Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43447
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์en_US
dc.contributor.authorธารณี กฤติยาดิศัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:24Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:24Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43447
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractท่ามกลางการขยายตัวของธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์หรือศูนย์การค้าชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุและคนพิการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลออกกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงกำหนด ลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคารเพื่อคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555 ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้มีการออกกฎกระทรวงดังกล่าวขึ้นมา แต่การจัดให้มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารศูนย์การค้าชุมชน ยังไม่ได้มาตรฐาน คนพิการ ผู้สูงอายุ รวมถึง เด็ก และสตรีมีครรภ์ ยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการเข้าถึง การเข้าใช้พื้นที่ การใช้งาน ลักษณะและปัญหาทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกของกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและสตรีมีครรภ์ และกลุ่มคนพิการ ภายในศูนย์การค้าชุมชนที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2548 กรณีศึกษา J Avenue และ ศูนย์การค้าชุมชนที่ก่อสร้างภายหลังปี พ.ศ. 2548 กรณีศึกษา The Crystal โดยเน้นไปที่การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มเด็กและสตรีมีครรภ์โดยเน้นสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่มากับเด็กอายุตั้งแต่ 0-5 ปี จำนวนกลุ่มละ 16 คน การใช้เครื่องมือจำลองสภาพผู้สูงอายุและเชิญผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนพิการทางด้านการเคลื่อนไหวและทางด้านการมองเห็นเข้าสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาแนวทางในการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคน สำหรับศูนย์การค้าชุมชนที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุมีการใช้พื้นที่ได้ตามปกติ แต่มีความเสื่อมถอยทางสรีรวิทยาซึ่งส่งผลต่อการใช้พื้นที่ โดยผู้สูงอายุเน้นการเข้าสู่พื้นที่อย่างปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ใช้ห้องน้ำทั่วไปและไม่นิยมใช้ห้องน้ำคนพิการจากทัศนคติทางลบ กลุ่มเด็กและสตรีมีครรภ์เน้นการเข้าถึงพื้นที่ของรถเข็นเด็ก และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็ก อาทิเช่น จุดเปลี่ยนผ้าอ้อม ห้องให้นมเด็ก และห้องน้ำสำหรับเด็กที่ผู้ปกครองทั้งพ่อและแม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ซึ่งถือเป็นความต้องการเฉพาะกลุ่ม กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวเน้นการปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับคนพิการ ส่วนคนพิการทางการมองเห็นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยเน้นการให้ข้อมูลข่าวสาร การจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น อุปกรณ์อัตโนมัติ การเตือนด้วยเสียง เป็นต้น และการบริการให้ความช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล เข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงอาคารและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายในศูนย์การค้าชุมชน ควรมีการครอบคลุมถึงทุกคน รวมถึงความต้องการเฉพาะและความต้องการโดยร่วมในแต่ละกลุ่มคน นอกเหนือจากกฎกระทรวงที่กล่าวมาข้างต้น แบ่งได้เป็น 1.) ด้านการเข้าถึง : จัดให้มีที่จอดรถที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนพิการ และจัดให้มีป้ายแผนผังอาคารต่างสัมผัสที่มีรูปนูนสูงหรือนูนต่ำเพื่อบอกตำแหน่ง ป้ายสำหรับเด็ก และป้ายเฉพาะจุด 2.) ด้านความปลอดภัย : สำหรับทางลาดให้จัดทำราวจับแบบ 3 ระดับเพื่อคนทุกคน สำหรับบันไดให้จัดทำราวจับแบบ 2 ระดับ สำหรับผู้สูงอายุ และเด็กในการช่วยพยุงตัว 3.) ด้านการใช้งาน : จัดห้องส้วมสำหรับผู้สูงอายุและเด็กภายในห้องน้ำทั่วไป ห้องน้ำสำหรับเด็กและผู้ปกครองแยกออกมาจากห้องน้ำทั่วไป ห้องให้นมเด็ก และจุดเปลี่ยนผ้าอ้อม อีกทั้งจัดเปลี่ยนชื่อและสัญลักษณ์ห้องน้ำคนพิการเป็น “ห้องน้ำ (Toilet)” พร้อมภาพสัญลักษณ์ สตรีมีครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุและคนพิการเพื่อให้เกิดความรู้สึกยอมรับและไม่เป็นการตอกย้ำจุดบกพร่องของคนเฉพาะกลุ่ม งานวิจัยในครั้งต่อไปควรมีการศึกษาถึงความเหมาะสมในการเข้าถึงและการเข้าใช้พื้นที่ของคนทุกคนโดยไม่แบ่งแยกไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งภายในอาคารพาณิชย์หรืออาคารสาธารณะประเภทอื่นๆ เพื่อให้แนวความคิดการออกแบบสำหรับทุกคน (Universal Design) นั้นสามารถนำไปปฎิบัติได้จริงในทุกพื้นที่en_US
dc.description.abstractalternativeThe numbers of community malls or small department stores in Bangkok are rising rapidly. The number of elderly people and disabled people are also increasing. Consequently, the ministerial regulations indicate that facilities in buildings for disabled, deformed and elderly should be provided by 2548 BE. The ministerial regulations specify that facilities to assist people with disabilities should be provided by 2555 BE. Although the ministerial regulations have been published, these kinds of facilities in community malls still are still sub-standard. Disabled people, elderly people, children, and pregnant women are still not provided adequate facilities. The purpose of this study is to examine the process of using area accessibility, and the physical problems of these facilities for elderly people, children, and pregnant women in community malls which were built before 2548 BE (case study - J avenue) and community malls built after 2548 BE (case study– The crystal). The interview was focused on the elderly above the age of 60. In regards to concerns for children and pregnant women, the interview was focused on parents accompanying children of ages from 0-5 years old, 16 persons per group. Technology and expertise to simulate the experiences of the elderly and disabled populations were used to better understand these facilities. All information is gathered using relevant theories in order to find the solution for improving facilities in buildings and community malls. The study found that elderly people can access the mall properly but their state of health is affected. Safety is the major concern for the elderly. In regards to children and pregnant women, the main concern is about access to a pram and assisted facilities for children, such as changing stations and family toilet. Modifications to the overall environment are required for the disabled for instance, the visually impaired require the use of assistive technologies to help adapt themselves to the environment, such as voice machines and other automatic devices. The study suggests that community mall facilities should be designed with all people in mind, especially people with special needs. Apart from the ministerial regulations mentioned above, it can be divided into issues of: 1) accessibility: Car park areas should be designed with access for the elderly, children, pregnant women and the disabled in mind, and touchable layouts of the building for the visually impaired and other specific signs should be provided. 2) Safety : Three lines of hand rails should be built in each ramp area. There should be two lines of hand rails at the stairs for elderly people and children to help them stand properly. 3.) Usage: Toilets for elderly people and children should be included in the normal toilet area, but family toilets changing stations and nursing areas should be built separate from regular toilet facilities. The future study should examine the suitability of access and use in the area for all groups. Future studies can be focus on both commercial and public buildings, to help bring a universal design concept that applies to all areas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.911-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์การค้า -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สิ่งอำนวยความสะดวก
dc.subjectคนพิการ -- สิ่งอำนวยความสะดวก
dc.subjectShopping centers -- Design and construction
dc.subjectOlder people -- Facilities
dc.subjectPeople with disabilities -- Facilities
dc.titleการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคน สำหรับศูนย์การค้าชุมชนen_US
dc.title.alternativeUNIVERSAL DESIGN FACILITY FOR COMMUNITY MALLen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortrirat.j@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.911-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573556525.pdf12.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.