Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43381
Title: | ผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ |
Other Titles: | THE EFFECT OF PERCEIVED BENEFITS OF ANTICOAGULANT MEDICATION PROGRAM ON MEDICATION ADHERENCE IN VALVULAR REPLACEMENT PATIENTS |
Authors: | อรกมล เพ็งกุล |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | noralukuakit@yahoo.com pachanut.t@chula.ac.th |
Subjects: | ลิ้นหัวใจ -- ผู้ป่วย ศัลยกรรม Heart valves -- Patients Surgery |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมโรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 23 คน โดยการจับคู่ตัวแปร อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ (Pender, 2006) โดยมีรูปแบบของการให้การพยาบาลทางไกลโดยใช้โทรศัพท์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยา ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาและแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ของครอนบาค เท่ากับ .62 และ .70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of perceived benefits of anticoagulant medication program on medication adherence in patients with valvular replacement. Forty-six post-operative adult with valvular replacement taking anti-coagulant medication visited the out-patient clinic of heart and thoracic surgery, the Police General Hospital. The participants were assigned to the experimental and control groups (23 for each group). The control group received a usual care while the experimental group received an intervention regards to perceived benefits of anticoagulant medication program, using the perceived benefits of action influencing health behaviors according to the Health Promotion Model (Pender, 2006), by using Telephone Health Nursing to promote adherence. The program was conducted for 8 weeks. The questionnaires consisted of demographic information, perceived benefits of anticoagulant medication questionnaire, and medication adherence questionnaire. The reliabilities (Cronbach’s alpha) of the medication adherence questionnaire and the perceived benefits of anticoagulant medication questionnaire were .62 and .70, respectively. Percent, mean, standard deviation, and independent t-test were used to analyze data. The results revealed that: 1. The mean of medication adherence score, after participating in the perceived benefits of anticoagulant medication program, was significantly higher than that before participating in the program at the statistical level of .05. 2. The mean of medication adherence score, after participating in the perceived benefits of anticoagulant medication program in the experimental group, was significantly higher than that in the control group at the statistical level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43381 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.849 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.849 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477203636.pdf | 5.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.