Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43610
Title: ECONOMIC EVALUATION OF LONG ACTING ANTIPSYCHOTIC INJECTION IN SCHIZOPHRENIA
Other Titles: การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นในผู้ป่วยจิตเภท
Authors: Osot Nerapusee
Advisors: Rungpetch Sakulbumrungsil
Pudtan Phanthunane
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: rungpetch.c@gmail.com
Pud_tan@hotmail.com
Subjects: Psychotropic drugs
Pharmacy management
ยารักษาทางระบบประสาทและจิต
การบริหารเภสัชกิจ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Long acting injection anti-psychotics (LAIs) are suggested in management of schizophrenia with oral medication non-adherence. Four of first generation LAIs; Haloperidol dec, Flupentixol dec, Flupenazine dec . and Zuclopentixol dec., are listed in national list of essential medicine except two of newer second generation LAIs.; Paliperidone LAI, and Risperidone LAI. Economic evaluation evidence of these medications may not only guide healthcare profession to choose LAIs for their patients appropriately but also support healthcare policy makers to consider any newer interventions for future health benefit scheme. This research aims to assess cost effectiveness of six LAIs registered in Thailand for schizophrenia with oral medication non-adherence. Method: A cohort Markov modelling for cost utility analysis of six LAIs is conducted under societal perspective. Model structure is modified from NICE economic model for schizophrenia. Three mutually exclusive outcomes include number of subjects with relapse, discontinuation with intolerable side effect, and due to other reasons are considered. The transitional probability of these outcomes are retrieved from systematic review and mixed treatment comparison meta-analysis with completing risk models. Bayesian framework is applied for meta-analysis work. Other published cost data accessed where available are adjusted to present values of the current analysis year 2014. Deterministic analysis and probabilistic sensitivity analysis are applied for two time horizons; 10 year and lifetime, and presented in the cost effective analysis plane and the cost effectiveness acceptability curve respectively. This economic evaluation will follow HITAP guideline. Markov economic modelling is conducted in TreeAgePro 2014 software. Result of the deterministic analysis, Haloperidol dec. is the most cost effective among 6 LAIs for first line treatment of schizophrenia with oral non-adherence. Flupenazine dec., Flupentixol dec. Paliperidone LAI and Risperidone LAI. might be next alternatives if Haloperidol dec is not available, with ICER of 808,580, 3,995,921, 5,052,900, and 32,712,811 baht per QALY gained. However these ICERs exceed the willingness to pay threshold. However, Zuclopentixol dec is not cost effective option because ICER is -627,116 baht/QALY. Probabilistic analysis also suggests Haloperidol dec has highest probability of being cost effective, with wide range of willingness to pay threshold, among the other LAIs for the first line treatment of schizophrenia with oral non-adherence. Higher probability of being more cost effective of Paliperidone LAI and Risperidone LAI than Haloperidol dec may be seen when WTP threshold increases up to 3,000,000 baht/QALY. Analysis results of both time horizons remain the same. In conclusion, Haloperidol dec is the most cost effective LAIs for the first line treatment in schizophrenia with oral non adherence under deterministic and probabilistic analysis. Future researches to address uncertainty of economic models may include long term neurological and metabolic side effects, utility of repeated relapses and variation of patient intrinsic factors.
Other Abstract: ยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นเป็นยาที่มีการแนะนำให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยา ปัจจุบันยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นรุ่นที่ 1 จำนาวน 4 รายการถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติได้แก่ Haloperidol dec, Flupentixol dec, Flupenazine dec . และ Zuclopentixol dec ยกเว้นยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นรุ่นที่ 2 จำนวน 2 รายการยังไม่ได้ถูกบรรจุไว้ได้แก่ Paliperidone LAI และ Risperidone LAI. การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยาทั้งหมดในกลุ่มนี้ อาจจะมีส่วนสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ในการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมในเวชปฎิบัติและอาจมีส่วนสนับสนุนการพิจารณาการบรรจุยากลุ่มใหม่ในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของผู้ป่วยต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นจำนวน 6 รายการที่มีอยูในประเทศไทยสำหรับการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยา การประเมินความคุ้มค่าประสิทธิผลของยารักษาโรคจิตชนิดฉีดออกฤทธ์เนิ่นจะใช้วิธีการวิเคราะห์แบบต้นทุนอรรถประโยชน์(cost utility analysis)และอาศัยแบบจำลอง Markov ภายใต้มุมมองทางสังคม แบบจำลองมีการดัดแปลงมาจากงานของ NICE ผลลัพธ์เป้าหมาย 3 รายการในการวิเคราะห์ถูกกำหนดให้มีลักษณะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง (mutually exclusive outcomes) ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่เกิดการกลับเป็นซ้ำ (relapse) จำนวนผู้ป่วยที่หยุดใช้ยาเนื่องจากอาการข้างเคียง และจำนวนผู้ป่วยที่หยุดใช้ยาเนื่องจากเหตุผลอื่นๆ ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนสถานะของผลลัพธ์เป้าหมาย 3 รายการคำนวณมาจากงานทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และงานศึกษาวิเคราะห์อภิมาณแบบ mixed treatment comparison meta-analysis with completing risk models โดยวีธีการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์แบบ Bayesian นอกจากนี้ข้อมูลด้านต้นทุนราคาในแบบจำลองจะถูกนำมาจากงานตีพิมพ์ที่สืบค้นได้และคำนวณให้เป็นมูลค่าในปีที่ทำการวิเคราะห์คือปี 2557 การวิเคราะห์จะคำนวณหาผลลัพธ์แบบค่าเฉลี่ย(deterministic analysis) และแบบความน่าจะเป็น (probabilistic analysis) โดยจะครอบคลุมระยะเวลา 2 แบบคือแบบ 10 ปีและแบบตลอดชีวิต ผลลัพธ์ที่ได้นำเสนอในรูปแสดงระนาบต้นทุนประสิทธิผล (cost effective analysis plane ) และระดับความคุ้มค่าที่ยอมรับได้ (cost effectiveness acceptability curve ) การประเมินจะกระทำตามคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย (HITAP guideline ) และการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ใช้โปรแกรม TreeAgePro 2014 ผลการวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย(deterministic analysis) ในยา 6 รายการพบว่า Haloperidol dec มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการเป็นยาลำดับแรกในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยา สำหรับยา Flupenazine dec., Flupentixol dec. Paliperidone LAI และ Risperidone LAI มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ทดแทน haloperidol dec. ในกรณีที่ไม่สามารถหาได้ ซึ่งมีค่า ICER ดังนี้ 808,580, 3,995,921, 5,052,900, และ32,712,811 บาท/QALY แต่ทั้งนี้ค่า ICERs ของยาทั้ง 4 ตัวสูงเกินกว่าระดับความเต็มใจที่จะจ่าย สำหรับ Zulcopentixol dec ไม่พบความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เนื่องจากพบค่า ICER เท่ากับ -627,116 บาท/QALY ส่วนการวิเคราะห์แบบความน่าจะเป็น ( Probabilistic analysis) พบว่า Haloperidol dec มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการเป็นยาลำดับแรกในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยาเช่นกัน นอกจากนี้พบว่าโอกาสที่ยา Paliperidone LAI และ Risperidone LAI อาจจะมีความคุ้มค่ามากกว่ายา Haloperidol dec นั้น ก็ต่อเมื่อ ระดับความเต็มใจที่จะจ่ายมีค่าสูงที่ระดับ 3,000,000 บาท/QALY ผลการวิเคราะห์ที่ได้ไม่แตกต่างกันในการวิเคราะห์แบบระยะเวลา 10 ปีและแบบตลอดชีวิต โดยสรุป Haloperidol dec มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการเป็นยาลำดับแรกในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยาทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย(deterministic analysis) และแบบความน่าจะเป็น (probabilistic analysis) ทั้งนี้เพื่อลดความไม่แน่นอนในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ การวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาครอบคลุมอาการข้างเคียงของยากลุ่มนี้ด้านระบบประสาทและเมตาบอลิซึม รวมทั้งการพิจารณาค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำหลายครั้ง และอาจรวมถึงลักษณะของผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกัน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Social and Administrative Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43610
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1064
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1064
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5177108433.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.