Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43161
Title: ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี
Other Titles: THE RESULTS OF USING TABLET PC IN THE CLASSROOM ON BEHAVIORS OF TEACHERS AND STUDENTS: MIXED-METHODS RESEARCH
Authors: สรวีย์ ศิริพิลา
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wannee.k@gmail.com
Subjects: แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์
ครู -- การประเมิน
นักเรียน -- พฤติกรรม
Tablet computers
Teachers -- Rating of
Students -- Behavior
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียน ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ครู จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม (focus group) 2 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (MAXQDA) ในการจัดกระทำข้อมูล 2) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของครู ในด้านความรู้สึกที่มีต่อการเตรียมการสอน ความรู้สึกที่มีต่อการแสวงหาความรู้ การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) โดยครูมีความคิดเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 2. การเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนของครู และการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู พบว่าครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยของเจตคติทางบวกต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทย และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทย และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ และครูที่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน มีเจตคติทางบวกต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน และมีการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่าครูที่ไม่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) 3. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในด้านต่างๆดังนี้ 1) คุณลักษณะของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ทักษะพื้นฐานของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคิดคำนวณ ตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับปานกลาง 4. การเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียน ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ความชอบใช้ ICT ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานของครู พบว่าครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์-ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน สูงกว่าความคิดเห็นของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ครูที่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน มีความคิดเห็นว่าแท็บเล็ตส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนในทางบวกมากกว่าครูที่ไม่ชอบใช้ ICT ในการทำงาน และครูที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นว่าการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน สูงกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)
Other Abstract: The aims of this research were to analyze and compare the results of using tablet PC in classroom on teachers’ behaviors and perceptions on students’ behaviors among different subjects, ICT preferences at work, and teaching experiences. The research was conducted using Mixed-Methods methodology consisting of 2 phases. The first, qualitative research was done using data collected from in-depth interviews of 12 teachers and 2 focus groups by semi-structured interview questionnaires. Data were analyzed by using qualitative data analysis program (MAXQDA). The quantitative data were collected by questionnaire from 396 teachers. The analytical methods of this research consisted of descriptive statistics, t-test and One-Way ANOVA using SPSS for Windows. The research findings were as follows: 1) Using tablet PC in class impacted teachers’ performance in perceptions in classroom preparation, learning, teaching and students’ evaluation with statistical significance at the .05 level. Teachers viewed that their performance had improved. 2) Science and social studies teachers had higher levels of perceptions about using tablet PC than that of mathematics and thai teachers. science and social studies teachers had higher levels of perceptions about good teaching than that of mathematics and thai teachers. Social studies teachers had higher levels of perceptions about good teaching practices than that of english teachers. Teachers who preferred to use ICT at work had higher levels of positive attitudes about using tablet PC in classroom and good teaching practices than teachers who did not preferred ICT at work with statistical significance at the .05 level. 3) Using tablets PC in the classroom effected students’ behaviors concerning 1) students’ characteristics: students participated and were motivated at high level 2) Students’ basic skills: students had reading, writing and numeracy skills as perceived by teachers in middle level. 4) Mathematics and thai teachers had higher levels of perceptions about students’ numerical skills than that of social studies, science and english teachers. Teachers who preferred ICT at work were more likely to consider that using tablet PC improved students’ participation in classroom than teachers who did not preferred ICT at work. Teachers with more than 10-year experiences were more likely to consider that using tablets PC in class improved students’ motivation and reading and writing skills than teachers with less than 10-years experiences with statistical significance at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43161
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.634
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.634
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583439427.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.