Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43136
Title: โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน
Other Titles: A CAUSAL MODEL OF TEACHERS’ KNOWLEDGE SHARING BEHAVIORS: MODEL INVARIANCE ANALYSIS
Authors: ไพวรัญ รัตนพันธ์
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.B@chula.ac.th
Subjects: ครู -- การประเมิน
การบริหารองค์ความรู้ -- การประเมิน
Teachers -- Rating of
Knowledge management -- Evaluation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู 2) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี กับครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และ 4) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู ตัวอย่างวิจัย คือ ครูในโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 526 คน ข้อมูลมี 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งเก็บโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครูที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์กลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.10) เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบย่อยใน 2 มิติ ของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ครูส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเป็นผู้ให้ความรู้และพฤติกรรมการเป็นผู้รับความรู้อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.18 และ ค่าเฉลี่ย = 4.02 ตามลำดับ) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย ไคสแควร์ (chi-square) เท่ากับ 13.525 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 9 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .140 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.994 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.975 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.004 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้มากที่สุดคือ ความตั้งใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ (0.520) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครูได้ร้อยละ 91 3. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของของครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี กับครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่มีความแปรเปลี่ยนด้านรูปแบบโมเดลและพารามิเตอร์ 4. แนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ของครู พบว่า ครูจะต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของตนเองและผู้อื่น สร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนครูในโรงเรียน ในขณะที่ผู้บริหารจะต้องยกย่อง ชมเชยครูที่ประสบความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนความรู้ เปิดโอกาสให้ครูได้นำเสนอผลงานและแสดงความสามารถของตนเอง สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ และสนับสนุนให้ครูมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
Other Abstract: The present study was a mixed method research which aimed to 1) analyze the level of the teachers’ knowledge sharing behaviors. 2) develop and validate of a causal model of teachers’ knowledge sharing behaviors. 3) test invariance of a causal model of teachers’ knowledge sharing behaviors across under 10 years’ experience teachers and over 10 years’ experience teachers. 4) propose guidelines for developing teachers’ knowledge sharing behaviors. The research sample was 526 teachers who have taught in Bangkok. There were two types of data. Quantitative data were collected using a 5-scales rating. Qualitative data were gathered through interviews. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation by employing SPSS, validate of a causal model and multiple group analysis by LISREL and qualitative data analyzed by content analysis. Research finding were the following: 1. Most of the teachers had high level of knowledge sharing behaviors ( mean= 4.10). In terms of individual component, it was found that teachers had high level of giving knowledge and receiving knowledge (mean= 4.18 and mean= 4.02, respectively). 2. A causal model of teachers’ knowledge sharing behaviors fitted with the empirical data indicating by chi-square=13.525, df=9, p-value=.140, GFI=0.994, AGFI=0.975 and RMR=0.004. The most influential factor on knowledge sharing was intention to share knowledge (0.520). The variables in the model explained 91% of teachers’ knowledge sharing behaviors. 3. The causal model of teacher’s knowledge sharing behaviors across under 10 years’ experience teachers and over 10 years’ experience teachers was invariance in form and in all parameter matrices and fitted to empirical data. 4. In terms of guidelines for the development of knowledge sharing behavior, the finding suggested that teachers should accept their own knowledge and the others and be friendly with the teachers in the school, Administrators should admire teachers who are successful in knowledge sharing, let’s them present their works in order to show their own capabilities, always create a learning environment and encourage the teachers to study about technologies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43136
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.607
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.607
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583337027.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.