Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43371
Title: | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในภาคใต้ |
Other Titles: | FACTORS RELATED TO PREVENTIVE BEHAVIOR IN YOUNG ADULTS AT HIGH RISK OF STROKE IN THE SOUTH |
Authors: | พรสวรรค์ คำทิพย์ |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | jchanokp@hotmail.com |
Subjects: | หลอดเลือดสมอง -- โรค หลอดเลือดสมอง -- โรค -- การป้องกันและควบคุม Cerebrovascular disease Cerebrovascular disease -- Prevention and control |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันในผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลรัฐบาลในเขตภาคใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 18-45 ปีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และ/หรือโรคหัวใจ ที่มารับบริการที่คลินิกอายุรกรรมผู้ป่วยนอก จำนวน 150 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักรู้ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .85, .83และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการป้องกันอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.67 ( ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน=3.52) 2.เพศ อายุ และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .19, .19และ.23 ตามลำดับ ) 3.ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .18 และ.23 ตามลำดับ ) 4. สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในเขตภาคใต้ |
Other Abstract: | The purpose of this descriptive correlational research aims to 1) study the level of preventive behaviors in young adults patients at high risk of stroke; and 2) to relate the preventive behaviors among young adults patients at high risk of stroke based on patient’s gender,age,marital status,education level,income,experience,stroke knowledge and stroke belief. A simple random sampling technique was used to recruit 150 patients who were at high risk of stroke. Samples were diagnosed with high blood pressure, diabetes, high cholesterol and heart disease from two hospitals in the Southern part of Thailand. The research instruments composed of the demographic questionnaire, stroke knowledge questionnaire, stroke belief questionnaire, and stroke behavioral awareness questionnaire. The questionnaires were approved by experts. The Cronbach’s alpha coefficients reliability were .85 .83 , and .84 respectively. Statistical techniques used in data analysis were frequency percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and Point biserial correlation. Major findings were as follows: 1. The average preventive behaviors score in young adults patients at high risk of stroke was at the moderate level. The average total score was 23.67 (SD=3.52) 2. Gender, age and experience were significantly related to preventive behaviors among young adults patients at high risk of stroke in the southern at the .05 level(r = .19, .19 and.23 ) 3. Stroke knowledge and stroke belief were positive significantly related to preventive behaviors among young adults patients at high risk of stroke in the southern at the .05 level (r = .18 and.23 ) 4.Marital status,education level and income were not significantly related to preventive behaviors among young adults patients at high risk of stroke in the southern. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43371 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.839 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.839 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477177036.pdf | 4.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.