Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43451
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์en_US
dc.contributor.authorภัสสร์ชญาณ์มน เพรสคอทท์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:28Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:28Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43451
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractเนื่องจากในปัจจุบันผุ้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีและผู้สูงอายุเหล่านี้มีปัญหาสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อมซึ่งจะส่งผลต่อความทรงจำและมีผลต่อการดำเนินชีวิตโดยสามารถแบ่งภาวะสมองเสื่อมเป็น 3 ระยะตามการดำเนินการของโรค ได้แก่ ระยะแรก ระยะกลางและระยะสุดท้าย ซึ่งผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมได้พักอาศัยในโครงการที่พักอาศัยประเภทสถานดูแลผู้สูงอายุนอกเหนือจากที่บ้าน เช่น สถานสงเคราะห์ สถานบริบาล ซึ่งในปัจจุบันสถานสงเคราะห์ในประเทศไทยมีที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมที่ทรุดโทรมและไม่เหมาะสมกับอาการของโรค และสถานบริบาลในประเทศไทยก็ยังไม่มีมาตรฐานหรือกฎหมายรองรับ โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ ปัญหาการอยู่อาศัยและศึกษาแนวทางปรับปรุงที่พักอาศัยของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในโครงการที่พักอาศัยประเภทสถานบริบาลและสถานสงเคราะห์ ซึ่งใช้การเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ดูแลและแพทย์ การสังเกต จดบันทึกพฤติกรรมผู้สูงอายุ และถ่ายภาพสถานที่ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุต่อไป จากการศึกษาพบว่าในสถานบริบาลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมอาศัยรวมกับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคอื่นโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ผู้สูงอายุใช้คือ ห้องนอน ทำให้เกิดปัญหาด้านการอยู่อาศัยที่ไม่สอดคล้องกับการกระตุ้นการเรียนรู้และอาการของโรคเนื่องจากผู้สูงอายุสมองเสื่อมระยะแรกจะเกิดอาการเสื่อถอยของภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระยะกลางจะไม่มีการชะลอความเสื่อมและผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระยะสุดท้ายจะไม่มีการกระตุ้นหรือบำบัดอาการเนื่องจากอยู่ในห้องนอนตลอดเวลาและในสถานสงเคราะห์นั้นพบว่าผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมได้อาศัยอยู่ร่วมกันในอาคารเดียวกันทั้งหมด โดยส่วนพักอาศัยเป็นพื้นที่จำกัดขนาดเล็กและไม่มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลให้อาการของโรคทั้ง 3 ระยะไม่ได้รับการกระตุ้นและการบำบัดอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นยังเกิดปัญหากลิ่นจากการขับถ่ายของผู้สูงอายุและปัญหาการระบายอากาศ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในสถานสงเคราะห์และสถานบริบาลจึงควรออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมเหมือนอยู่บ้านโดยจัดพื้นที่ส่วนกลางให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์กันแต่ควรมีการดูแลด้านความปลอดภัย จำกัดบริเวณของโครงการเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเข้าไปยังส่วนอื่นหรือออกภายนอกโครงการซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายและควรแยกส่วนที่พักอาศัยของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมออกมาจากผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคอื่นซึ่งในส่วนของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมก็ควรแยกที่พักของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระยะแรกออกมาจากระยะกลางและระยะสุดท้ายเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระยะแรกเกิดการเสียสุขภาพจิต แต่ยังคงจัดพื้นที่ส่วนกลางให้ทำกิจกรรมร่วมกันได้เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมบำบัด เช่น ดนตรีบำบัด การฝึกใช้สมอง การทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น สำหรับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระยะสุดท้ายนั้นนอกจากการออกแบบสภาพแวดล้อมให้อยู่อย่างสะดวกสบาย อากาศถ่ายเทสะดวกแล้วยังสามารถออกแบบสภาพแวดล้อมโดยใช้กลิ่นบำบัด เช่น กลิ่นไม้หอม สมุนไพร งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวคิดด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมประเภทสถานบริบาลและสถานสงเคราะห์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานวิจัยในอนาคตควรจะมีการศึกษาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทอื่นหรือพื้นที่อื่นๆ เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในทุกพื้นที่และประเภทของที่พักอาศัย หรือศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคและปัญหาสุขภาพลักษณะอื่น เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่พักอาศัยต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeWhile the number of older people in Thailand is growing each year many have poor health conditions, and dementia is common. Dementia can be classified according to the symptoms as they occur in the early, middle or late stages. Elderly people with dementia are often home bound, but some live in elderly care facilities such as residential and nursing homes. However, residential homes in Thailand are often dilapidated and unsuitable for patients with dementia. The purpose of this study is to examine the living conditions, behavior and general issues of seniors with dementia to find out how to improve their living environment in residential or nursing homes. The data were collected in interview, through observation, notes and photographs. The information was analyzed in terms of relevant theory in order to find solutions to improve the living conditions of senior residents. The study revealed that seniors with dementia tend to live in the same area as others with dementia in their nursing homes. This leads to less than optimal living conditions and a lack of opportunities to stimulate learning to counteract the early signs of dementia. Seniors in the middle stage of dementia will tend not to show improvement in learning and those in the later stage will not receive adequate stimulation as they remain bedridden. The study also found that patients in all stages of dementia tend to live in the same area in the nursing home which is often small and cramped. Moreover, no creative spaces or exercise areas are provided. It is suggested that residential homes be designed to be more homelike in order to improve the living environment for seniors with dementia. It is recommended that common areas be provided for residents to engage in activities together to stimulate learning and promote interaction. In addition, seniors with dementia should be integrated with the normal population of elderly in the homes. Furthermore, those in different stages of dementia should be separated. In this way, those in early stage dementia will not be disturbed by those in later stages. A spacious, pleasant, well-ventilated living area for those in later stage dementia should be provided. This thesis suggests that the concept of living environments be creatively designed to cope with seniors with dementia in seniors’ homes in the Bangkok area. Future research might examine other types of accommodation in other provinces so that these concepts can be applied throughout the country and further study could include seniors with other diseases.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.915-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะสมองเสื่อม
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subjectDementia
dc.subjectDwellings -- Design and construction
dc.subjectOlder people -- Care
dc.titleสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeLIVING CONDITION OF ELDERLY IN SENIORS' HOUSING PROJECTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortrirat.j@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.915-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573560025.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.