Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43361
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม ระยะหลังการรักษาครบ
Other Titles: FACTORS PREDICTING HEALTH PROMOTING BEHAVIORS OF BREAST CANCER SURVIVORS IN EXTENDED SURVIVORSHIP
Authors: จารุวรรณ ป้อมกลาง
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ratsiri99@gmail.com
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง
การส่งเสริมสุขภาพ
Breast -- Cancer
Health promotion
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์และปัจจัยทำนาย ระหว่าง ระดับการศึกษา รายได้ ภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2006) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษาแล้วเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จำนวน 259 คน ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และศูนย์มะเร็งลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .83, .85, .88, .83, .85, .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับดี ( = 80.92, SD= 8.31) 2. รายได้ (r= .13) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต (r= .80) การรับรู้ประโยชน์(r= .47) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r= .54) การสนับสนุนทางสังคม (r= .50) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้อุปสรรค และภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p< .05) 3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในอดีต (β= .67) การรับรู้ประโยชน์ (β= .16) การรับรู้อุปสรรค (β= -.09) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β= .12) และการสนับสนุนทางสังคม (β= .09) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to examine health promoting behaviors, its correlations and predictive factors between education level, income, depression, prior related behavior, perceived benefits, perceived self-efficacy, perceived barriers, social support and health promoting behaviors of breast cancer survivors in extended survivorship. A conceptual framework used in this study was the Health Promotion Model (Pender, 2006). The subjects wers 259 surviors of breast cancer at 1 month post-treatment and thereafter, undergoing treatment at the Out-Patient Department of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Faculty of Medicine Vajira Hospital and Lopburi Cancer Center. Questionnaires were used to collect personal data, prior related behavior, perceived benefits, perceived self-efficacy, perceived barriers, social support, depression and health promoting behaviors. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of expert. Their Cronbach’s alpha coefficients were .83, .85, .88, .83, .85, .91 and .88 respeclively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The major findings were as follows: 1) Health promoting behaviors of breast cancer survivors in extended survivorship was at good level ( = 80.92, S.D. = 8.31). 2) Income (r= .13), prior related behavior (r= .80), perceived benefits (r= .47), perceived self-efficacy (r= .54) and social support (r= .50) were significantly and positively related to health promoting behaviors of breast cancer survivors (p< .05). Perceived barriers and depression were significantly and negatively related to health promoting behaviors of breast cancer survivors (p< .05). 3) Prior related behavior (β= .67), perceived benefits (β= .16), perceived self-efficacy (β= .12), perceived barriers (β= -.09) and social support (β= .09) were significant predictors of health promoting behaviors of cancer survivors in extended survivorship (p< .05). They explained 75 percent of the variance in health promoting behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43361
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.828
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.828
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477156836.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.