Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43471
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์en_US
dc.contributor.authorชวลิต ชยางศุen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:39Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:39Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43471
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับแอมฟิเรกูลินในเลือดกับการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปตับ วิธีดำเนินการ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และ/หรือทวารหนักที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 120 ราย โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือด (ซีรั่ม) ก่อนเริ่มการรักษาหลักตามระยะของโรคมะเร็ง เพื่อนำไปตรวจหาระดับแอมฟิเรกูลิน (amphiregulin, AREG) ด้วยวิธี ELISA โดยรายงานผลเป็นหน่วยพิโคกรัมต่อมิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์รวมกับข้อมูลทางคลินิกพยาธิวิทยาของผู้ป่วยแต่ละราย รายงานผลเป็นค่าเฉลี่ยและค่ากลางตามกลุ่มระยะของโรคมะเร็ง หาค่าความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ด้วย ROC curve ในการแยกกลุ่มผู้ป่วยระยะต้นกับระยะแพร่กระจาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดีและการแพร่กระจายไปยังตับ ระหว่างกลุ่มที่มีค่าแอมฟิเรกูลินสูงและต่ำ โดยกำหนดความสำคัญทางสถิติไว้ที่ p=0.05 ผลการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และ/หรือทวารหนักที่เข้าการศึกษา 120 ราย แบ่งเป็นโรคระยะที่ 1-3 จำนวน 78 ราย (ร้อยละ 65.5) และโรคระยะที่ 4 หรือโรคกลับเป็นซ้ำ 41 ราย (ร้อยละ34.5) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคระยะที่ 4 และผู้ป่วยที่โรคกลับเป็นซ้ำ จะมีค่ากลางของระดับแอมฟิเรกูลินเท่ากับ 31.55 pg/mL ซึ่งมีค่าสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคระยะที่ 1-3 ที่มีค่าเท่ากับ 15.48 pg/mL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.001 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีระดับแอมฟิเรกูลินสูง (>25 pg/mL) และกลุ่มที่มีระดับแอมฟิเรกูลินต่ำ (≤25 pg/mL) พบว่ากลุ่มที่มีระดับแอมฟิเรกูลินสูง จะมีความสัมพันธ์กับการมีโรคแพร่กระจายไปยังตับและเยื่อบุผนังช่องท้อง (p<0.001) และสัมพันธ์กับปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดีได้แก่ การมี poor differentiated หรือ mucinous histolgical grade (p=0.014), M1 (p=0.001), lymphovascular invasion (p=0.016) และ perineural invasion (p<0.001) สรุปผลการศึกษา ระดับแอมฟิเรกูลินในเลือด (ซีรั่ม) ที่สูงมากกว่า 25 pg/mL มีความสัมพันธ์กับการมีโรคแพร่กระจายไปตับและเยื่อบุผนังช่องท้อง นอกจากนั้นยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และ/หรือทวารหนักen_US
dc.description.abstractalternativeBackground Amphiregulin (AREG) is one of the epidermal growth factor receptor (EGFR) ligands and play important roles in several tumor progression and metastasis. Upregulations of AREG in colonic carcinoma tissue have been shown to correlate with depth of tumor invasion, nerve invasion and liver metastasis. We sought to investigate a correlation of serum AREG in colorectal cancer with clinicopathological parameters and liver metastasis. Methods Colorectal cancer patients who came to receive treatment at our institute during August 2013 to March 2014 were enrolled. We collected baseline serum prior to start any therapy and stored till analysis. Serum AREG was measured by ELISA using Human Amphiregulin DuoSet (R&D Systems, Minneapolis, MN). The correlation between each independent clinicopathological characteristics and serum AREG was analysed. Results There were 120 patients enrolled to current analysis which included 78 patients (65.5%) with stage I-III and 41 patients (34.5%) in advanced stage. In advanced disease group, the median level of serum AREG was 31.55 pg/mL, which was higher than those of the localized disease group 15.48 pg/mL, p=0.001. With correlation analyses, serum AREG higher than 25 pg/mL (high serum AREG) had significantly correlate with liver and peritoneal metastasis (p<0.001). Additionally, high serum AREG had significant correlation with more poor differentiated/mucinous histolgical grade (p=0.014), M1 (p=0.001), lymphovascular invasion (p=0.016) and perineural invasion (p<0.001). Conclusion High serum AREG (>25 pg/mL) has correlation with liver and peritoneal metastasis and has a potential impact as a prognostic marker in colorectal carcinoma.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.938-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วย
dc.subjectมะเร็ง -- การรักษา
dc.subjectCancer -- Patients
dc.subjectCancer -- Treatment
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแอมฟิเรกูลินในเลือดกับการแพร่กระจาย ของมะเร็งไปตับ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativeSERUM AMPHIREGULIN IN COLORECTAL CARCINOMA AND THE CORRELATION WITH LIVER METASTASIS IN KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvsmdcu40@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.938-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574120730.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.