Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43172
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหาร: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามเหล่าทัพ
Other Titles: INDICATOR DEVELOPMENT OF RESEARCHER CHARACTERISTICS OF CADETS: TESTING MEASUREMENT INVARIANCE BY MILITARY JURISDICTION
Authors: อังคณา จรรยา
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: siripaarn.s@gmail.com
Subjects: ตัวชี้วัด
นักวิจัย -- มาตรฐาน
Researchers -- Standards
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหาร 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหารที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหารระหว่างกลุ่มนักเรียนทหารในเหล่าทัพที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ระยะแรก เป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ในเบื้องต้นโดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 18 ท่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟายเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ในรอบที่ 1 คือ แบบสัมภาษณ์ และ รอบที่ 2 และ 3 ใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐาน และ การหาค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และระยะที่สอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักเรียนทหารจำนวน 810 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่สอง คือ แบบวัดคุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหาร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านคุณลักษณะทางทหารที่เอื้อต่อการวิจัย ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การประมาณตนเอง ความขยันและอดทน ความมุ่งมั่นผลสัมฤทธิ์ ความมีระเบียบวินัย ความกล้าหาญ และการทำงานเป็นทีม 2) องค์ประกอบด้านคุณลักษณะทั่วไปของนักวิจัย ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิพากษ์ และ 3) องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถทางการวิจัย ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถทางการบริหารจัดการและการทำงานเป็นระบบ ความสามารถในสารสนเทศและเทคโนโลยี ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องตามการรับรู้ของตนเอง และความรู้ในระเบียบวิธีวิจัย และพบว่าตัวบ่งชี้ทั้ง 16 ตัวบ่งชี้ ได้รับฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 4.50 ถึง 5.00 ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างควอไทล์มีค่าตั้งแต่ 0.00 ถึง 1.00 2. โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหารมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ = 18.753, df = 39, p = .997, AGFI = .997 และ RMR = .004 3. โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะนักวิจัยของนักเรียนทหาร มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มนักเรียนในเหล่าทัพที่แตกต่างกัน แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้ และค่าน้ำหนักขององค์ประกอบหลักทุกองค์ประกอบ
Other Abstract: This research aims to 1) develop researcher characteristic indicators of cadets 2) validate model researcher characteristic indicators of cadets 3) test the invariance of the model across three military jurisdictions - Army, Air force and Navy. The method of research was divided into two phases. The first phase focused on factors and indicators of researcher characteristics of cadets. There were 18 expert participants in the field of study. The first phase used Delphi technique to generate group consensus, divided into three rounds. The first round used structured interviews, the second and third round used Likert scale questionnaires. Data analysis was done through content analysis, median and interquartile range. The second phase focused on the validation and invariance test of the researcher characteristic indicators model. The participants of this research were 810 cadets. The tool of second phase was questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics (means, S.D., C.V., skewness and kurtosis) and Pearson’s correlation. Second order confirmatory factor analysis and multiple group structural equation model analysis by LISREL. The result showed as follows 1. The indicators of researcher characteristics of cadets consisted of three factors; 1) military characteristics attributed to research, 2) general characteristics of researcher, and 3) competency in research. The first factor consisted of 6 indicators; self-awareness, diligence and tolerance, result-based mindset, discipline, courage, and teamwork. The second factor consisted of 5 indicators; curiosity, integrity, an open mind, creativity, and critical thinking. The third factor consisted of 5 indicators; communication ability, administrative and systematized ability, information and technology ability, self-efficacy on relevant knowledge, and research methodology knowledge. All indicators were consensus among the experts with the median value from 4.50 to 5.00, and the interquartile range values from 0.00 to 1.00. 2. The researcher characteristic indicators model of cadets founded that the model fit the empirical data (chi-square = 18.753, df = 39, p = .997, AGFI = .997 and RMR = .004) 3. The researcher characteristic indicators model of cadets indicated invariance of model form across three military jurisdictions, but the model indicated variance of the factor loading of each indicators and factor loading of military characteristics attributed to research, general characteristics of researcher, and competency in research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43172
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.645
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.645
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583839827.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.