Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43164
Title: | การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF HEALTH INDICATORS FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | ลัดดา เลนะนันท์ |
Advisors: | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | aimutcha.w@chula.ac.th |
Subjects: | ตัวชี้วัด นักเรียน -- สุขภาพและอนามัย Students -- Health and hygiene |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพและเกณฑ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขศึกษาหรือด้านสุขภาพ จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และดำเนินการเก็บข้อมูลจำนวน 3 รอบ แล้วนำมาหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ นำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำดัชนีชี้วัดสุขภาพ ที่ได้รับฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมากำหนดเกณฑ์ประเมินระดับสุขภาพ แล้วทดลองเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้รับฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 1.1 ด้านสุขภาพกาย มีจำนวน 23 ดัชนี ได้แก่ มีบุคลิกภาพที่ดี มีการพูดเป็นปกติ มีผิวพรรณที่สะอาด มีการได้ยินเป็นปกติ มีการมองเห็นเป็นปกติ มีการเจริญเติบโตสมวัย มีสมรรถภาพทางกายดี มีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน มีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีเล็บมือและเล็บเท้าสั้นสะอาด ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนด ไม่เป็นเหา ไม่ใช้สารเสพติด ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ ไม่เป็นโรคผิวหนัง ไม่เป็นโรคโลหิตจาง ไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร ไม่เป็นโรคทางเดินหายใจ และไม่มีโรคประจำตัว 1.2 ด้านสุขภาพจิต มีจำนวน 12 ดัชนี ได้แก่ มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีความภูมิใจในตนเอง มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นดี มีความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว มีสมาธิในการเรียนหรือทำกิจกรรม ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม ปรึกษาพ่อแม่ หรือครู เมื่อมีปัญหาหรือวิตกกังวล ไม่หงุดหงิดง่าย ไม่มีอาการซึมเศร้า และไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว 1.3 ด้านสุขภาพทางสังคม มีจำนวน 19 ดัชนี ได้แก่ มีความสุภาพเรียบร้อย มีน้ำใจต่อผู้อื่น มีสัมมาคาราวะ มีความรักเพื่อนและบุคคลรอบข้าง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีทักษะการสื่อสาร มีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ได้รับการยอมรับจากเพื่อน มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน มีความกล้าในการแสดงออก มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความเคารพในสิทธิของผู้อื่น มีความรัก โรงเรียนของตนเอง มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสังคมได้ดี มีทักษะในการปฏิเสธสิ่งที่เป็นโทษต่อสุขภาพ มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมของชั้นเรียน และมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน 2. เกณฑ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา 2.1 ด้านสุขภาพกาย เกณฑ์ 19-23 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 15-18 คะแนน อยู่ระดับดี 12-14 คะแนน อยู่ระดับปานกลาง และต่ำกว่า 12 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข 2.2 ด้านสุขภาพจิต เกณฑ์ 10-12 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 8-9 คะแนน อยู่ระดับดี 6-7 คะแนน อยู่ระดับปานกลาง และต่ำกว่า 6 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข 2.3 ด้านสุขภาพทางสังคม เกณฑ์ 16-19 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 13-15 คะแนน อยู่ระดับดี 10-12 คะแนน อยู่ระดับปานกลาง และต่ำกว่า 10 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข 3. ผลการนำดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา ไปเก็บข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง พบว่า ระดับสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต และด้านสุขภาพทางสังคม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็น ร้อยละ75.81 64.52 และ 80.65 ตามลำดับ 4. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถนำไปปรับใช้ในการประเมินสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาได้ |
Other Abstract: | The objectives of this study were to develop health indicators and criteria for primary school students exploiting Delphi technique. Questionnaires were designed to systematically collect opinions from 17 experts in health and health educations. The experts answered questionnaires for 3 rounds. Then, median, mode, absolute value of the difference between median and mode, and inter quartile range (IQR) of the data set were determined. Therefore, consensus indicators and criteria from experts’ opinions were concluded. The indicators and criteria were used to assess the health of 62 sixth grade students and results from the study were as followings; 1. Consensus indicators from experts’ opinions were divided into 3 categories. 1.1 Physical health: 23 indicators; good personality; normal speaking ability; clean skin; normal hearing; normal vision; regular growth development; good physical fitness; adequate rest; regular workout; good oral health; good physical health; body weight and height meeting standard; clean hand and foot nails; having regular health check; regular vaccinations; no head lice; no usage of narcotics; no frequent illness; absence of skin diseases; no anemia; no signs of malnutrition; no respiratory disease; no underlying disease. 1.2 Mental health: 12 indicators; enjoyment; optimism; having self esteem; having understanding of themselves and others; good family relationship; concentration in studying or doing school activities; forgiving the mistakes of others; appropriate emotional control; consulting teachers or parents when confronting problems; not being easily irritated; no signs of depression and aggressiveness. 1.3 Social health: 19 indicators; politeness; generosity to others; having respect to others; loving friends and others; integrity; having communicating skills; having courtesy to others; group acceptance; good relationship with friends; confidence in expressing themselves; sacrifice; respecting others' rights; self affection; good group participation skills; accepting others' opinions; good in adapting themselves to friends and others; being able to reject things that are bad for health; happiness in participating class activities; happiness in participating in school activities. 2. Criteria to assess health of primary school students 2.1 In physical health: the range of 19-23 points indicated excellent physical health; 15-18 points indicated good physical health; 12-14 points indicated moderate physical health, and below 12 points indicated that improvement was needed. 2.2 In mental health: the range of 10-12 points indicated excellent mental health; 8-9 points indicated good mental health; 6-7 points indicated moderate mental health , and below 6 points indicated that improvement was needed. 2.3 In social health: the range of 16-19 points indicated excellent social health; 13-15 points indicated good social health; 10-12 points indicated moderate social health, and below 10 points indicated improvement was needed. 3. Assessment results reflected that physical, mental and social health of school students were excellent at the percentage of 75.81, 64.52 and 80.65, respectively. 4. The indicators and assessment criteria developed by the researcher in this study could be used to determine the health of primary school students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43164 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.637 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.637 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583471427.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.