Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43412
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คณพล จันทน์หอม | en_US |
dc.contributor.author | วริศรา สุรเดช | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:37:57Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:37:57Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43412 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐต่างชาติในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางแก่สังคมนานาชาติ โดยที่ประเทศต่างๆ ไม่สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ปราบปรามได้อย่างเหมาะสม ประเทศต่างๆ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมกันต่อต้านพฤติกรรมการทุจริตรูปแบบใหม่นั้นในระดับนานาชาติ และนำมาสู่แนวคิดการบัญญัติให้การให้สินบนในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศความผิดอาญา ซึ่งสำหรับกรณีประเทศไทย การเติบโตของภาคการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันได้เพิ่มช่องทางและโอกาสที่ผู้ประกอบธุรกิจไทยจะแสวงหาประโยชน์โดยจ่ายสินบนให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐต่างชาติ แต่กฎหมายอาญาที่มีอยู่กลับมีขอบเขตบังคับใช้ได้แก่การให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่ประเทศไทยไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการกระทำทุจริตดังกล่าวได้เลยไม่ว่าในทางใด ตามหลัก “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” ด้วยเหตุดังกล่าวจึงจำเป็นต้องศึกษาแนวคิดการต่อต้านการให้สินบนในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศโดยการบัญญัติให้เป็นความผิดอาญา โดยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการให้สินบนข้ามชาติและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ได้แก่ อนุสัญญาต่อต้านการให้สินบนในการประกอบธุรกิจของ OECD กับของสหประชาชาติ ตลอดจนกฎหมายของต่างประเทศที่มีจุดเด่นน่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการบัญญัติความผิดดังกล่าวที่สอดคล้องเหมาะสมระบบกฎหมายไทยในประเด็นต่างๆ ได้แก่ รูปแบบการบัญญัติความผิด ประเด็นเกี่ยวกับองค์ประกอบความผิด บทลงโทษทางอาญา และเขตอำนาจลงโทษของศาล ทั้งนี้ ความผิดฐานใหม่นั้นต้องมีเนื้อหาสอดคล้องตามแนวทางที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยควรออกกฎหมายและบัญญัติความผิดอาญาสำหรับการให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐต่างชาติในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายอาญาที่เด็ดขาดและเหมาะสมสำหรับการป้องกันและปราบปรามการให้สินบนในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศที่กำลังเป็นปัญหาความกังวลระดับนานาชาติได้อย่างเหมาะสม | en_US |
dc.description.abstractalternative | Bribery to foreign public officials in an international business is a transnational corruption that widely causes damages to nations, including their economic security and competitive markets, but cannot be properly prosecuted and punished by an old-fashioned anti-bribery law. Due to this problem, concept of criminalizing foreign bribery was raised in an international stage for combatting that specific crime. As for Thailand, since the growth of international commerce is continuing, Thai businessmen have more opportunities to compete in foreign markets, and hence the increasing opportunity to international bribing. However, the existing anti-bribery provisions in the Penal Code, Section 144 and Section 167, are only limited to bribing domestic officials, so Thai authorities cannot prosecute such crimes committed by Thais according to the proverb “nullum crimen, nulla poena, sine lege.” In this regard, a study on the concept of criminalization of bribery to foreign public officials in an international business is required. This research is to compare and analyze conventions related to the issue in terms of international standard, those are the OECD Convention on Combatting Bribery of Foreign Public Officials in International Business Transactions 1997 and the United Nations Convention against Corruption 2003, domestic laws of the United States, the United Kingdoms, and Singapore as local prohibitions and usages in order to provide guidelines for establishing a new offense in Thai law. As the result, Thailand should enact a statue as well as penalizing a foreign bribery practically in the light of universal concept in order to establish offense which is appropriate to the international-level crime. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.880 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมข้ามชาติ | |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ | |
dc.subject | สินบน | |
dc.subject | Transnational crime | |
dc.subject | International business enterprises | |
dc.subject | Bribery | |
dc.title | การกำหนดความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานรัฐของต่างชาติในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ | en_US |
dc.title.alternative | CRIMINALIZATION OF BRIBERY TO FOREIGN PUBLIC OFFICIALS IN INTERNATIONAL BUSINESS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | kanaphon.c@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.880 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486032034.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.