Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42957
Title: การสร้างความนิยมและปัญหาเกี่ยวกับการตีความทฤษฎีการเมืองของ ฌอง ฌากส์ รุสโซ ในบริบทการเมืองไทย
Other Titles: THE POPULARIZATION AND THE PROBLEMS OF INTERPRETATION OF JEAN JACQUES ROUSSEAU'S POLITICAL THEORY IN THAI POLITICAL CONTEXT
Authors: ศุภชัย ศุภผล
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: cchaiyan@hotmail.com
Subjects: คณะราษฎร์
ไทย -- การปลุกระดมมวลชน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองตะวันตกในประเทศไทย โดยในงานวิจัยชิ้นนี้ได้เลือกศึกษาทฤษฎีการเมืองของ ฌอง ฌากส์ รุสโซ ซึ่งในงานวิจัยนี้จะมุ่งพิจารณาในสองด้านเป็นหลักคือ ในด้านแรกเป็นการพิจารณาในแง่ของการนำทฤษฎีการเมืองของรุสโซมาใช้ในประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2555 ในอีกด้านหนึ่งผู้วิจัยจะพิจารณาในแง่ของการตีความว่าผู้ที่นำทฤษฎีการเมืองของรุสโซมาใช้นั้นมีปัญหาในการตีความหรือการทำความเข้าใจอย่างไร สำหรับวิธีการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาแนวประวัติศาสตร์ความคิด ซึ่งเป็นการศึกษาโดยเน้นหนักทางด้านการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบทแวดล้อมของการเมืองไทยกับการนำทฤษฎีการเมืองการเมืองของรุสโซมาใช้ ผลจากการวิจัยพบว่า ทฤษฎีการเมืองของรุสโซได้ถูกดัดแปลงและถูกนำมาใช้โดยตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ทฤษฎีการเมืองของรุสโซถือได้ว่าเป็นทฤษฎีการเมืองชุดแรกๆที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โดยผู้ที่นำมาใช้ก็คือ เหล่าผู้ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎร อย่างไรก็ดีทฤษฎีการเมืองของ รุสโซก็ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปเมื่อสิ้นสุดลงของระบอบคณะราษฎรในช่วงปี พ.ศ. 2490 แต่ทฤษฎีการเมืองของรุสโซก็ถูกนำมาเผยแพร่อย่างแพร่หลายอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2516-2519 แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารหลังเหตุการณ์กวาดล้างขบวนการนักศึกษา ทฤษฎีการเมืองของรุสโซก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้อีกต่อไป จนกระทั่งตั้งแต่ช่วงปี 2540-2555 ทฤษฎีการเมืองของรุสโซก็ถูกกลับนำมาใช้อีกครั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมฝูงชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว พวกนักเคลื่อนไหวหลายคนได้นำทฤษฎีการเมือง รุสโซมาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มของตนในช่วงที่ประเทศไทยมีวิกฤตการณ์ทางการเมือง ในอีกแง่หนึ่งผู้วิจัยพบว่าการนำทฤษฎีการเมืองของรุสโซมาใช้ในเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นผู้ที่นำมาใช้จะเข้าใจเสมอมาว่าทฤษฎีการเมืองของรุสโซนั้นเป็นทฤษฎีการเมืองที่เหมาะสำหรับนำมาใช้ปลุกระดมผู้คน เนื่องจากความเข้าใจทฤษฎีการเมืองของรุสโซของผู้ที่นำมาใช้จะมีความเข้าใจร่วมกันว่า รุสโซได้เสนอว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์ ประชาชนจะทำอะไรก็ได้ไม่มีวันผิด ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้ของผู้ที่นำทฤษฎีการเมืองของ รุสโซมาใช้ในไทยนั้นมีสาเหตุมาจากการจงใจใช้ผิดเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และการเข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเจตจำนงทั่วไปของรุสโซ
Other Abstract: This dissertation aims to understand two important aspects of Jean Jacques Rousseau’s political theory in Thailand: 1) the popularization of the thoughts between 1932 and 2012; and 2) problems of interpretation of Rousseau’s political theory in Thai political context. It employs the History of Political Thought method to consider the application of Rousseau’s political theory in the Thai political context. The result shows that Rousseau’s political theory is one among the earliest sets of western political theory that has been disseminated in Thailand and has still been applied in Thai politics up until now. Rousseau’s idea was firstly introduced in Thailand during a transition from absolute monarchy to constitutional monarchy in 1932. From 1947 to approximately mid-1973, however, Rousseau’s Political thought was prohibited in the country. From 1973 to 1976, political theory of Rousseau had been temporarily revived before fading away once again after 1976. During the forbidden period, Rousseau’s ideas were still appeared in several political textbooks. However, in the present time especially after the coup d’état on 19 October 2006, political theory of Rousseau has been disseminated to several corners of the country once again as a tool to mobilize mass political support. In the other dimension, the result also highlights that Rousseau’s political theory has always been used in Thailand because it has beed held that his idea can work best to rally mass political support. Rousseau’s political theory is collectively understood that the voice of the people is the voice of God. The misinterpretation of Rousseau’s political theory has occurred unintentionally and intentionally from political mobilizers have taken an advantage of Rousseau’s political theory for their political goals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42957
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.430
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.430
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5481209024.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.