Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43206
Title: | อิสลามานุวัตรละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทย |
Other Titles: | ISLAMIZATION OF ISLAMIC TELEVISION DRAMA IN THAILAND |
Authors: | สุธี นามศิริเลิศ |
Advisors: | สุกัญญา สมไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sukanya.Som@chula.ac.th |
Subjects: | ละครโทรทัศน์ ละคร -- แง่ศาสนา Television plays Theater -- Religious aspects |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “อิสลามานุวัตรละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทยที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และเคเบิ้ลทีวีมุสลิม ไวท์ ชาแนล และเพื่อศึกษาอิสลามานุวัตรและความสัมพันธ์ระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับองค์ประกอบการเล่าเรื่อง ด้วยการวิเคราะห์การเล่าเรื่องในละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทยทั้งสิ้น 3 เรื่อง ได้แก่ อุมมี สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้ามารดา (2553) จะบังลิมอ รักรออยู่ปลายทาง (2554) และ รักแท้ เกิดที่บ้าน (2555) ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและศาสนาอิสลาม ผู้ผลิตละคร รวมทั้งศึกษาทัศนคติของผู้ชมละครโทรทัศน์ชาวมุสลิม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ชมอายุ 15-25 ปี กลุ่มผู้ชมอายุ 26-40 ปี และกลุ่มผู้ชมอายุ 55 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 19 คน ด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของละครโทรทัศน์อิสลามในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านมุมมองของผู้ผลิตที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างโลกแห่งละครกับโลกแห่งศาสนบัญญัติอิสลามเป็นสำคัญ โดยคุณลักษณะที่ปรากฏในองค์ประกอบการเล่าเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่องและแก่นเรื่องมุ่งนำเสนอความกตัญญูของลูกที่มีต่อแม่ โดยไม่ปรากฏเรื่องราวความรักระหว่างหญิงชาย ส่วนตัวละครมุสลิมมักเป็นตัวละครประเภทพระเอกผู้ไร้นางเอก และนางเอกผู้ไร้พระเอก โดยไม่ปรากฏลักษณะความใฝ่ใจในเรื่องรัก ทั้งยังพบว่าตัวละครมีการคลี่คลายความขัดแย้งตามโลกทัศน์อิสลามด้วยการขอพรจากพระเจ้าเสมอ ส่วนอิสลามานุวัตรองค์ประกอบการเล่าเรื่อง มีลักษณะสำคัญคือ การร้อยเรียงเหตุผลของโครงเรื่องตามโลกทัศน์อิสลาม การสร้างสรรค์แก่นเรื่องบนฐานรากของหลักคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม โดยพบว่าตัวละครเป็นองค์ประกอบที่ได้รับการอิสลามานุวัตรมากที่สุด ได้แก่ การสร้างสรรค์ลักษณะการปรากฏตัวของตัวละครหญิง การสร้างค่านิยม ความเชื่อและความศรัทธา รวมทั้งลักษณะการแต่งกายตามศาสนบัญญัติอิสลาม ทั้งยังพบว่าผู้ผลิตมีการปรับกลวิธีการนำเสนอฉากที่ผิดบาปด้วยการลดทอนรายละเอียดและระยะเวลาในการนำเสนอด้วย ส่วนในด้านทัศนคติของผู้ชมพบว่า ผู้ชมจะมีการพิจารณาองค์ประกอบของละครในแง่ของความถูกต้องตามหลักศาสนาร่วมด้วยเสมอ โดยผู้ชมมีความเห็นว่าฉากที่ผิดบาป เช่น ฉากสถานบันเทิง และฉากการอยู่ด้วยกันเพียงลำพังของชายหญิง รวมทั้งการกำหนดให้นักแสดงหญิงมุสลิมมารับบทคนต่างศาสนิก ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการนำเสนอองค์ประกอบละครที่ไม่สอดคล้องกับศาสนบัญญัติอิสลาม |
Other Abstract: | This research aims to study the features of Islamic Television Drama in Thailand which were broadcast on Modernine Television Station and Muslim White Channel on Cable TV, and to study the Islamization and relations between Islamic Doctrines and the Narrative components through narrative analysis of three Islamic Television Dramas in Thailand. Furthermore, interviews of Islamic artists, religion specialists, television drama producers are conducted. Opinions of audiences of Islamic Television Dramas, which are catagorized into 3 groups, are conducted through focus group and interview. The research results manifest that the features of Islamic Television Drama in Thailand depend on the viewpoint factors of producers related on the relations between the world of drama and the world of Islamic doctrines. Significant features of Islamic Television Dramas in Thailand, reflecting from plots and themes are mainly focused on the gratitude expression to one’s mother. Romantic relationship between a hero and a heroine is rare. Muslim heroes as well as heroines are presented as single persons with no-love interest. Additionally, characters often resolve conflicts by asking for blessings from Allah, according to the Islamic Perspective. Islamization of narrative components are seen as plots that are reflected the mixture of secular circumstance and Islamic Perspective. Themes present foundation of Islamic morality and ethics. Islamization is significantly recognized in characterization which can be seen in appearance of the female characters, the creation of values, belief and faith, and dressing features of the characters. Besides, Islamization of settings is presented by reducing details and time duration in sinful scenes. Regarding audiences views, their preferences of dramatic elements are constantly relied on religious doctrines. Accordingly, it was agreed that immoral scenes such as entertainment venue scenes and scenes where a woman being alone with a man in one room are considered inappropriate. Likewise, a female Muslim actress should not take a role of a non-Muslim character since it does not conform to Islamic Doctrines. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43206 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.743 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.743 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584704928.pdf | 12.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.