Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/438
Title: ผลของการใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และความสามารถในการนำเสนอข้อมูลทางคณิตศาสตร์ด้วยแผนภาพของนักเรียนเตรียมทหาร
Other Titles: Effects of using graphic organizer technique in mathematics instruction on learning achievement, retention of learning and ability in presentation of mathematics knowledge in graphic organizer form of pre-cadets
Authors: โชติ จันทร์วัง, 2521-
Advisors: พร้อมพรรณ อุดมสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prompan.U@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน
การจัดข้อมูลด้วยแผนภาพ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหารที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหาร ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพและกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนเตรียมทหาร ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพและกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ 4) ศึกษาความสามารถในการนำเสนอข้อมูลทางคณิตศาสตร์ด้วยแผนภาพของนักเรียนเตรียมทหารที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมทหาร จำนวน 56 นาย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 28 นาย ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพ และกลุ่มควบคุม 28 นาย ได้รับการเรียนการสอนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมทหาร จำนวน 56 นาย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 28 นาย ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพ และกลุ่มควบคุม 28 นาย ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการนำเสนอข้อมูลทางคณิตศาสตร์ด้วยแผนภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที(t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนเตรียมทหารกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนเตรียมทหารกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยภาพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนเตรียมทหารกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพมีความคงทนในการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนเตรียมทหารกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดข้อมูลด้วยแผนภาพมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลทางคณิตศาสตร์ด้วยแผนภาพผ่านเกณฑ์กำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
Other Abstract: The purposes of this study were 1) to study mathematics learning achievement of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique. 2) to compare mathematics learning achievement of pre-cadets between groups being taught by using graphic organizer technique and by traditional method. 3) to compare retention of mathematics learning of pre-cadets between groups being taught by using graphic organizer technique and by traditional method. 4) to study ability in presentation of mathematics knowledge in graphic organizer form of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique. The subjects were 56 of first year pre-cadets in Armed Forces Academies Preparatory School. The were divided into two groups : one with 28 students in experimental group being taught by using graphic organizer technique and the other with 28 students in control group being taught by traditional method. The research instruments were mathematics learning achievement test and test of ability in presentation of mathematics knowledge in graphic organizer form. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The research finding were summarized as follows: 1. The mathematics learning achievement of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique was higher than minimum criteria of 70 percent. 2. The mathematics learning achievement of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique was higher than that being taught by traditional method at 0.05 level of significance. 3. The retention of mathematics learning of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique was higher than that being taught by traditional method at 0.05 level of significance. 4. The ability in presentation of mathematics knowledge in graphic organizer form of pre-cadets being taught by using graphic organizer technique was higher than minimum criteria of 50 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/438
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.935
ISBN: 9745315605
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.935
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chote.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.