Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43745
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมจารี ปรียานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | วีวิกา เชาวณาพรรณ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:44:23Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:44:23Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43745 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการโดยอัตโนมัติ จากแผนภาพยูเอ็มแอล โดยแผนภาพที่นำมาใช้ ได้แก่ แผนภาพยูสเคส แผนภาพซีเควนซ์และเอกสารคำอธิบายยูสเคส ผู้วิจัยได้นำเสนอขั้นตอนในการสร้างกรณีทดสอบ ประกอบด้วย การแปลงเอกสารคำอธิบายยูสเคสและแผนภาพซีเควนซ์เป็นโอซีแอล การแปลงแผนภาพซีเควนซ์เป็นกราฟกระแสไออาร์ซีเอฟจี การสร้างกรณีทดสอบระดับหน่วย การหาความสัมพันธ์ของยูสเคสจากการใช้ตัวแปรร่วมกัน และการสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการ จากนั้นผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือตามขั้นตอนที่นำเสนอด้วยภาษาซีชาร์ป ข้อมูลนำเข้าของเครื่องมือ คือ แผนภาพยูเอ็มแอลในรูปแบบเอกสารเอ็กซ์เอ็มแอลที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมวิชัวล์พาราไดม์สำหรับยูเอ็มแอล ผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือ คือ คู่ของยูสเคสที่มีความสัมพันธ์จากการใช้ตัวแปรร่วมกัน ชุดของกรณีทดสอบระดับหน่วย และกรณีทดสอบระดับบูรณาการ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองเพื่อประเมินว่าผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือมีความถูกต้อง และสามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 1 คน และนักทดสอบจำนวน 5 คน จับคู่ยูสเคสและสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการของกรณีศึกษาจำนวน 2 กรณี ได้แก่ ระบบขายสินค้าและระบบเอทีเอ็ม จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาเปรียบเทียบกับเครื่องมือเพื่อประเมินความครอบคลุม ผลการประเมินพบว่าเครื่องมือสามารถจับคู่ยูสเคสที่มีการใช้ตัวแปรร่วมกันได้ครอบคลุมเฉลี่ยร้อยละ 100 ของคู่ยูสเคสที่ผู้เชี่ยวชาญสร้าง และเครื่องมือสามารถสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการได้ครอบคลุมเฉลี่ยร้อยละ 90 ของจำนวนกรณีทดสอบระดับบูรณาการที่ผู้เชี่ยวชาญสร้าง เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้โดยเครื่องมือและนักทดสอบ ผลการประเมินพบว่าเครื่องมือใช้เวลาในการจับคู่ยูสเคสและสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการน้อยกว่านักทดสอบ 20 นาที เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถช่วยจับคู่ยูสเคสและสร้างกรณีทดสอบระดับบูรณาการซึ่งนักทดสอบสามารถนำไปใช้ในการทดสอบได้ หากนำเครื่องมือไปใช้กับระบบอื่นๆ ที่มีจำนวนยูสเคสมากขึ้น เครื่องมือจะช่วยลดเวลาได้มากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research develops the automatic integration test case generator from UML diagram which consist of use case diagram, sequence diagram, and use case description. The researcher presented the procedure for integration test case generation as follows: (1) defining OCL from use case description and sequence diagram (2) transforming sequence diagrams into IRCFG (3) generating unit test cases (4) analyzing use case dependency (5) generating integration test cases. The researcher then developed the tool from the aforementioned procedure using C# language. The input data for this tool was the UML diagram in XML format, which was created by Visual Paradigm for UML. The produced results are coupled use cases, sets of unit test cases and integration test cases. The researcher tested the tool to evaluate if it is accurate enough for practical use by letting an expert and five testers couple use cases and integration test cases from two case studies, which are sales system and ATM system. The researcher then compared the result between the expert and the tool to evaluate the coverage. The result showed that coupled use cases generated by the tool covered 100 percent of those coupled by the expert and the integration test cases generated by the tool covered 90 percent of those created by the expert. When comparing the time spent by the tool versus the tester in coupling use cases and creating integration test cases, the result showed that the average time spent by the tool was 20 minutes less than the tester. Therefore, the developed tool would help coupling the appropriate use cases for integration testing, creating integration test cases and reducing the time spent for the aforementioned process. The testers could use the generated test cases for their testing.When used in other systems with more use cases, it would help reducing more time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1203 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา | |
dc.subject | ยูเอ็มแอล (วิทยาการคอมพิวเตอร์) | |
dc.subject | Computer software -- Development | |
dc.subject | UML (Computer science) | |
dc.title | การสร้างกรณีทดสอบโดยอัตโนมัติจากแผนภาพยูเอ็มแอล สำหรับการทดสอบระดับบูรณาการ | en_US |
dc.title.alternative | AUTOMATIC TEST CASE GENERATION FROM UML DIAGRAMS FOR INTEGRATION TESTING | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | somjaree@cbs.chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1203 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5381892426.pdf | 9.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.