Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42974
Title: | การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาระหว่างการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยครูกับการใช้สื่อวีดีทัศน์ที่มีต่อทักษะกีฬารักบี้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | A COMPARISON OF PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT BETWEEN FEEDBACK BY TEACHER AND VISUAL MEDIA UPON RUGBY SKILLS OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | ปิยณัฐ ศรีชะตา |
Advisors: | รัชนี ขวัญบุญจัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | rq.2486@gmail.com |
Subjects: | กิจกรรมการเรียนการสอน การสอนด้วยสื่อ Activity programs in education Teaching -- Aids and devices |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการด้านทักษะปฏิบัติก่อนและหลังการทดลองการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบปกติ วิธีการสอนแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ และวิธีการสอนแบบการใช้สื่อวีดีทัศน์ 2. เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ที่มีต่อทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอล ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 20 คน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยกำหนดวิธีการสอนแต่ละกลุ่ม ดังนี้คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม จัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบปกติ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จัดการเรียนรู้แบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มทดลองที่ 2 จัดการเรียนรู้แบบการใช้สื่อวีดีทัศน์ โดยการสุ่มอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แต่ละกลุ่ม และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม โดยใช้ค่า t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มก่อนการทดลองโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มหลังการทดลองโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาที่มีต่อทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอลด้วยวิธีการสอนแบบปกติ แบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ และแบบการใช้สื่อวีดีทัศน์ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งทุกกลุ่มมีพัฒนาการดีขึ้น 2. การเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาที่มีต่อทักษะกีฬารักบี้ฟุตบอล ระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มการให้ข้อมูลย้อนกลับ และกลุ่มการใช้สื่อวีดีทัศน์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1. To study the effect of physical education learning management between feedback and visual media feedback upon skill practice of the lower secondary school students 2. to compare the effect of physical education learning management upon rugby skills between the control group and experimental group. The subjects consisted of sixty students in the seventh grade at Chalearmprakiat Somdejprasrinakarin Roi-ed School, Roi-ed Province, who were divided equally into three groups: 20 students per each group, and 8 weeks treatment in using PE learning management in 3 groups 1) control group 2) the experimental group by feedback and 3) the experimental group by visual media. The data collecting instrument included the rugby skills Test and physical education learning achievement test. The data were analyzed in terms of X̅, S.D., ANOVA and ANCOVA. The findings of this research were as follows. 1. The students in the experimental group and control group had a higher level of rugby skills after using the feedback and visual media feedback than before experimental at .05 level. 2. The comparison of Rugby Skills between the control group and the experimental group. Were students in the focus group and students in the control group learning achievement were not significantly different at .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42974 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.442 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.442 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483385027.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.