Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43862
Title: | ปัจจัยทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ |
Other Titles: | PREDICTING FACTORS OF PHYSICAL ACTIVITY IN PATIENTS AFTER POST CORONARY ARTERY BYPASS GRAFT SURGERY |
Authors: | วิภาวรรณ ทองเทียม |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | jchanokp@hotmail.com ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ Coronary heart disease -- Patients Health promotion |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ภาวะโรคร่วม ระยะเวลาหลังผ่าตัด ความถี่ของอาการ ความทุกข์ทรมานจากอาการ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความกลัวการหกล้มกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเป็นครั้งแรก ซึ่งมาตรวจรับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 159 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความถี่ของอาการ แบบสอบถามความทุกข์ทรมานจากอาการ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามความกลัวการหกล้ม และแบบสอบถามการทำกิจกรรมทางกาย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89, .89, .98, .95, .95,.94, .97 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1.การทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 42.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 16.11 2.ความกลัวการหกล้ม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ระยะเวลาหลังผ่าตัด และการรับรู้ประโยชน์ สามารถร่วมกันทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 34.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z กิจกรรมทางกาย = -.443Z ความกลัวการหกล้ม + .323Zการรับรู้สมรรถนะแห่งตน +.179Zระยะเวลาหลังผ่าตัด + .155Z การรับรู้ประโยชน์ |
Other Abstract: | The purposes of this research was to predictive power of factors, including body mass index, co-morbidity, post-operative period, symptoms frequency and symptoms distress, perceived benefits, perceived barriers, social support, perceived self-efficacy, fear of fall and physical activity after coronary artery bypass surgery patients. One hundred and fifty-nine coronary artery bypass graft patients from out-patient departments of Cardiothoracic Surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital and Police Hospital were recruited using a simple random sampling. The instruments used for data collection were the demographic data questionnaire, symptom frequency and symptom distress questionnaire, perceived benefits questionnaire, perceived barrier questionnaire, social support questionnaire, perceived self-efficacy questionnaire, fear of fall questionnaire, and physical activity questionnaire. These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for each questionnaire tested by Cronbach’s alpha were .89, .89, .98, .95, .95, .94, .97 and .83 respectively. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and Pearson product-movement correlation. 1. Mean Score of physical activity of coronary artery bypass graft surgery patients was high level. (Mean =42.01, S.D. = 16.11) 2. Fear of fall, perceived self-efficacy, post-operative period and perceived benefits were the variables that significantly predicted physical activity after coronary artery bypass surgery patients at the level .05. The predictive power was 34.20 % of the variance. The equation derived from the standardized score was: Z Physical activity = - .443Z fear of fall +.323Z perceived self-efficacy + .179Z post –operative period+.155Zperceived benefits. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43862 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1319 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1319 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477229036.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.