Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43442
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธนิสร วรฉัตรธาร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:38:21Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:38:21Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43442 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการนำแนวคิดทางการตลาดใหม่ๆเข้ามาใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน แนวคิดสำคัญประการหนึ่งคือ การวิเคราะห์ลักษณะวัฏจักรชีวิตของครอบครัว (Family Life Cycle) เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย และสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ตรงกับความต้องการและความสามารถในการจ่ายในแต่ละช่วงชีวิต ของผู้บริโภคได้ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและที่อยู่อาศัยทั้งในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้อยู่อาศัย ผลการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่การเสนอแนะในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับความต้องการของครัวเรือน การศึกษานี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) สำนักงานใหญ่ จำนวน 218 ตัวอย่าง ใช้การสอบถามแบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ผลโดยแบ่งตามช่วงอายุของครัวเรือน ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ พนักงาน กฟผ. มีลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และที่อยู่อาศัยดังนี้ คือ ส่วนใหญ่มีสถานภาพแต่งงานและมีบุตรแล้ว (48.6%) มีบุตรเฉลี่ย 2 คน (59.6%) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน (30.6%) มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือน 120,001-200,000 บาท (27.3%) ด้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยว (76%) ในเขตพื้นที่กทม. (43.7%) ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท (30.6%) และมีระยะเวลาอาศัยอยู่ในช่วง 0-10 ปี (46.5%) และเมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ 4 ช่วงอายุคือ 21-30 ปี, 31-40 ปี, 41-50 ปี และ 51 ปีขึ้นไป พบข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้ ช่วงอายุ 21-30 ปีและ 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ที่เหลือส่วนใหญ่แต่งงานและมีบุตรแล้ว นอกจากนี้ พบว่า แต่ละช่วงมีระดับรายได้ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไปจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดคือ 120,001-200,000 บาท นอกจากนี้ ลักษณะที่อยู่อาศัยจะไม่แตกต่างกันมากนัก คือ พักอาศัยในบ้านเดี่ยว แต่มีระดับราคาที่แตกต่างกันตามระดับรายได้ของแต่ละช่วงอายุ จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย 2 ลักษณะ คือ การย้ายที่อยู่อาศัย และการต่อเติมที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีการย้ายที่อยู่อาศัยมากถึง 67.2% โดยส่วนใหญ่ย้าย 1 ครั้ง มากที่สุด 52% รองลงมาคือ 2 ครั้ง 30.9% และมากว่า 2 ครั้ง 17.1% สำหรับเหตุผลสำคัญของการย้าย 1 ครั้งคือ คือ แต่งงาน และย้ายเข้าใกล้ที่ทำงาน ตามลำดับ สำหรับกลุ่มคนที่ไม่ย้ายที่อยู่อาศัย จะใช้วิธีการต่อเติมแทน คิดเป็น 62% และมักต่อเติมมากที่สุด 1 ครั้ง (66.7%) โดยต่อเติมครัว (33.3%) เนื่องจาก ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น (66.7%) ซึ่งใน 4 ช่วงอายุมีจำนวนการย้ายมากที่สุด 1 ครั้ง รองลงมาคือ 2 ครั้งและมากกว่า 2 ครั้ง ยกเว้นในช่วงอายุ 21-30 ปีที่จำนวนการย้ายมากกว่ากว่า 2 ครั้งที่มีมากกว่า และจากการวิเคราะห์ลักษณะการย้ายที่อยู่อาศัย ในช่วงที่มีการย้ายมากที่สุดคือ 1 ครั้ง นั้น พบว่า ทั้ง 4 ช่วงอายุมีลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคมขณะที่ย้าย ไม่แตกต่างกัน คือ มีสถานะโสด มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่ำกว่า 40,000 บาท พักอาศัยอยู่บ้านเดี่ยว อย่างไรก็ตาม มีเพียงช่วงอายุ 21-30 ปีที่มีความแตกต่างกันคือระดับราคาที่อยู่อาศัย 1-2 ล้านบาทซึ่งมากกว่าช่วงอายุอื่น สาเหตุในการย้ายที่อยู่อาศัยที่ย้ายตามบิดามารดา แต่ในช่วงอายุอื่นย้ายเพราะแต่งงาน อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือจำนวนการย้ายที่อยู่อาศัยและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของช่วงอายุนี้ แตกต่างจากช่วงอายุอื่นที่มีจำนวนการย้ายที่มากกว่าและยังมีความต้องการที่จะย้ายที่อยู่อาศัยอีก ซึ่งในช่วงอายุอื่นไม่มีความสนใจที่จะย้ายที่อยู่อาศัยแล้ว ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของพนักงาน กฟผ. ชี้ให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งมีทั้งย้ายและต่อเติมที่อยู่อาศัย และเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับวัฏจักรชีวิตครอบครัว ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าว สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนการตลาดของผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนด้านที่อยู่อาศัย ให้สอดคล้องกับลักษณะครัวเรือนและความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงอายุซึ่งมีความแตกต่างกัน รวมถึง หน่วยงาน กฟผ. จะได้นำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแนวทางพัฒนาสวัสดิการที่อยู่อาศัยให้พนักงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Currently, the real estate business has employed new marketing strategies to enhance competitiveness, one of which is the Family Life Cycle concept. This concept is used to analyze housing changes so that the developer can meet the customer’s needs and affordability. This study aims to investigate the past, the present and the future of the economic, social and housing backgrounds and analyze factors that affect residents. The findings can be used as guidelines for developing housing in line with the household requirements. The subjects in this study were 218 employees of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) at the headquarters. The study was conducted by using a structured questionnaire and the results were analyzed according to the employees’ age ranges. The findings revealed that in terms of economic, social and housing aspects, most of the employees were married with children (48.6%), on average most of whom had 2 children. There were 4 members in the family (30.6%) and the household income averaged 120,001-200,000 baht a month (27.3%). Most of them (76%) lived in a detached house in Bangkok (43.7%) and paid 3-5 million baht for their house (30.6%). The duration of their stay was 0-10 years (46.5%). The employees’ ages could be grouped into 4 categories: 21-30, 31-40, 41-50 and over 51 years old. While most of the first and second were single, the other two were married and had children. The average income also varied. The fourth category earned the highest from 120,001 to 200,000 baht a month. However, most of the employees live a detached house within a various price range. According to the analysis of housing changes, there were two types: relocation and extension. 67.2% of the employees relocated to a new house, once being ranked most (52%) followed by twice (30.9%) and more than twice (17.1%). The reasons for one-time relocation were getting married and moving closer to the office respectively. The others (62%) added an extension to their house once the most (66.7%). They expanded the kitchen (33.3%) because they needed a more functional area (66.7%). The number of those who relocated more than twice and were 21-30 years old was higher than that of the other age groups. Among those who relocated once, their economic and social backgrounds were about the same during the relocation, that is, they were single, had 4 family members and earned less than 40,000 baht. They also lived in a detached house. Those aged 21-30 years old paid 1-2 million baht for their house and this age group paid more than the other age groups. They moved because their parents moved while the other age groups moved because they were married. The 21-30 age group would like to relocate more than the others. The results obtained from this study indicate that the housing changes of the EGAT employees can be either relocation or extension to their current house. The reasons for the changes are related to their family life cycle. These findings can be used as guidelines for real estate developers to launch marketing strategies to meet the needs of the household and of the consumers with different age groups. The EGAT can also use these findings to provide proper housing welfare for its employees. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.906 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การย้ายที่อยู่อาศัย | |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | |
dc.subject | Relocation (Housing) | |
dc.subject | Dwellings -- Maintenance and repair | |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของครัวเรือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ:กรณีศึกษา พนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสาขาสำนักงานใหญ่ | en_US |
dc.title.alternative | HOUSING CHANGES OF THE STATE ENTERPRISE EMPLOYEE HOUSEHOLDS : A CASE STUDY OF THE EMPLOYEE OF ELECTRICITY GENERATING AUTHORITY OF THAILAND IN THE HEADQUARTER OFFICE. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | kundoldibya.p@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.906 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573351125.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.