Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43344
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาสกร วัธนธาดา | en_US |
dc.contributor.author | แก้วขวัญ ลีลาตระการกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:37:24Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:37:24Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43344 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดูผลจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อการทดสอบความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกด้วยวิธีการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบไอโซไคเนติกโดยใช้ท่าทดสอบที่ต่างกัน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นบุคคลสุขภาพดี 264 ราย เพศชาย 132 ราย และเพศหญิง 132 ราย มีอายุระหว่าง 18 - 30 ปี ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทดสอบความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกขาถนัด และไม่ถนัดด้วยเครื่องไอโซไคเนติกในท่านอนตะแคง และท่ายืน ที่ความเร็วเชิงมุมคงที่ 60o/s โดยการออกแรงระดับสูงสุดต่อเนื่องกัน 5 ครั้ง เป็นจำนวน 2 ชุดต่อข้าง ระหว่างชุดพัก 2 นาที นำเสนอข้อมูลเป็นความแข็งแรงเฉลี่ย (N.m) ความแข็งแรงสูงสุด (N.m) ความแข็งแรงเฉลี่ยต่อน้ำหนัก (N.m.kg-1) และความแข็งแรงสูงสุดต่อน้ำหนัก (N.m.kg-1) ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างค่าความแข็งแรงระหว่างขา และท่าการทดสอบโดยใช้ two-way ANOVA กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าความแข็งแรงเฉลี่ย ความแข็งแรงสูงสุด ความแข็งแรงเฉลี่ยต่อน้ำหนัก และความแข็งแรงสูงสุดต่อน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกทั้งเพศชาย และหญิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างขา และท่าการทดสอบ ยกเว้นค่าความแข็งแรงเฉลี่ย และความแข็งแรงเฉลี่ยต่อน้ำหนักกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกางสะโพกเพศหญิง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับค่าความแตกต่างระหว่างท่านอนตะแคง และท่ายืน พบว่าความแข็งแรงทั้งสองกลุ่มกล้ามเนื้อในท่านอนตะแคง มากกว่าท่ายืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นค่าความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกางสะโพกเพศหญิงที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการทดสอบความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกในท่านอนตะแคง ได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของโลกมากกว่าท่ายืน โดยเฉพาะความแข็งแรงกล้ามเนื้อหุบสะโพก ดังนั้นก่อนการทดสอบความแข็งแรงกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกด้วยเครื่องไอโซไคเนติกควรพิจารณาผลของแรงโน้มถ่วงของโลกต่อท่าการทดสอบ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to examine the effect of gravity on isokinetic strength of hip abduction and adduction on different testing positions. Two hundred and sixty-four healthy subjects; 132 male subjects, 132 female subjects, age range from 18 to 30 years were selected by purposive sampling. Hip abduction and adduction strength of dominant and non-dominant legs were measured by isokinetic device in side-lying and standing positions with 5 movements of maximum effort on 2 sets with 2-minute rest between a set at angular velocity of 60o/s. Average torque (N.m), peak torque (N.m), average torque per body weight (N.m.kg-1) and peak torque per body weight (N.m.kg-1) were presented with mean and standard deviation. The difference of muscle strength between legs and positions were analyzed by two-way ANOVA, with statistical significant level at 0.05. The results of this study showed that average torque, peak torque, average torque per body weight and peak torque per body weight of hip abduction and adduction of both genders were not statistical significance between legs and positions except, statistical significance on average torque and average torque per body weight of hip abductor in females. Comparison between strength on side-lying and standing positions showed that strength in side-lying position was higher than strength in standing position with statistical significance except for hip abductor strength in females. The results indicated that strength of hip abduction and adduction in side-lying was more influenced from gravity than the ones in standing position, obviously in hip adduction. Therefore, isokinetic testing positions for hip abduction and adduction should be concern on gravitational effect. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.788 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แรงโน้มถ่วง | |
dc.subject | ไอโซคิเนติก (การฝึกกำลัง) | |
dc.subject | Isokinetic exercise | |
dc.title | การศึกษาผลจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่จะมีต่อค่าความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการกาง และหุบสะโพกที่ทำการวัดด้วยเครื่องไอโซไคเนติกระหว่างท่านอนตะแคง และท่ายืน | en_US |
dc.title.alternative | A STUDY ON THE EFFECT OF GRAVITATIONAL FORCE ON ISOKINETIC STRENGTH OF HIP ABDUCTION AND ADDUCTION BETWEEN SIDE-LYING AND STANDING POSITIONS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | spmed.chula@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.788 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5474179730.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.