Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43723
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะพร่องทางการรู้คิดของผู้เสพติดแอลกอฮอล์
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO COGNITIVE IMPAIRMENT IN PERSONS WITH ALCOHOL DEPENDENCE
Authors: วีรวรรณ รัตนจันทา
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Penpaktr_Uthis@hotmail.com
Subjects: ผู้ติดสุรา
การรู้คิด
Alcoholics
Cognition
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราความชุกของภาวะพร่องการรู้คิดในผู้เสพติดแอลกอฮอล์ที่เข้ารับการบำบัด 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อายุที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนปีที่ดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาการหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ของคนในครอบครัว ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ความวิตกกังวลประจำบุคคล ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะพร่องการรู้คิดในผู้เสพติดแอลกอฮอล์ซึ่งเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลที่บำบัดรักษายาเสพติด สังกัดกรมการแพทย์ จำนวน 198 คนตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ชุด คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ 2) แบบประเมินอาการขาดสุรา 3) แบบวัดความวิตกกังวล 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ6) แบบประเมินพุทธิปัญญา เครื่องมือทุกชุดผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือทุกฉบับ สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ไคสแควร์ และค่าสหสัมพันธ์ไบซีเรียล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อัตราความชุกของภาวะพร่องทางการรู้คิดของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ที่เข้ารับการบำบัด คิดเป็นร้อยละ 62.1 (123 คนจาก 198 คน) 2. อายุ และจำนวนปีที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะพร่องทางการรู้คิดของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ (r = -.236 และ r = -.228 ตามลำดับ, p < 0.01) ระดับการศึกษา และระยะเวลาการหยุดดื่มมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะพร่องทางการรู้คิดของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ (r = .465 และ r = .304 ตามลำดับ, p < 0.01) ส่วนปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ และ ความวิตกกังวลประจำตัว มีความสัมพันธ์ทางทางบวกกับภาวะพร่องทางการรู้คิดของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์ (r = .180 และ r = .176 ตามลำดับ, p < 0.05) 3. เพศ มีประวัติคนในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ อายุที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องการรู้คิดของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์
Other Abstract: The purposes of this descriptive correlational research were: 1) to examine the prevalence of cognitive impairment of patients with alcohol dependence receiving inpatient treatment drug addiction treatment center, department of medical services and 2) to study the relationship between selected factor including age, sex, education, age begin, …family history of alcohol.. A total sample of 198 patients with alcohol dependence receiving inpatient treatment drug addiction treatment center, department of medical services, who met the inclusion criteria, Research instrument consist of six questionnaires namely: 1) demographic and….data sheet 2) Clinical Institute Withdrawal Assessment - Alcohol (CIWA - Ar) 3) 4)5)6) All instrument were validated for content validity by 5 expert and test for reliability. Statistic techniques utilized in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. chi-squared coefficient and Biserial Correlation. Findings were summarized as follow: 1. Prevalence rate of cognitive impairment among patients with alcohol dependence was 62.1 % (123 subjects out of 198 subjects) 2. Gender, were not significantly related to cognitive impairment of alcohol dependence.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43723
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1184
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5377822036.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.