Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42950
Title: คำเรียกขานในภาษาไทพวนตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: ADDRESS TERMS IN TAI PHUAN SPOKEN AT TAMBON HAT SIAO, AMPHOE SISATCHANALAI, CHANGWAT SUKHOTHAI
Authors: สิริอมร หวลหอม
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: amaraprasithrathsint@gmail.com
Subjects: ภาษาพวน -- คำและวลี -- ไทย -- สุโขทัย
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผู้วิจัยสังเกตว่าชาวไทพวนในจังหวัดสุโขทัยยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จึงได้ศึกษาการใช้ภาษาไทพวนด้วยวิธีสังเกตการสนทนาในสถานการณ์จริงของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวไทพวนจำนวน 270 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบคำเรียกขานของชาวไทพวนที่อาศัยอยู่ในตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกใช้คำเรียกขานภาษาไทพวนกับปัจจัยทางสังคม ได้แก่ อายุของผู้พูด ความสัมพันธ์หรือบทบาทของผู้พูดผู้ฟัง และสถานการณ์การใช้ภาษา รวมทั้งสังเคราะห์ระบบคำเรียกขานของภาษาไทพวน ผู้วิจัยวิเคราะห์โครงสร้างของคำเรียกขานภาษาไทพวนและพบว่ามีรูปแบบคำเรียกขานพื้นฐาน 5 รูปแบบ คือ คำนำหน้า คำสรรพนาม คำเรียกญาติ คำเรียกสถานภาพ และชื่อ ซึ่งเมื่อนำมาประสมกันจะได้รูปแบบคำเรียกขานทั้งหมด 16 รูปแบบแบ่งตามโครงสร้างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) คำเรียกขานเดี่ยว เช่น คำเรียกญาติ (mɛ:42 แม่, phɔ:42พ่อ ฯลฯ) คำสรรพนาม (to:33 เธอ, มึง) 2) คำเรียกขานที่มีส่วนประกอบสองส่วน เช่น คำนำหน้า+คำเรียกญาติ (ʔi:11 น้อง+ʔɛ:33 เด็กทารกหญิงหรือชาย) คำเรียกญาติ+คำเรียกสถานภาพ (ʔa:y42 พี่ชาย+ mɔ:24(หมอ 3) คำเรียกขานที่มีส่วนประกอบสามส่วน เช่น คำเรียกญาติ+คำเรียกสถานภาพ+ชื่อ (ʔa:y42 พี่ชาย+ thit45 ชายที่บวชเป็นพระภิกษุแล้ว + man45) ซึ่งในจำนวนรูปแบบทั้งหมด พบว่า คำเรียกญาติใช้มากที่สุดทิ้งห่างจากรูปแบบอื่น ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับสมมติฐานเพียงครึ่งเดียว ซึ่งสมมติฐานกำหนดไว้ว่ารูปแบบที่ใช้มากที่สุดมี 2 รูปแบบ คือ คำเรียกญาติ และ สรรพนาม ผลการวิเคราะห์การแปรของคำเรียกขานตามอายุของผู้พูด พบว่าคนไทพวนรุ่นอายุมากกับรุ่นอายุน้อยเลือกใช้รูปแบบคำเรียกขานส่วนใหญ่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนที่ตั้งสมมติฐานไว้ว่า กลุ่มคนอายุน้อยเลือกใช้รูปแบบ คำเรียกญาติ+ชื่อ มากที่สุดและกลุ่มคนอายุมากใช้รูปแบบ คำสรรพนาม มากที่สุดนั้น ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามสมมติฐานโดยพบว่ากลุ่มคนอายุน้อยและอายุมากใช้รูปแบบ คำเรียกญาติ มากที่สุดเหมือนกัน ในการวิเคราะห์การใช้คำเรียกขานตามปัจจัยบทบาทของผู้พูดผู้ฟังนั้น ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่าในความสัมพันธ์แบบสมดุลผู้พูดเลือกใช้รูปแบบ คำสรรพนาม มากที่สุด ผลการศึกษาสอดคล้องกับสมมติฐาน ส่วนในความสัมพันธ์แบบไม่สมดุล คาดว่าผู้น้อยจะใช้รูปแบบ คำเรียกญาติ+ชื่อ เรียกขานผู้ใหญ่มากที่สุด และผู้ใหญ่ใช้รูปแบบ คำสรรพนาม เรียกขานผู้น้อยมากที่สุด แต่กลับพบว่าผู้น้อยใช้รูปแบบ คำเรียกญาติ มากที่สุด ในขณะที่ผู้ใหญ่ใช้รูปแบบ คำนำหน้า+ชื่อ มากที่สุด นอกจากนั้นตามที่คาดว่าในความสัมพันธ์แบบเป็นกลางผู้พูดจะเลือกใช้รูปแบบ คำเรียกญาติ มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ประเด็นนี้เป็นไปตามสมมติฐาน ในแง่สถานการณ์การใช้ภาษา ตามสมมติฐานที่ว่าในสถานการณ์ที่เป็นทางการผู้พูดใช้รูปแบบ คำนามเฉพาะบุคคล มากที่สุด และในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการผู้พูดใช้รูปแบบ คำสรรพนาม มากที่สุดนั้น ข้อค้นพบไม่เป็นไปตามนั้น กล่าวคือพบว่า รูปแบบคำเรียกขานที่ใช้มากที่สุดเหมือนกันทั้ง 2 สถานการณ์ คือ รูปแบบ คำเรียกญาติ ถึงแม้รูปแบบอื่นจะมีการแปรตามสถานการณ์อย่างมีนัยสำคัญ ในบทสรุปผู้วิจัยสังเคราะห์ระบบคำเรียกขานในภาษาไทพวน ซึ่งสรุปได้ว่าปัจจัยสำคัญในการเลือกคำเรียกขานให้เหมาะสม ได้แก่ สถานการณ์การใช้ภาษาและบทบาทของผู้พูดที่สัมพันธ์กับผู้ฟัง ซึ่งถูกกำหนดโดยความเคารพและความสนิทสนม
Other Abstract: It is observable that Tai Phuan people in Sukhothai still preserve the identity of their indigenous language and culture, especially the language they use in everyday life. Therefore, I conducted a study on the use of Tai Puan in real-life situations with a focus on terms of address. Data was collected from a sample of 270 Tai Phuan people in Tambon Hat Siao, Amphoe Si Satchanalai, Changwat Sukhothai. The purpose of the study is threefold: 1) to analyze the patterns of address terms in Tai Phuan; 2) to examine the influence of social factors on the use of address forms, focusing on the age of speakers, the relationship between speakers and hearers, and situations of language use; 3) to synthesize the Tai Puan address system. The result of the analysis of address patterns shows that there are five basic patterns: title, pronominal, kinship term, status term, and name. These can be combined into 16 patterns divided into three groups: single component pattern, such as kinship term, two-component pattern, such as title + kinship term and kinship term + status term, three-component pattern, such as kinship term + status term + name. Of all the patterns, the most frequently used one is kinship term. This finding partly supports the hypothesis. Concerning the variation of address terms according to the age of speakers, it is found that there is statistically significant difference in the use of address terms between younger and older speakers. It was hypothesized that the pattern most frequently used by the former was kinship + name and that used most by the latter was pronominal. However, the result of the analysis shows that kinship term is the only pattern used most frequently by both groups. Regarding the relationship between speakers and addressees, which are divided into the reciprocal, the non–reciprocal, and the neutral relationships, I expected that speakers would choose pronominal for the reciprocal and kinship term for the neutral relationship. The result supports these hypotheses. As for the non–reciprocal relationship, it is found that speakers of higher status use kinship term while those of lower status use title + name, and this finding does not support the hypothesis. With regard to situation, it is found that kinship term is used most in both formal and informal situations. However, the other patterns vary significantly according to situation. In the final chapter, I synthesized the whole system of address terms in Tai Phuan with a conclusion that the choice of address patterns depends on situation and social relationship between speakers and addressees, which are determined by respect and intimacy.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42950
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.423
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.423
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480192722.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.