresholds for taking action at either investigatory level or intervention level can be considered based on MPDs and accident data which are resulted from pavement friction. This proposed framework can save cost and time of data collection for pavement friction management at a network level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42883
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.317
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.317
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470245721.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.