Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43364
Title: ปัจจัยทำนายการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: FACTORS PREDICTING HUMAN PAPILLOMA VIRUS VACCINE UPTAKE OF HIGH SCHOOL FEMALE STUDENTS, BANGKOK METROPOLLIS
Authors: ทวิภัค หาญคำภา
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ratsiri99@gmail.com
Subjects: ปากมดลูก -- มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
ปากมดลูก -- มะเร็ง
การส่งเสริมสุขภาพ
Cervix uteri -- Cancer -- Prevention and control
Cervix uteri -- Cancer
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Case Control Retrospective Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพของ Becker (1974) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มควบคุม เป็น บิดา มารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จำนวน 290 คน และ 2) กลุ่มศึกษา เป็น บิดา มารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อย่างน้อย 1 เข็ม จำนวน 110 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกโรงเรียนมา 5 โรงเรียนและสุ่มห้องเรียนในแต่ละชั้น ม.4, ม.5 และ ม.6 มาชั้นละ 3 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศ 3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก 4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก 5) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 6) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อHPV และ 7) แบบสอบถามการประเมินการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยแบบสอบถามส่วนที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .80, 1.00, .80, 1.00, และ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .70, .75, .60, .74 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยทำนายระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t- test และสถิติการจำแนกกลุ่มด้วย Model Logistic Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่สามารถทำนายการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV ในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 3 ปัจจัยคือ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก (OR = 2.98) การรับรู้ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (OR= 2.60) และการรับรู้อุปสรรคของการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (OR= 0.22) ส่วนปัจจัยด้าน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก (OR = 0.87) ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศ (OR= 0.87) และระดับการศึกษา ของบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง (OR =1.36) พบว่า ไม่สามารถทำนายการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV ได้ สมการถดถอยโลจิสติคสามารถทำนายการนำบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ถูกต้องร้อยละ 32.70 และทำนายกลุ่มที่ไม่รับการฉีดวัคซีนได้ถูกต้องร้อยละ 93.40 โดยเฉลี่ยแล้วสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 76.80
Other Abstract: This case control retrospective study aimed to identify factors predicting the uptake of Human Papilloma Virus (HPV) vaccine among high school female students in Bangkok Metropolitan area. The concept of Health Belief Model of Becker (1974) was used as a conceptual framework. The sample were divided into 2 groups: 1) a control group consisted of 290 parents of senior high school female students who have not received the HPV vaccine, 2) a study group consisted of 110 parents of senior high school female students who have received the HPV vaccine at least one shot. Five schools were selected. Then 3 classrooms from Mathayom 4, 5 and 6 of each school were randomly selected. The research tool consisted of 7 sets of questionnaires: 1) Personal Information, 2) Influence of HPV vaccine on sexual behavior, 3) Perceived Risk of Cervical Cancer, 4) Perceived on Severity of Cervical Cancer, 5) Perceived Benefits of HPV Vaccine, 6) Perceived on the Barriers to HPV Vaccine, and 7) Estimation of the Uptake of HPV Vaccine. Their content validity were verified by 5 experts and the content validity index were .80, 1.00, .80, 1.00, and 1.00., respectively. Their Cronbach’s coefficient alpha were 70, .75, .60, .74 and .70 respectively. Data were respectively analyzed using frequency, percentage, mean, independent t- test and model logistic regression. The findings showed that 3 factors significantly predicted the Human Papilloma Virus vaccine uptake of high school female students in Bangkok Metropolitan area (p < .05). They were perceived severity of cervical cancer (OR = 2.98), perceived benefits of HPV (OR = 2.60), and perceived barriers to HPV vaccine (OR = 0.22). However, perceived risk of cervical cancer (OR = 0.87), influence of HPV vaccine on sexual behavior (OR = 0.87), and education level of parents (OR = 1.36) could not significantly predict the uptake of HPV vaccine. Logistic regression equation can significantly predict the uptake of HPV vaccine at 32.70 % and predict the non-uptake at 93.40 %, resulting in the correct prediction 76.80 %.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43364
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.831
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477164836.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.